คลังเก็บป้ายกำกับ: LTF-RMF

ผลตอบแทนย้อนหลัง กองทุน : ความเสียเวลาและมายาคติ

ผลตอบแทนย้อนหลัง (past performance) บอกอนาคตของผลตอบแทนกองทุนรวมได้จริงหรือ?

ถ้าถามผมว่า ความเชื่อที่แอบสร้างปัญหาให้กับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมอย่างไม่รู้ตัวคือความเชื่อเรื่องอะไร ผมบอกได้เลยว่า การที่นักลงทุนในกองทุนรวม (รวมไปถึงคนที่สนใจจะลงทุนในกองทุนรวม) เชื่อว่าผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนรวมเป็นสิ่งที่สามารถทำนายผลตอบแทนอนาคตได้ อันนี้ล่ะเป็นความเชื่อแบบมายาคติ (myth) ของนักลงทุนส่วนใหญ่เลยทีเดียว

1. ภาพรวมเกี่ยวกับ ผลตอบแทนย้อนหลัง ของกองทุนรวม

เวลาคนส่วนใหญ่จะลงทุนในกองทุนรวม เช่น กองทุนรวมหุ้น สิ่งที่พวกเขาตั้งสมมติฐานก็คือ กองทุนรวมที่ทำผลตอบแทนได้ดีในตอนนี้หรือในอดีต ควรจะทำผลตอบแทนได้ดีในอนาคต เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่า คนส่วนใหญ่จะค้นหาใน Google ว่า กองทุนไหนทำผลตอบแทนดี หรือสิบอันดับผลตอบแทนกองทุนรวมย้อนหลัง หรือบางคนก็ไปตั้งคำถามกระทู้ว่ากองทุนไหนผลตอบแทนดีบ้าง เรียกได้ว่า พลังงานที่คนส่วนใหญ่เสียไปในการลงทุน คือ การค้นหาผู้ชนะจากผลตอบแทนในอดีตของกองทุนรวมนี่ล่ะ

ด้วยเหตุนี้ หน้าเว็บไซต์ที่คนส่วนใหญ่จะไปดู คือ หน้าที่บอกว่า กองทุนนี้ทำผลตอบแทนในอดีตได้เท่าไหร่ กี่เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบนั่นนี่ หรือเว็บไซต์ที่มีบริการเปรียบเทียบผลตอบแทนของกองทุนรวม หรือการดูสัญลักษณ์รางวัลต่าง ๆ หรือพวกเขาไม่จำเป็นต้องค้นดูก็ได้ วารสาร นิตยสาร ข่าว หรือสื่อการเงินต่าง ๆ จะรายงานเองว่า กองทุนรวมใดได้ผลตอบแทนสูงสุดของในรอบ 10 ปี 5 ปี 3 ปี 1 ปี หรือหน่วยเดือน สูงสุดของครึ่งปี หรือ 3 เดือน หรือ 1 เดือน หรือแม้กระทั่ง 1 สัปดาห์!!! ก็ในเมื่อนักลงทุนสนใจ วงการการเงินก็ตอบสนองเสนอข่าวสารเหล่านี้ให้จุใจเลยสิ

ส่วนตัวเห็นว่า ข้อมูลผลตอบแทนย้อนหลังแบบระดับเดือน เช่น 1 เดือน และที่ขัดใจสุด คือ ข่าวเกี่ยวกับผลตอบแทนย้อนหลังสูงสุด 1 สัปดาห์! ข่าวพวกนี้ผมคิดว่าไม่เกิดประโยชน์อันใดและสิ่งที่นักลงทุนควรทำคือเลื่อนผ่านให้ไวซะมากกว่า

มิใช่แค่วงการโฆษณาหรือสื่อการเงิน แม้กระทั่งวงการกองทุนรวมเองก็เสนอข่าวในลักษณะนี้เช่นกัน พวกเขามักจะบอกว่า กองทุนของพวกเขาได้ผลตอบแทนสูงสุด หรือทำผลตอบแทนได้ดีนะ อันนี้เราก็ว่ากันไม่ได้ ทุกบริษัทจัดการกองทุนรวม (บลจ.) ล้วนมีฝ่ายขายกับฝ่ายการตลาด และทั้งสองฝ่ายก็ต้องทำหน้าที่ในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท เพราะฉะนั้น เวลานักลงทุนจะซื้อกองทุน สิ่งที่นักลงทุนจะได้เห็นมากที่สุดนอกจากคำบรรยายความดีงามของกองทุน ก็คือ การเสนอตัวเลขผลตอบแทนในอดีตที่แสนจะประทับใจ

คำถามคือ สิ่งที่ทุกภาคส่วนที่ผมเกริ่นไปข้างต้นกำลังทำนั้น มีประโยชน์กับนักลงทุนจริงหรือไม่?

เขียนเปิดประเด็นไว้ตรงนี้ก่อนเลยว่า “ผลตอบแทนย้อนหลัง” (past performance) ของกองทุนรวมไม่สามารถบ่งบอกหรือไม่ใช่วิธีที่ดีเลยในการทำนายอนาคตของผลตอบแทนที่กองทุนรวมจะทำได้[1. Burton G. Malkiel and Charles D. Ellis, The Elements of Investing: Easy Lessons for Every Investor, updated ed. (Hoboken: Wiley, 2013), 88.] และกองทุนรวมที่ทำผลตอบแทนได้ดีในปัจจุบันหรือในอดีตก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำผลตอบแทนในอนาคตได้ดีแต่อย่างใด ที่หนึ่งในวันนี้ก็เป็นที่โหล่ในอนาคตได้ และโดยปกติกองทุนรวมที่มีผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการในลักษณะเลือกซื้อหุ้นรายตัว (Actively Managed Funds) ส่วนใหญ่มักจะทำผลงานได้แพ้ตลาดหุ้นและสร้างผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน

2. ใครเคยพูดอะไรเอาไว้บ้างเกี่ยวกับ ผลตอบแทนย้อนหลัง

เรามาดูกันครับว่า มีนักลงทุนและนักการเงินคนสำคัญ ๆ เคยพูดเกี่ยวกับ past performance ของกองทุนรวม ไว้อย่างไรกันบ้าง

(I) Burton G. Malkiel ได้ให้ความเห็นว่า บันทึกผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุนรวมและบรรดาผู้จัดการกองทุนทั้งหลายนั้นไม่มีค่าอะไรเลยในการทำนายความสำเร็จในอนาคตของกองทุนรวม (worthless) ตัวอย่างน้อยนิดที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ชนะในระยะยาว (หมายถึงมีกองทุนไม่กี่กองที่ชนะตลาดได้) อาจเรียกได้ว่ามันเป็นแค่ความ “บังเอิญ” เท่านั้น[1. Burton G. Malkiel, A Random Walk down Wall Street: The Time-tested Strategy for Successful Investing, 11th ed. (New York: W. W. Norton & Company, 2016), 398.]

(II) Peter Lynch ผู้จัดการกองทุนคนดังได้อธิบายอย่างเห็นภาพว่า นักลงทุนมักจะชอบดูผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนรวม โดยเฉพาะการดูผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนรวมที่สูงสุดของปีที่แล้วหรือหนึ่งปีย้อนหลัง แล้วก็ทำการซื้อกองทุนรวมดังกล่าว การกระทำเช่นนี้ไม่ฉลาดเลย (foolish) เพราะโดยปกติการได้ที่หนึ่งมักจะมาจากการลงทุนในหุ้นหรืออุตสาหกรรมร้อนแรง และบางทีอาจจะเป็นแค่ความโชคดีซะมากกว่า[1. Peter Lynch and John Rothchild, Beating the Street, revised ed. (New York: Simon & Schuster, 1994), 68.]

(III) Richard A. Ferri เตือนว่า ผลตอบแทนย้อนหลังไม่สามารถนำมาใช้ในการเลือกกองทุนรวมที่จะเป็นผู้ชนะในอนาคต มันเป็นวิธีที่ไม่อาจเชื่อถือได้ แต่อย่างไรก็ดี วงการกองทุนรวมกับนักลงทุนก็ยังคงเพิกเฉยละเลยข้อเท็จจริงที่ว่านี้[1. Richard A. Ferri, All About Index Funds: The Easy Way to Get Started, 2nd ed. (New York: McGraw-Hill, 2007), 27.] และยังพยายามจะเลือกกองทุนโดยดูจากผลตอบแทนย้อนหลังอยู่ดี ทั้ง ๆ ที่ข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งเหลวไหล (pure nonsense)[1. ibid., 26.]

(IV) John C. Bogle ให้ข้อสังเกตว่า การดูผลตอบแทนที่ผ่านมาของกองทุนรวมแล้วเอามาใช้เลือกกองทุนเป็นวิธีที่ไม่อาจมั่นใจได้เลยว่า คุณจะได้เจอกองทุนรวมที่ทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดในอนาคต สำหรับผลตอบแทน(ย้อนหลัง)แล้ว อดีตไม่อาจบอกอนาคตได้เลย[1. John C. Bogle, The Little Book of Common Sense Investing: The Only Way to Guarantee Your Fair Share of Stock Market Returns (Hoboken: Wiley, 2007) 87.]

ดูเหมือนทุกคนที่ยกมาจะเห็นตรงกันนะครับว่า ผลตอบแทนในอดีตนั้นไม่อาจบอกได้ถึงผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวม และวิธีเลือกกองทุนโดยดูผลตอบแทนที่ผ่านมานั้นค่อนข้างจะเป็นวิธีที่เชื่อถือไม่ได้และเสียเวลา

The past performance is not a good predictor of future returns.

3. เจาะลึกประเด็นเกี่ยวกับ ผลตอบแทนย้อนหลัง

ในหัวข้อนี้เราจะลงไปศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นเรื่องผลตอบแทนในอดีตกัน เพราะน่าจะมีหลายคนสงสัยว่า ถ้าวิธีนี้ไม่ดี มันไม่ดีเพราะอะไร ไม่ดียังไง แล้วเราจะใช้วิธีไหนในการเลือกกองทุนรวมกันล่ะ?

I. โฆษณาผลตอบแทนกองทุนรวม

ประเด็นแรกที่เราจะเริ่มกันก็คือ ในหมู่นักวางแผนการเงินหรือผู้แนะนำการลงทุนมักจะเลือกกองทุนรวมที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมที่ผ่านมาให้ท่าน หรือสื่อทางการเงินต่าง ๆ อันรวมไปถึงบลจ.เองก็ตาม มักจะอ้างกองทุนอันดับหนึ่งหรืออันดับต้นขึ้นมาแสดงให้ท่านดู หากแต่ข้อมูลเหล่านี้นั้น อาจเป็นการโฆษณาระยะสั้นที่มักจะเลือกบางช่วงเวลาสำหรับการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานย้อนหลัง หรือเลือกชนิดและจำนวนกองโดยเฉพาะและใช้กองทุนจำนวนน้อย หรือตัดอะไรบางอย่างทิ้งไป[1. Malkiel, A Random Walk down Wall Street, 398-399; see also Ferri, All About Index Funds, 26.] ด้วยเหตุนี้ ถ้าเกิดผลตอบแทนช่วงนี้ของกองทุนดี หรือพอดูผลตอบแทนของกองทุนของบลจ.นั้นเป็นช่วงที่ผลตอบแทนสูงจนชนะกองทุนของเจ้าอื่น ๆ เหล่าบลจ.และกองทุนทั้งหลายย่อมไม่พลาดโอกาสในการโฆษณาอยู่แล้ว

ในทางตรงกันข้าม นักลงทุนที่พยายามเลือกกองทุนโดยดูผลตอบแทนที่ผ่านมาอันเป็นวิธีที่ไม่ทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนและเปล่าประโยชน์ จะยิ่งทำลายความมั่งคั่งของตนเองทิ้งเข้าไปอีก ถ้าเกิดพยายามสลับสับเปลี่ยนโยกย้ายกองทุนเป็นว่าเล่น[1. Lynch and Rothchild, Beating the street, 81; see also Malkiel and Ellis, The Elements of Investing, 90.] เช่น ขายกองทุนเดิมทิ้งไปลงทุนกองทุนใหม่ที่ได้ที่หนึ่งโดยดูจากผลตอบแทนย้อนหลังที่ถูกประกาศหรือโฆษณา

Peter Lynch เห็นว่า การพยายามนั่งไล่ดูผลตอบแทนย้อนหลัง และการที่บุคลากรในวงการเงินและสื่อต่าง ๆ นั่งรวบรวมผู้ชนะในอดีต แม้มันจะดูเป็นงานอดิเรกของวงการกองทุนรวมและนักลงทุน มีหนังสือ มีบทความมากมายเขียนขึ้นเพื่อสิ่งนี้ แต่นั่นล่ะมันเป็นเป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์หรือเสียเวลา[1. Lynch and Rothchild, Beating the street, 68.] ซึ่ง Ferri ก็ได้เตือนด้วยว่า ไม่ว่าบลจ.หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินจะสาธยายเรื่องผลตอบแทนในอดีตหรือจะทำนายว่ากองทุนไหนจะเป็นผู้ชนะในอนาคต ข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างจะไม่สำคัญและไร้ประโยชน์ครับ (irrelevant and useless)[1. Ferri, All About Index Funds, 26-27.]

IIกองทุนมีสัญลักษณ์และรางวัล

บางกองทุนรวมได้รับการจัดอันดับหรือในบางครั้งมีการติดดาว อันบลจ.หรือฝ่ายขายก็จะทำการแปะติดดาวป่าวประกาศ ยิ่งมี 5 ดาว สื่อและโฆษณาจะถูกประทับตราแปะบนโบว์ชัวร์หรือเอกสารประกอบการขาย ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะเชื่อว่าการได้ดาวระดับดีเลิศครบ 5 ดาวย่อมเป็นการรับประกันว่ากองทุนนี้จะได้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคตไปด้วย

เปล่าเลยครับ…

แม้กระทั่งระบบดาวของ Morningstar ก็ไม่อาจทำนายผลตอบแทนในอนาคตของกองทุนรวมได้[1. Malkiel and Ellis, The Elements of Investing, 39.] กองทุนที่เคยได้ดาวน้อยในอดีตก็อาจจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าในอนาคต และกองทุนที่ได้ดาวมากในปัจจุบันก็อาจทำผลตอบแทนได้แย่ในเวลาต่อมา ต้องอย่าลืมการจัดอันดับหรือการติดดาว ข้อมูลที่ใช้ต้องมีองค์ประกอบหนึ่งเป็นเรื่องของผลตอบแทนในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งไป ๆ มาๆ กลับเพิ่มความเสี่ยงบางอย่างขึ้นมาแทน[1. Charles D. Ellis, Winning the Loser’s Game: Timeless Strategies for Successful Investing, 6th ed. (New York: McGraw-Hill Education, 2013) 126.]

โดย Malkiel อธิบายว่า ระบบดาวไม่อาจรับประกันผลตอบแทนที่เหนือกว่าในอนาคต ไม่รับประกันว่าผลตอบแทนนั้นจะต่อเนื่อง และในอดีตกองทุน 5 ดาวก็อาจจะทำได้ไม่ดีเท่ากองทุน 2-3 ดาวในเวลาต่อมา ด้วยเหตุนี้ Malkiel จึงเสนอว่า นักลงทุนที่ชาญฉลาดควรจะมองทะลุผ่านดาวเหล่านี้ไปซะ[1. Malkiel, A Random Walk down Wall Street, 401.] คล้ายกับความคิดของ John Bogle ที่ว่า ระบบดาวอิงอยู่กับผลตอบแทนที่เกิดขึ้นในอดีตหรือช่วงเวลาที่ผ่านมา ดังนั้น มันจึงมีแนวโน้มที่จะสนับสนุน (favor) กองทุนที่ร้อนแรง ความนิยมชั่วขณะหนึ่ง(ของตลาด) หรือแฟชั่นกองทุนที่เปลี่ยนแปลงได้ และกองทุน 5 ดาวหลายครั้งก็ลดลงไปสู่ 1-2 ดาวได้ในระยะเวลาไม่นาน[1. John C. Bogle, Bogle On Mutual Funds: New Perspectives For The Intelligent Investor (Hoboken: Wiley, 2014), 158.]

อนึ่ง แม้จะมีบทความที่เสนอว่าดาวอาจใช้ในการชี้วัดผลการดำเนินงานในอนาคตได้ หากแต่ข้อสรุปนี้ยังถูกอภิปรายถกเถียงโต้แย้งอยู่ว่ามันมีข้อสังเกตบางอย่างที่ต้องพิจารณา และ งานวิจัยจำนวนหนึ่งที่ทำการศึกษาเรื่องระบบการให้ดาว ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องที่ยากมากที่ผู้จัดการกองทุนจะทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดตลอดเวลา และมันไม่เกี่ยวข้องเลยกับผลตอบแทนในอดีตที่พวกเขาทำได้ด้วย

ถ้าหากนักลงทุนต้องการตัวแปรที่จะช่วยในการทำนายผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แม้ระบบดาวจะไม่สามารถช่วยได้หากแต่ “อัตราส่วนค่าใช้จ่าย” ของกองทุนรวมกลับเป็นสิ่งที่ใช้ทำนายได้[1. Malkiel and Ellis, The Elements of Investing, 142.] ยิ่งค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับต่ำยิ่งทำนายได้ว่ากองทุนรวมนั้นจะสามารถทำผลตอบแทนได้สูงในอนาคต

พูดถึงประเด็นนี้ ผมนึกถึงสมัยผมเข้ามาเริ่มลงทุนและทำการศึกษาเรื่องกองทุนรวมประมาณปี 2012 ผมค่อนข้างจะตื่นตาตื่นใจกับการที่กองทุนรวมได้ 5 ดาวมาก ๆ แต่สักพักผมก็มีเรื่องให้ฉุกคิดบางอย่างกับระบบดาว ถ้าท่านจำได้ช่วงที่ราคาทองคำร้อนแรงให้ผลตอบแทนดี ผมที่นั่งเรียงลำดับดาวดูก็จะพบว่า กองทุนที่ได้ 5 ดาวจำนวนมาก คือ กองทุนรวมทองคำ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น กองทุนหุ้นต่าง ๆ กลับได้จำนวนดาวต่ำลงไป เพราะช่วงปลายปี 2011 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ช่วงนั้นตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนต่ำ กองทุนหุ้นจึงทำผลตอบแทนได้ไม่ดี

ข้อฉุกคิดข้างบนจึงเป็นครั้งแรกที่ผมสงสัยว่า การอ้างอิงดาวในการลงทุนน่าจะมีปัญหาบางประการ และเมื่อผ่านมาหลายปี ผมก็ไม่ได้สนใจระบบดาวอีกเลย เพราะกองทุนที่รู้จักก็สับเปลี่ยนหมุนเวียนวนดาวไปมา 2 ดาวบ้าง 5 ดาวบ้าง และในประเด็นนี้ John Bogle ก็ได้ยกตัวอย่างสอดคล้องว่าในอเมริกาก็เคยเกิดปัญหา เพราะบางช่วงเวลา กลุ่มอุตสาหกรรมหรือหุ้นบางประเทศทำผลตอบแทนได้สูง กองทุนที่ร้อนแรงในประเภทสินทรัพย์ดังกล่าวก็จะได้ดาวเยอะขึ้นมา เช่น กองทุนหุ้นต่างประเทศในช่วงปลายของ 1980s หรือกองทุนหุ้นสุขภาพ (health care funds) ในช่วงต้นของยุค 1990s[1. Bogle, Bogle On Mutual Funds, 158.] ซึ่งความนิยมในกองทุนหุ้นสุขภาพเพราะมีผลตอบแทนย้อนหลังดีในบางช่วงเวลาก็คล้ายคลึงกับในประเทศไทยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองทุนก็ได้ 5 ดาวกันไป จนทำให้บลจ.ต่าง ๆ เข็นกองทุนหุ้นสุขภาพออกมาขายกันเต็มไปหมด

ข้างบนนี้ก็เป็นข้อสังเกตหนึ่งว่า อุตสาหกรรมกองทุนรวมมักจะชอบเลียนแบบหรือแห่ตามกันในการขายกองทุนอะไรสักอย่าง และการขายกองทุนประเภทนั้น ๆ มักจะมาในช่วงที่สินทรัพย์ดังกล่าวหรือประเภทของหุ้นหรืออุตสาหกรรมนั้น ๆ ทำผลตอบแทนย้อนหลังได้ดีร้อนแรงจนประจักษ์ ซึ่งแน่นอนว่ามันง่ายต่อการขายเพราะมีผลตอบแทนล่าสุดเป็นตัวสนับสนุน และนักลงทุนส่วนใหญ่ก็ชอบแห่ตามซื้อกองทุนที่ร้อนแรงอยู่แล้ว

ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้เห็นในช่วงที่ผ่านมา สำหรับความนิยมไล่ซื้อกองทุนออกใหม่และพฤติกรรมแห่ตามขายกองทุนยอดฮิตของอุตสาหกรรมกองทุนรวม เช่น กองทุนหุ้นสุขภาพ กองทุนที่ลงทุนในธุรกิจผู้สูงอายุ กองทุนที่ลงทุนในหุ้นยุโรป หุ้นญี่ปุ่น (ซึ่งขายหลังจากที่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นร้อนแรงปรับตัวขึ้นมามาก) กองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทยขนาดกลาง-เล็ก (Mid-Small cap) ฯลฯ

IIIทำไมอดีตไม่อาจทำนายอนาคต

คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไมผลตอบแทนในอดีตไม่สามารถทำนายอนาคตได้ คำตอบของเรื่องนี้ คือ

(1) วิธีการลงทุนของกองทุนบริหารจัดการหรือผู้จัดการกองทุนหรือของบลจ.นั้นเปลี่ยนไปจากเดิม หรือไม่เปลี่ยนไปแต่เป็นวิธีที่ไม่อาจให้ผลตอบแทนดีเหมือนเดิมได้อีกแล้ว เช่น กองทุนบริหารจัดการนี้เคยใช้วิธีลงทุนในหุ้นที่มีสินทรัพย์มาก (asset-play) แต่ปัจจุบันวิธีนี้ไม่ให้ผลตอบแทนดีในช่วงเวลานี้ หรือ จากเดิมกองทุนนิยมลงทุนในหุ้นที่จ่ายเงินปันผลมาก ก็เปลี่ยนมาลงทุนในหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยแต่เน้นเติบโต (อาจเรียกว่าเป็นกรณี Style Drift)

(2) ผู้จัดการกองทุนหรือบลจ.เดิมไม่ได้บริหารกองทุนรวมนั้นแล้ว นี่ก็พบได้ว่ากองทุนรวมนั้นอาจมีผู้จัดการกองทุนใหม่ หรือผู้จัดการกองทุนเก่าลาออก หรือกลุ่มผู้จัดการและคณะกรรมการลงทุนเปลี่ยนชุด หรือบลจ.ถูกควบรวมกิจการทำให้ต้องมีการโยกย้ายกลุ่มผู้จัดการกองทุนเป็นชุดใหม่

(3) กองทุนนั้นมีจำนวนทรัพย์สินที่มากขึ้นทำให้ยากแก่การบริหารจัดการ สำหรับกรณีที่กองทุนนั้นเคยมีขนาดเล็กมาก่อน เช่น เดิมกองทุนมีสินทรัพย์ขนาด 1,000 ล้านบาท พอกองทุนได้รับความสนใจก็มีเงินกลายเป็น 10,000 ล้านบาท ทำให้การซื้อหุ้นขนาดเล็กทำได้ค่อนข้างยาก หรือการซื้อหุ้นบางอย่างติดข้อจำกัดเรื่องต่าง ๆ เช่น สภาพคล่อง หรือสัดส่วนในการลงทุนไปติดข้อกฎหมาย

(4) เป็นแค่เรื่องโชคดีหรือกองทุนซื้อหุ้นถูกตัวชั่วครั้งชั่วคราว 😅

แล้วมีอะไรที่ทำนายผลตอบแทนในอนาคตได้ดี หรือสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเลือกลงทุนในกองทุนรวมหรือไม่?

คำตอบคือมีครับ สิ่งนั้นก็คือ “ค่าใช้จ่าย(Costs) นั่นเอง

สิ่งที่ค้นพบกันในวงการการเงินก็คือ ยิ่งกองทุนรวมมีค่าใช้จ่ายน้อยเท่าไหร่ โอกาสที่มันจะให้ผลตอบแทนดีในระยะยาวและเป็นผู้ชนะย่อมมีสูงขึ้นตามไปด้วย[1. Ferri, All About Index Funds, 26.] ตัวแปรหลักที่จะทำนายผลการดำเนินงานในอนาคตจึงได้แก่สัดส่วนค่าใช้จ่ายและอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ ที่ยิ่งมีค่ามากเท่าไหร่ ผลตอบแทนในอนาคตก็ลดฮวบฮาบลงไปเรื่อย ๆ[1. Malkiel, A Random Walk down Wall Street, 401.]

4. ย้อนดูกองทุนรวมหุ้นไทย

ผมได้เคยทำบทความเกี่ยวกับผลตอบแทนในอดีตของกองทุนรวมหุ้นไทยไว้หลายบทความ และแนวโน้มก็คล้ายกันว่า ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนรวมไม่บ่งบอกอนาคตที่นักลงทุนจะได้ ซึ่งรวมไปถึงการเลือกลงทุนในกองทุนแบบบริหารจัดการมีผู้จัดการกองทุนคัดเลือกหุ้น (Actively Managed Funds) ไม่สามารถทำผลตอบแทนเหนือกว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นโดยรวม เช่น บทความเรื่อง ผลตอบแทนของ RMF ในอดีต หรือ ผลตอบแทน LTF ในอดีตไม่อาจบอกอนาคตได้ หรือ ผลตอบแทนกองทุนระหว่างปี 49-58 หรือ RMF กองไหนดี?

หากแต่ในบทความนี้ เราจะมาดูประเด็นเรื่อง การเลือกผู้ชนะโดยดูจากผลตอบแทนย้อนหลัง และนักลงทุนหวังในใจว่ากองทุนเหล่านี้จะยังเป็นผู้ชนะในอนาคตเช่นเดิม มาดูกันว่ามันจะเป็นหวังที่ลม ๆ แล้ง ๆ หรือไม่

ผมมีข้อมูลช่วงปี 2010-2017 ของกองทุนรวมหุ้นที่ทำผลตอบแทนได้สูงสุด 5 ลำดับแรกของแต่ละปี (เป็นข้อมูลในมือที่สามารถหาได้ ณ ตอนทำบทความนี้) และกองทุนเหล่านี้เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นไทย โดยรวมไว้ทั้งกองทุนปกติและกองทุนที่มีสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอย่าง LTF RMF ซึ่งผมคิดว่ามันควรถูกจับมายำรวมกัน เพราะถ้ากองทุนบริหารจัดการ (actively managed funds) เหล่านี้มีนโยบายเช่นเดียวกันว่า มันจะต้องทำผลตอบแทนได้ชนะผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นไทย

ดังนั้น มันไม่ควรจะมีข้ออ้างว่าจะต้องมาแยกว่าฉันเป็นกองทุนรวมทั่วไป หรือฉันลดหย่อนภาษีได้แบบ LTF หรือ RMF ถ้ามันลงทุนในหุ้นไทยเหมือน ๆ กัน ที่สำคัญเวลานักลงทุนทุกคนเลือกซื้อกองทุนพวกนี้ก็ย่อมต้องหวังว่ามันจะให้ผลตอบแทนสูดสุดอยู่แล้ว และผลก็ปรากฏดังรูปด้านล่างครับ

RANK1

จากรูปท่านจะเห็นได้ว่า ประการแรก กองทุนหุ้นไทยที่ได้ผลตอบแทนสูงสุดอันดับ 1 และ 2 ในแต่ละปี ช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้นไม่ซ้ำหน้ากันเลย และประการที่สอง ท่านที่ซื้อกองทุนที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด 5 ลำดับแรกในปี 2010 ท่านจะพบว่า ใน 7 ปีต่อมา กองทุนเหล่านั้นไม่ติด 5 ลำดับแรกเลยสักปี! ประการสุดท้าย แม้มันจะมีกองทุนที่ยังติดโผอยู่บ้าง แต่ว่าในอนาคตมันจะติดโผอยู่หรือไม่? เขียนมาถึงตรงนี้ท่านยังเชื่ออยู่หรือเกี่ยวกับการดูผลตอบแทนย้อนหลัง

พาทัวร์อีกรอบหนึ่ง คราวนี้มาถึงกองทุนยอดฮิตอย่าง LTF กล้าทายได้เลยว่า ส่วนหนึ่งของท่านที่อ่านบทความนี้ ตอนซื้อกองทุน LTF โดยเฉพาะท่านที่ซื้อเพียงเพื่อลดหย่อนภาษี ท่านก็จะมองหากองทุนรวมที่ทำผลตอบแทนได้สูงสุด 🧐 โดยเปิดดูสัปดาห์ท้าย ๆ ของเดือนธันวาคมที่กำลังจะหมดเวลาซื้อ LTF

ลองมาดูข้อมูลปี 2007-2017 ข้างล่างนี้กัน แล้วเราจะเห็นอะไรที่น่าสนใจ

RANKLTF

เห็นอะไรไหมครับ ก็เหมือนเดิมกับรูปก่อนหน้า กองทุนที่ได้ลำดับที่ 1 ในแต่ละปีแทบจะไม่ซ้ำหน้ากันเลย และน่าสนใจตรงที่คนที่ซื้อกองทุนโดยดูผลตอบแทนรวมสูงสุดของปี 2007 จะพบใน 10 ปีต่อมาว่า กองทุนที่ท่านซื้อมานั้นแทบจะไม่ติด 5 ลำดับแรกในแต่ละปีของ 10 ปีต่อมาเลยสักกองทุนเดียว

งานวิจัยทางวิชาการของไทยก็ให้ผลไปในทางเดียวกันว่า กลยุทธ์ที่ซื้อกองทุน LTF หรือ RMF จากผลตอบแทนที่ดีในอดีตไม่อาจชี้วัดได้ว่ากองทุนดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนดีในอนาคต และยังพบอีกว่า กองทุนรวมเหล่านี้ทำผลตอบแทนสุทธิ (net returns) ได้ต่ำกว่าผลตอบแทนรวมเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์โดยห่างและต่ำกว่า 2-3% ต่อปี[1. ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์, “ผลตอบแทนและความต่อเนื่องของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายเชิงรุก,” วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า 22 (พฤษภาคม 2561): 61.]

แล้วจะทำอย่างไรดีในการเลือกกองทุนรวม ในเมื่อมันดูผลตอบแทนที่ผ่านมาแล้วเสียเวลา?

คำตอบง่ายมาก คือ ทำใจ! ครับ และยอมรับว่า ผลตอบแทนในอดีตของกองทุนรวมไม่สามารถทำนายผลตอบแทนในอนาคตได้ การเลือกกองทุนรวมโดยดูผลตอบแทนย้อนหลังเป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเลย[1. John C. Bogle, John Bogle on Investing: The First 50 Years (Hoboken: Wiley, 2015), 121.]

5. บทสรุปเกี่ยวกับ ผลตอบแทนย้อนหลัง ของกองทุนรวม

ประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ มันไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนในช่วงเวลาหนึ่งกับผลตอบแทนในช่วงเวลาถัดไป เป็นการยากมากที่นักลงทุนจะมีเครื่องรับประกันว่านักลงทุนจะได้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคตโดยใช้วิธีลงทุนในกองทุนที่มีผลตอบแทนดีในช่วงที่ผ่านมา คุณไม่อาจจะเอาชนะตลาดได้สม่ำเสมอจากการซื้อกองทุนที่มีผลการดำเนินงานที่ดีที่สุดได้ เพราะว่า อดีตไม่สามารถทำนายอนาคตได้ในวงการกองทุนรวม[1. Malkiel, A Random Walk down Wall Street, 399.]

ด้วยเหตุนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการทำนายผู้ชนะในอนาคต คือ การดูจาก “ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม“[1. Mel Lindauer, Taylor Larimore, and Michael LeBoeuf, The Bogleheads’ Guide to Investing, 2nd ed. (Hoboken: Wiley, 2014), 116] เพราะค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์โดยตรงกับผลตอบแทนที่นักลงทุนในกองทุนรวมจะได้รับ ยิ่งนักลงทุนเสียค่าใช้จ่ายกองทุนรวมมากเท่าไหร่ ผลตอบแทนในอนาคตที่นักลงทุนจะได้รับก็จะลดลงไป[1. Malkiel and Ellis, The Elements of Investing, 88.] และในทางกลับกัน ยิ่งจ่ายน้อยเท่าไหร่ อนาคตที่กองทุนรวมนั้นจะทำผลตอบแทนได้ดีก็ยิ่งมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ส่วนใหญ่แล้วกูรูในวงการการเงินจึงมักจะแนะนำ “กองทุนดัชนี” เป็นเครื่องมือหลักในการลงทุน โดยให้นักลงทุน ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ (low-cost index funds)

โดยสาเหตุก็เพราะว่า ค่าใช้จ่ายที่ต่ำจะนำไปสู่โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนในอนาคตที่สูงขึ้น[1. ibid., 87.] และการลงทุนกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำก็เพิ่มโอกาสในระยะยาวที่นักลงทุนจะได้ผลตอบแทนรวมเท่ากับตลาดหุ้น ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่สูงกว่านักลงทุนส่วนใหญ่ที่ลงทุนในกองทุนบริหารจัดการแบบ Actively Managed Funds เพราะกองทุนบริหารส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนได้แย่กว่าผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้น

ตัวอย่างของผู้ที่แนะนำเช่นนี้ เช่น Ferri ผู้เสนอว่า อย่าเสียเวลาไปกับการเลือกกองทุนโดยดูผลตอบแทนในอดีตเลย การลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามาก[1. Ferri, All About Index Funds, 27.] หรือ Malkiel กับ Ellis ที่เห็นว่า การลงทุนในกองทุนดัชนีแบบ broad-based index ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำจะทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่เหนือกว่าค่าเฉลี่ยในอนาคต[1. Malkiel and Ellis, The Elements of Investing, 91.] หรือ John Bogle ที่เห็นว่า กองทุนรวมที่ชนะตลาดในระยะยาวถือว่าเป็นข้อยกเว้นในอุตสาหกรรมกองทุนรวม เพราะฉะนั้นแทนที่จะมัวหาเข็มในกองฟาง (กองทุนผู้ชนะ) การซื้อทั้งกองฟาง (กองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ) น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า [1. John C. Bogle, The LiIttle Book of Common Sense Investing, 86.]

แม้กระทั่งบทความของ Russell Kinnel ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Morningstar เองยังเสนอแนะว่า ในโลกของกองทุนรวมนั้น ตัวเลขของค่าใช้จ่าย (expense ratio) ดูจะเป็นสิ่งเดียวในโลกกองทุนรวมที่ช่วยในการตัดสินใจได้ กองทุนรวมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ๆ ในทุกกองทุนแบ่งตามประเภทสินทรัพย์ และในทุกช่วงเวลา สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่ากองทุนรวมที่มีค่าใช้จ่ายสูง ๆ

โดยสรุปจึงเห็นได้ว่า การลงทุนในกองทุนรวมที่มีผลตอบแทนย้อนหลังสูงหรือกองทุนอันดับหนึ่งเป็นวิธีที่ไม่อาจทำนายได้เลยว่าท่านจะได้ผลตอบแทนสูงในอนาคตเช่นเดิมหรือไม่ และส่วนใหญ่คำตอบจะกลายเป็นว่า “ไม่” ซึ่งการยอมรับว่า การมานั่งดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนเป็นเรื่องที่เปล่าประโยชน์และเสียเวลา นักลงทุนจะหลุดพ้นจากความเชื่อกระแสหลักในวงการลงทุน หลุดพ้นจากสื่อและการโหมกระหน่ำโชว์โฆษณาผลตอบแทนในอดีต หลุดพ้นจากการผลาญเวลางมหาผู้ชนะ และสามารถนำเวลาไปทำอะไรที่มันมีประสิทธิภาพกว่าเดิมได้

ส่วนวิธีการเลือกกองทุนรวมที่น่าเชื่อถือและมีงานทางวิชาการสนับสนุนก็คือ การเลือกกองทุนจากอัตราส่วนค่าใช้จ่าย และเนื่องด้วยกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำโดยปกติมักจะเป็นกองทุนดัชนี ดังนั้น การลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ หรืออย่างน้อยลงทุนในกองทุนรวมที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ๆ กองทุนพวกนี้นี่ล่ะที่จะสร้างโอกาสที่ทำให้ท่านได้ผลตอบแทนที่สูงในอนาคตครับ

บทความแนะนำอื่นที่ควรอ่านต่อ

(1) ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม

(2) ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายต่อนักลงทุน

(3) กองทุนดัชนีคืออะไร

(4) กองทุนดัชนีในประเทศไทย

(5) กฎของการกลับคืนสู่ค่าเฉลี่ย

กองทุนดัชนีในไทย

ในประเทศไทยนั้นถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์กองทุนรวม (mutual funds) กองทุนดัชนีกองแรกน่าจะเป็น SCBSET ของบลจ.ไทยพาณิชย์ซึ่งลงทุนเลียนแบบดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยออกกองทุนมาตอนปี พ.ศ. 2539 ส่วนกองทุนรวมที่เลียนแบบดัชนี SET50 กองแรกคือ TMBSET50 ของบลจ.ทหารไทยในปี พ.ศ. 2544 ครับ ก็เกือบ 20 กว่าปีแล้วที่เกิดกองทุนรวมดัชนีในไทยขึ้นมา

ดัชนีที่เป็นที่นิยมเลียนแบบ คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ซึ่งถือว่าดีครับ เพราะเกณฑ์ในการคำนวณและคัดเลือกบริษัทเข้ามาประกอบดัชนีนั้นใช้หลักการคำนวณแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight) สามารถดูรายละเอียดเต็ม ๆ ได้ที่นี่  สรุปคร่าว ๆ ก็คือ ดัชนีประเภทนี้จะเป็นดัชนีแบบกระจายฐานกว้าง (broad-based) มีหุ้นหลายตัวประกอบกันโดยเรียงตามขนาดมูลค่าบริษัท บริษัทไหนใหญ่ก็จะมีน้ำหนักในการลงทุนมากกว่า และการเปลี่ยนแปลงราคาในแต่ละวันก็จะทำการปรับมูลค่าใหม่ให้กับหลักทรัพย์แต่ละตัวเองครับ ถ้าหุ้นตัวนั้นมีมูลค่าตลาด (marketcap) ตกลงมา น้ำหนักในดัชนีก็จะน้อยลงไปอัตโนมัติ ทำให้ผู้จัดการกองทุนแทบจะไม่ต้องมายุ่งในการซื้อขายปรับเปลี่ยนสัดส่วนแต่อย่างใด เป็นดัชนีที่ทำการเข้าซื้อและถือยาวได้ง่ายที่สุด (buy & hold strategy) และจะประกอบด้วยหุ้นหลากหลายตัวทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี ในไทยนั้นหลัก ๆ ก็จะมีดัชนี SET, SET50, SET100 (50-100 ก็คือจำนวนหุ้นที่จะต้องเลียนแบบครับ)

อย่าง SET50 โดยปกติมูลค่าของมันก็จะมีน้ำหนักประมาณ 70-75% ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับ ดัชนี The S&P500 ที่มีน้ำหนักประมาณสามในสี่ของมูลค่าตลาดหุ้นสหรัฐ กองทุนที่เลียนแบบมักจะทำได้ไม่ยากก็จะก็อปปี้ลงทุนหุ้นได้ครบ (full replication)  แต่อย่างดัชนี SET100 กองทุนอาจจะมีหุ้นไม่ถึง 100 ตัว หรือกรณี SET ยังไงก็คงไม่ครบ 500-600 แน่ๆ เพราะหุ้นตัวเล็ก ๆ สภาพคล่องในการซื้อขายยิ่งต่ำ แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ เขาสามารถใช้วิธีปรับสัดส่วนให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีได้โดยไม่ต้องมีหุ้นครบ คืออาจจะคำนวณโปรแกรมว่าต้องเพิ่มลดน้ำหนักตัวไหนจึงจะใกล้เคียงกับการลงทุนตามดัชนีนั้นๆมากที่สุด (optimization)

    ข้อมูลผมอาจจะตกหล่น แต่เท่าที่สำรวจดู ข้อเสียอย่างหนึ่งของกองทุนรวมโดยเฉพาะกองทุนเปิดในบ้านเรานั้น ไม่มีกองทุนดัชนีสินทรัพย์อื่น เช่น กองทุนดัชนีตราสารหนี้ กองทุนดัชนีอสังหาริมทรัพย์ เป็นตัวเลือกให้นักลงทุน (ต่างประเทศมีและนิยมมากด้วย) ก็จะต้องทำการรอคอยกันต่อไปว่าบลจ.เจ้าไหนจะเข็นมันออกมาก่อน


แนวทางลงทุน

เพราะฉะนั้น ด้วยความครบหลายอย่างของดัชนี SET ไม่ว่าจะเกณฑ์ Market Cap-Weight, เป็น Broad-based index จึงทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี (broad diversification), และอย่าง SET50 นั้นลงทุนตามได้ง่าย full replication ซึ่งจะทำให้คิดค่าใช้จ่ายต่ำ ๆ ลงอีกได้ กองทุนดัชนีในไทยเราที่เป็น กองทุนดัชนีหุ้น SET50 จึงค่อนข้างจะเหมาะสมในการถือครองระยะยาว

กองทุนดัชนีที่เหมาะสมจะลงทุนนั้น ยังต้องคำนึงถึง ค่าใช้จ่าย เป็นสำคัญ จะต้องมีค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำมาก ยิ่งต่ำเท่าไหร่ยิ่งดี (lower or lowest-costs) ยิ่งสมมติคุณลงทุนกองทุนดัชนี SET50 ก็ในเมื่อทุกอย่างมันเหมือนกันหมด คุณจึงควรเลือกกองทุนที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดครับ นอกจากนี้กองทุนดัชนีไม่ควรมีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ เช่น ไม่ควรมีธรรมเนียมในการซื้อขาย (no-load) แต่ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายที่เก็บเข้ากองทุนประเภท Transaction-fees แบบนี้ยอมรับได้ อีกประเด็นคือ นักลงทุนควรลงทุนระยะยาวในกองทุนหุ้นอย่างน้อย 7-10 ปีขึ้นไป ดังนั้นนักลงทุนย่อมไม่ควรลงทุนในกองทุนดัชนีที่จ่ายปันผล (ดูข้อเสีย)

เพราะฉะนั้นข้อมูลด้านล่างนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลกองทุนดัชนีหุ้นไทย โดยจะตัดกองทุนเปิดดัชนีที่มีการจ่ายปันผลทิ้งไป เช่น TMB50DV, T-SET50 และบางกองที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายรวมทุกอย่างสูงเกิน 1% ไปมาก หรือบางกองที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่ำเกินไป เช่น ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ที่อาจจะถูกปิดหรือเลิกกองทุนได้

นักลงทุนต้องระวังกองทุนรวมที่มีคำว่า SET50, SET100 แต่ไม่ใช่กองทุนดัชนีนะครับ เช่น 1AMSET50, KFENSET50 พวกนี้เป็น active fund

ข้อมูลด้านล่างนี้เก็บรวบรวมมา ณ วันที่ 18/11/2560 ก็จะพยายามอัพเดตอย่างน้อยทุกครึ่งปีครับ

  • ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ (fee in-out) คือ คือค่าใช้จ่ายเวลาเราซื้อหรือขายกองทุนซึ่งทำให้กองทุนมีการเคลื่อนไหวเพราะเงินเราไหลเข้าออก กองทุนจึงเก็บจากเราโดยตรง จะได้ไม่กระทบกับเงินลงทุนคนอื่นที่เขาไม่ได้ซื้อขายด้วย เหลือก็เก็บเข้ากองทุน เป็นค่าใช้จ่ายที่โอเคและสมเหตุสมผลครับ
  • ค่าธรรมเนียม (Load – front, back) คือค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายกองทุน ซึ่งกองทุนดัชนีที่ดีไม่ควรมีพวกนี้ครับ (no-load)
  • Expenses Ratio (Total expenses ratio – TER) เป็นอัตราค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม รวมแล้วทั้งค่าธรรมเนียมบริหาร ค่าดูแลกองทุน ค่านายทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นอันแสนจะยิบย่อย (-_-“) ผลตอบแทนส่วนใหญ่ในระยะยาวของเราจะหายก็เพราะตัวนี้ครับ สำคัญมาก (ตัวเลขที่เอามาคือเป็นตัวเลขรวมภาษี บางกองทุนโชว์ก่อนภาษีผมก็ทำการเหมาคร่าว ๆ โดยคูณ 1.07 เข้าไป)
  • Turn-over rate expense คือ ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เพราะทุกครั้งที่กองทุนมีการเคลื่อนไหว มีการซื้อขายหุ้นในพอร์ตก็จะต้องจ่ายค่าคอมให้โบรกเกอร์ทั้งหลาย ซึ่งปกติมันควรจะน้อยครับเพราะส่วนใหญ่กองทุนพวกนี้ก็ควรจะถือหุ้นยาว (** ทุกท่านควรจะอ่านและทำความเข้าใจให้ดีกับ ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม ครับ ว่ามันส่งผลกระทบอย่างไรต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับ)
  • ช่องสุดท้าย คือ รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับในท้ายที่สุด ดูไว ๆ ช่องนี้ได้เลย 

set181117

* กองทุน KT-SET50A พึ่งตั้งกองทุนเมื่อต้นปี 2560 ทำให้ข้อมูลรายงานประจำปียังไม่มี เบื้องต้น ณ วันจัดทำพบว่ามีค่าใช้จ่ายบริหาร 0.40% ค่าใช้จ่ายอื่นราว ๆ 0.10% รวมแล้วก็ประมาณ 0.5% หากแต่มีการยกเว้นค่านายทะเบียนชั่วคราวซึ่งปกติเจ้าอื่นเก็บ จึงมีความไม่แน่นอนในค่าใช้จ่ายตัวนี้ (ซึ่งในหนังสือชี้ชวนเก็บได้อีกสูงสุด 0.20%) ประกอบกับขาดค่าใช้จ่ายสำคัญอีกตัว คือ ค่าใช้จ่ายจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในกองทุนเอง (Turn over rate expenses) จึงไม่สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมดออกมาได้แน่นอนครับ อาจจะต้องรอรอบรายงานประจำปีถัดไปให้ตัวเลขเสถียรและชัดเจนก่อน


ก็จะเห็นได้ว่า กองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุด ณ ปัจจุบัน คือ TMB50 ส่วนหมวดกองทุนประหยัดภาษีนั้นต่ำสุดก็คือ KS50LTF กับ KFS100RMF ครับ แต่ต้องเข้าใจว่าต่อให้ต่ำสุดในหมวดนั้นแต่ถ้าเกิน 1% ต่อปี กองทุนดัชนีก็จะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ครับ มันต้องรวมกันสองอย่างคือ เป็น “กองทุนดัชนี” และต้องมี “ค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด” ด้วย

ถามว่าค่าใช้จ่ายกองทุนดัชนีในบ้านเรานั้นต่ำหรือยัง คำตอบคือยังครับ ค่าเฉลี่ยจริง ๆ ค่าใช้จ่ายรวมไม่ควรเกิน 0.5% ควรจะต่ำกว่านี้ ลองดูกองทุนดัชนีของสหรัฐก็จะอยู่ที่ 0.1-0.3% ต่อปีครับ (ต่ำสุดเลยคือ 0.05% !) แต่ถามว่าค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของกองทุนดัชนีหุ้นไทย ต่ำๆก็อยู่ที่ 0.5-0.8% ต่อปี ก็ถือว่าน้อยกว่าเกือบ 2-3 เท่าของกองทุนบริหาร (active funds) ครับ ค่าเฉลี่ยที่ผมเคยทำ กองทุนบริหารในไทยมีค่าใช้จ่ายหลักและค่าใช้จ่ายแฝงรวมกันประมาณ 1.75-2.50% ต่อปีเลยทีเดียว ระยะยาวส่วนต่างพวกนี้จะถ่างผลตอบแทนออกเยอะมากครับด้วยพลังแห่งดอกเบี้ยทบต้น

แล้วถามว่ากองทุนรวมในไทยที่เป็นกองทุนบริหารทำผลตอบแทนได้แย่กว่าดัชนีหรือตลาดหุ้นหรือไม่ โปรดลองอ่านบทความเหล่านี้ครับ LTF กองไหนดี10 ปีผ่านไป กองหุ้นไทยเทียบ SET TRIเจาะลึก RMF หุ้นไทย ใครแพ้?, แล้วจะเห็นว่ากองทุนผู้ชนะตลาดหุ้นอย่างสม่ำเสมอนั้นมีน้อยจริง ๆ และชนะในวันนี้ก็อาจจะเป็นผู้แพ้ในวันหน้าได้ และนักลงทุนก็ไม่มีวิธีไหนทำนายได้ด้วยว่ากองไหนจะเป็นที่หนึ่งในอีก 20-40 ปีข้างหน้า โดยปกติการเสียเวลามานั่งหากองทุนบริหารผู้ชนะมักจะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ผลตอบแทนด้อยลงครับ (“Searching for superior active funds is an inferior strategy.”—Richard A. Ferri)

มีกองทุนดัชนีอีกประเภทในไทยที่ส่วนตัวผมอยากเตือนให้นักลงทุนระวังคือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Fund-FIF) ไม่ว่าจะเป็น Fund of Funds หรือ Feeder Fund พวกนี้มีการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่แพงมากและเก็บซ้ำซ้อนจนลดทอนผลตอบแทนที่นักลงทุนควรได้จนอาจไม่คุ้มค่าในระยะยาวที่จะลงทุนครับ ยกตัวอย่าง กองทุนที่ลงทุนในดัชนีหุ้นต่างประเทศ เช่น ดัชนี Nikkei225 ของญี่ปุ่น นักลงทุนซื้อตอนแรกก็โดนค่าธรรมเนียมขาย (front-load) ไป 1.0-1.5% กองทุนพวกนี้เอาเงินท่านไปซื้อ ETF ซึ่งคิดค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 0.3-0.4% ต่อปี แล้วกองทุนในไทยยังเก็บค่าใช้จ่ายท่านซ้ำอีก เช่น บางเจ้าเก็บปีละ 1.0-1.4% ต่อปี สรุปแล้วปีแรกท่านก็เสียค่าใช้จ่ายไปรวมร่วม ๆ 2-3% ปีหลัง ๆ พอถือยาวก็เสียอีก 1.5-2.0% ต่อปี ถ้าระยะยาวดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกทำผลตอบแทนได้ 10% ต่อปี ท่านก็จะโดยกินไปแล้วเกือบร้อยละ 20 ของผลตอบแทน ส่วนตัวผมจึงแทบไม่แตะต้องกองทุนพวกนี้เลย ค่าใช้จ่ายที่แพงขนาดนี้ ระยะยาวย่อมลดทอนสิ่งที่จะได้จากการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนต่างประเทศครับ ว่ากันว่า การกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนสินทรัพย์ต่างประเทศประกอบในพอร์ตฟอลิโอถือเป็น free-lunch ในการลงทุน แต่ถ้าถูกคิดค่าใช้จ่ายแพงขนาดนี้นอกจากเราจะไม่มี free-lunch อาหารกลางวันให้กินแล้ว เรายังต้องจ่ายอาหารเช้า breakfast-lunch ให้อุตสาหกรรมกองทุนรวมด้วย อะไรที่คุณไม่จ่ายออกไปในการลงทุน ในด้านหนึ่งมันก็คือผลตอบแทนที่คุณได้รับ (“The Fact is that the reverse is true : the more you pay, the less your earn.” — John C. Bogle) ตรวจสอบค่าใช้จ่ายรวมทุกอย่างให้ดีก่อนที่จะลงทุนในอะไรก็ตามครับ

“Other things equal, lower costs mean higher returns.” — John C. Bogle


อยากให้อ่านบทความนี้ต่อครับ — DCA กับคำแนะนำของกูรู


—♦ ข้อมูลอ้างอิงค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมดัชนี จัดทำ ณ วันที่ 20/11/2560

SETFUNDS201117

—♠ ข้อมูลอ้างอิงค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมดัชนีตามรอบรายงานประจำปีที่ผ่านมา

SET AR back

กองทุนดัชนี ในไทย (Index Funds in Thailand)

กองทุนดัชนี (Index Funds)

ในประเทศไทยนั้น ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์กองทุนรวม (mutual funds) กองทุนดัชนี กองแรกน่าจะเป็น SCBSET ของบลจ.ไทยพาณิชย์ ซึ่งลงทุนเลียนแบบดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) โดยออกกองทุนมาตอนปี พ.ศ. 2539 ส่วนกองทุนรวมที่เลียนแบบดัชนี SET50 กองแรกคือ TMBSET50 ของบลจ.ทหารไทยในปี พ.ศ. 2544 ครับ ก็เกือบ 20 กว่าปีแล้วที่เกิดกองทุนรวมดัชนีในไทยขึ้นมา

ปรับปรุงบทความ 22/07/62

1. ดัชนีที่ กองทุนดัชนี ในไทยนิยมเลียนแบบ

ดัชนีที่เป็นที่นิยมเลียนแบบของ กองทุนดัชนี ในไทย คือ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) ซึ่งถือว่าดีครับ เพราะเกณฑ์ในการคำนวณและคัดเลือกบริษัทเข้ามาประกอบดัชนีนั้น ใช้หลักการคำนวณแบบถ่วงน้ำหนักด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight) (ดูรายละเอียด)

โดยสรุปคร่าว ๆ ก็คือ ดัชนีประเภทนี้จะเป็นดัชนีแบบกระจายฐานกว้าง (broad-based) มีหุ้นหลายตัวประกอบกันโดยเรียงตามขนาดมูลค่าบริษัท (market cap) บริษัทไหนมีขนาดใหญ่ก็จะมีน้ำหนักในการลงทุนมากกว่า และการเปลี่ยนแปลงราคาในแต่ละวันก็จะทำการปรับมูลค่าใหม่ล่าสุดให้กับหลักทรัพย์แต่ละตัวเองครับ ถ้าหุ้นตัวนั้นมีมูลค่าตลาดตกลงมา น้ำหนักของมันในดัชนีก็จะลดน้อยลงไปอัตโนมัติ ทำให้ผู้จัดการกองทุนแทบจะไม่ต้องมายุ่งในการซื้อขายปรับเปลี่ยนสัดส่วนแต่อย่างใด

ด้วยเหตุนี้ ดัชนี SET Index จึงเป็นหนึ่งในดัชนีหุ้นที่ทำการเข้าซื้อและถือยาวได้ง่ายที่สุด (buy-and-hold strategy) และจะประกอบด้วยหุ้นหลากหลายตัวทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี ในไทยนั้นหลัก ๆ ก็จะมี ดัชนี SET, SET50, SET100 โดยตัวเลข 50-100 ก็คือจำนวนหุ้นที่จะต้องเลียนแบบครับ

ยกตัวอย่าง ดัชนี SET50 โดยปกติมูลค่าของมันก็จะมีน้ำหนักประมาณ 70-75% ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งค่อนข้างคล้ายกับ ดัชนี the S&P500 ที่มีน้ำหนักประมาณสามในสี่ของมูลค่าตลาดหุ้นสหรัฐ กองทุนที่เลียนแบบมักจะทำได้ไม่ยาก ทำให้สามารถจะ copy ลงทุนหุ้นได้ครบ (full replication)

ส่วนดัชนี SET100 นั้น กองทุนอาจจะมีหุ้นไม่ถึง 100 ตัว หรือกรณีเลียนแบบ SET ยังไงก็คงลงทุนไม่ครบ 500-600 ตัวแน่ ๆ เพราะหุ้นตัวเล็ก ๆ สภาพคล่องในการซื้อขายยิ่งต่ำ หากแต่ไม่ต้องกังวลไปครับ เขาสามารถใช้วิธีปรับสัดส่วนให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีได้โดยไม่ต้องมีหุ้นทุกตัวครบ คือ อาจจะคำนวณโดยใช้โปรแกรมว่าต้องเพิ่มลดน้ำหนักของหุ้นตัวไหนจึงจะใกล้เคียงกับการลงทุนตามดัชนีนั้น ๆ มากที่สุด (optimization)

ข้อมูลผมอาจจะตกหล่น แต่เท่าที่สำรวจดู ข้อเสียอย่างหนึ่งของกองทุนรวมโดยเฉพาะกองทุนเปิดในบ้านเรานั้น ไม่มี กองทุนดัชนี สินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ เช่น กองทุนดัชนีตราสารหนี้ กองทุนดัชนีอสังหาริมทรัพย์ มาเป็นตัวเลือกให้นักลงทุน (ต่างประเทศมีและนิยมมากด้วย) ก็จะต้องทำการรอคอยกันต่อไปว่า บลจ. เจ้าไหนจะเข็นมันออกมาก่อน

2. แนวทางลงทุนกองทุนดัชนี 

ด้วยความครบครันของดัชนี SET Index ไม่ว่าจะมีลักษณะตามเกณฑ์ market cap-weighted, เป็น broad-based index จึงทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี (broad diversification) และอย่างดัชนี SET50 นั้นลงทุนตามได้ง่าย ลงทุนหุ้นครบทั้ง 50 ตัวได้ด้วยวิธี full replication ซึ่งจะทำให้กองทุนสามารถคิดค่าใช้จ่ายต่ำ ๆ ได้ ทำให้กองทุนดัชนีในไทยเราที่เป็น กองทุนดัชนีหุ้น SET50 จึงค่อนข้างจะเหมาะสมในการถือครองระยะยาว ประเด็นนี้ค่อนข้างคล้ายกับกองทุนดัชนีหุ้นสหรัฐที่มักจะนิยมเลียนแบบดัชนี the S&P 500

อนึ่ง กองทุนดัชนีที่เหมาะสมจะลงทุนนั้น ยังต้องคำนึงถึง ค่าใช้จ่าย เป็นสำคัญ จะต้องมีค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำมาก ยิ่งต่ำเท่าไหร่ยิ่งดี (lower or lowest-cost index funds)

ยิ่งสมมติคุณลงทุนกองทุนดัชนี SET50 ก็ในเมื่อทุกอย่างมันเหมือนกันหมด กองทุนที่เลียนแบบดัชนี SET50 ต้องลงทุนหุ้นทุกตัวเหมือนกัน ต้องทำผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี SET50 เมื่อมันไม่มีความต่าง คุณจึงควรเลือกกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่าย ต่ำที่สุด ครับ

นอกจากนี้ กองทุนดัชนีไม่ควรมีค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ เช่น ไม่ควรมีธรรมเนียมในการซื้อขาย (no-load) แต่ถ้าเป็นค่าใช้จ่ายที่เก็บเข้ากองทุนประเภทค่าใช้จ่ายในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ (transaction fees) แบบนี้ยอมรับได้

อีกประเด็นคือ นักลงทุนควรลงทุนระยะยาวในกองทุนหุ้นอย่างน้อย 7-10 ปีขึ้นไป ดังนั้น นักลงทุนย่อมไม่ควรลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีนโยบายในการจ่ายปันผล (ดูข้อเสีย)

ข้อมูลด้านล่างนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลกองทุนดัชนีหุ้นไทย โดยจะตัดกองทุนเปิดดัชนีที่มีนโยบายจ่ายเงินปันผลทิ้งไป เช่น TMB50DV, T-SET50 และบางกองทุนที่อาจจะมีค่าใช้จ่ายรวมทุกอย่างสูงเกิน 1% ไปมาก หรือบางกองที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่ำเกินไป เช่น ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ที่มีโอกาสอาจจะถูกปิดหรือเลิกกองทุน

อนึ่ง นักลงทุนต้องระวังกองทุนรวมที่มีคำว่า SET50, SET100 แต่ไม่ใช่กองทุนดัชนีนะครับ เช่น 1AMSET50, KFENSET50 พวกนี้เป็น actively managed funds ไม่ใช่กองทุนดัชนีแบบเชิงรับแท้ (passive index funds) 

ข้อมูลด้านล่างนี้เก็บรวบรวมมา ณ วันที่ 22/07/2562 ก็จะพยายามอัพเดตอย่างน้อยทุกครึ่งปีครับ

(1) ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ (fee in-out) คือ คือค่าใช้จ่ายเวลาเราซื้อหรือขายกองทุนซึ่งทำให้กองทุนมีการเคลื่อนไหวเพราะเงินเราไหลเข้าออก กองทุนจึงเก็บค่าใช้จ่ายจากเราโดยตรง จะได้ไม่กระทบกับเงินลงทุนของคนอื่นที่เขาไม่ได้มาซื้อขายกับเราด้วย ค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือก็เก็บเข้ากองทุน ทำให้ค่าใช้จ่ายตัวนี้โอเคและสมเหตุสมผลในการเก็บครับ

(2) ค่าธรรมเนียม (Load – front, back) คือค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายกองทุน ซึ่งกองทุนดัชนีที่ดีไม่ควรมีพวกนี้ครับ (no-load)

(3) Expense Ratio (Total expense ratio – TER) เป็นอัตราค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม ซึ่งคิดรวมแล้วทั้งค่าธรรมเนียมบริหารจัดการกองทุน ค่าดูแลกองทุน ค่านายทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่นอันแสนจะยิบย่อย (-_-“) ผลตอบแทนส่วนใหญ่ในระยะยาวของเราจะหายก็เพราะตัวนี้ครับ สำคัญมาก (ตัวเลขที่เอามาคือเป็นตัวเลขรวมภาษี บางกองทุนโชว์ก่อนภาษีผมก็ทำการเหมาคร่าว ๆ โดยคูณ 1.07 เข้าไป)

(4) Turnover rate expense คือ ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกิดจากการที่กองทุนทำการซื้อขายหุ้นของกองทุน หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการหมุนเวียนซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุน เพราะทุกครั้งที่กองทุนมีการเคลื่อนไหว มีการซื้อขายหุ้นในพอร์ตก็จะต้องจ่ายค่าคอมให้โบรกเกอร์ทั้งหลาย ซึ่งปกติมันควรจะน้อยครับเพราะส่วนใหญ่กองทุนพวกนี้ก็ควรจะถือหุ้นยาว

หากท่านไม่เข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมที่กล่าวไปข้างบน ทุกท่านควรจะอ่านและทำความเข้าใจให้ดีกับรายละเอียดของค่าใช้จ่ายแต่ละตัวตามบทความนี้ >> ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม

ช่องสุดท้าย คือ รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนที่เราจะได้รับในท้ายที่สุด ดูไว ๆ ช่องนี้ได้เลย 

Annotation 2019-07-22 191347

* Class E เป็นกองทุนที่ทางบลจ.ไทยพาณิชย์กำหนดให้ซื้อผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตหรือดิจิตัลเท่านั้น โดยจะยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมบริหารจัดการ แต่จะมีเงื่อนไขว่าห้ามซื้อกองทุนพวกนี้เกิน 1 ล้านบาท หรือลงทุนไปแล้ว ถ้ามูลค่าเงินลงทุนของเงินกองทุน Class E ทุกกองที่ลงทุนไปเติบโตไปเกิน 1 ล้านบาท ก็จะซื้อเพิ่มอีกไม่ได้ รายละเอียดโปรดดูที่เว็บไซต์ของทาง บลจ.ไทยพาณิชย์ เองนะครับ

จากรูปข้างบนนั้นก็จะเห็นได้ว่า กองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุด ณ ปัจจุบัน คือ พวกกองทุน Class E ของบลจ.ไทยพาณิชย์ (0.10-011%) แต่ถ้าไม่นับ Class E ก็จะเป็นกองทุน K-SET50 (0.57%) ของค่ายบลจ.กสิกร

ส่วนหมวดกองทุนประหยัดภาษีนั้นต่ำสุดในหมวด LTF คือ KLTF50 (0.76%) ถ้าเป็นหมวด RMF ก็คือ SCBRMS50 (0.69%) ครับ

ต้องเข้าใจว่าต่อให้ต่ำสุดในหมวดนั้นแต่ถ้าค่าใช้จ่ายเกิน 1% ต่อปี กองทุนดัชนีกองนั้นก็จะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ครับ มันต้องรวมกันสองอย่างคือ เป็น “กองทุนดัชนี” และต้องมี “ค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด” 

* Class E เป็นกองทุนที่ทางบลจ.ไทยพาณิชย์กำหนดให้ซื้อผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตหรือดิจิตัลเท่านั้น โดยจะยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมบริหารจัดการ แต่จะมีเงื่อนไขว่าห้ามซื้อกองทุนพวกนี้เกิน 1 ล้านบาท หรือลงทุนไปแล้ว ถ้ามูลค่าเงินลงทุนของเงินกองทุน Class E ทุกกองที่ลงทุนไปเติบโตไปเกิน 1 ล้านบาท ก็จะซื้อเพิ่มอีกไม่ได้ รายละเอียดโปรดดูที่ เว็บไซต์ของทาง บลจ.ไทยพาณิชย์ เองนะครับ

ค่าใช้จ่ายที่ควรจะเป็นและความหวัง

ถามว่าค่าใช้จ่ายกองทุนดัชนีในบ้านเรานั้นต่ำหรือยัง คำตอบคือยังครับ ค่าเฉลี่ยจริง ๆ ค่าใช้จ่ายรวมไม่ควรเกิน 0.5% ควรจะต่ำกว่านี้ ลองดูกองทุนดัชนีของสหรัฐก็จะอยู่ที่ 0.1 – 0.3% ต่อปีครับ (ต่ำสุดเลยคือ 0.05%!) แต่ถามว่าค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของกองทุนดัชนีหุ้นไทย ต่ำ ๆ ก็อยู่ที่ 0.6 – 0.8% ต่อปี ก็ถือว่าน้อยกว่าเกือบ 2-3 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปหากลงทุนในกองทุนบริหารจัดการที่คัดเลือกหุ้นรายตัว (actively managed funds) ครับ

ค่าเฉลี่ยที่ผมเคยสำรวจนั้น กองทุนบริหารจัดการในไทยมีค่าใช้จ่ายหลักและค่าใช้จ่ายแฝงรวมกันประมาณ 1.75 – 2.50% ต่อปีเลยทีเดียว ระยะยาวส่วนต่างพวกนี้จะถ่างผลตอบแทนออกเยอะมากครับด้วยพลังแห่งดอกเบี้ยทบต้น

แล้วถามว่ากองทุนรวมในไทยที่เป็นกองทุนบริหารทำผลตอบแทนได้แย่กว่าดัชนีหรือตลาดหุ้นหรือไม่ โปรดลองอ่านบทความเหล่านี้ครับ มายาคติและการเสียเวลาดูผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนรวม และ ผลตอบแทนของหุ้นและตลาดหุ้น แล้วจะเห็นว่ากองทุนผู้ชนะตลาดหุ้นอย่างสม่ำเสมอนั้นมีน้อยจริง ๆ และผู้ชนะในวันนี้ก็อาจจะเป็นผู้แพ้ในวันหน้าได้

นอกจากนี้ นักลงทุนก็ไม่มีวิธีไหนทำนายได้ด้วยว่า กองทุนไหนจะเป็นที่หนึ่งในอีก 20-40 ปีข้างหน้า โดยปกติการเสียเวลามานั่งหากองทุนบริหารที่จะเป็นผู้ชนะ มักจะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ผลตอบแทนด้อยลงครับ

Searching for superior active funds is an inferior strategy.“— Richard A. Ferri

3. กองทุนดัชนีที่ลงทุนดัชนีหุ้นต่างประเทศ

มีกองทุนดัชนีอีกประเภทในไทยที่ส่วนตัวผมอยากเตือนให้นักลงทุนระวังคือ กองทุนรวมที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศ (Foreign Investment Fund – FIF) ไม่ว่าจะเป็น Fund of Funds หรือ Feeder Fund พวกนี้มีการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่แพงมาก และเก็บซ้ำซ้อนจนลดทอนผลตอบแทนที่นักลงทุนควรได้ จนอาจไม่คุ้มค่าในระยะยาวที่จะลงทุนครับ

ยกตัวอย่าง กองทุนที่ลงทุนในดัชนีหุ้นต่างประเทศ เช่น ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น นักลงทุนซื้อตอนแรกก็โดนค่าธรรมเนียมขาย (front-load) ไป 1.0 – 1.5% กองทุนพวกนี้เอาเงินท่านไปซื้อ ETF ซึ่งคิดค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 0.3 – 0.4% ต่อปี แล้วกองทุนในไทยยังเก็บค่าใช้จ่ายท่านซ้ำอีก เช่น บางเจ้าเก็บปีละ 1.0 – 1.5% ต่อปี สรุปแล้วปีแรกท่านก็เสียค่าใช้จ่ายไปรวมร่วม ๆ 2 – 3% พอถือไปเรื่อย ๆ ปีหลัง ๆ ก็เสียอีก 1.5 – 2.0% ต่อปี

ถ้าระยะยาวดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกทำผลตอบแทนได้ 10% ต่อปี ท่านก็จะโดยกินผลตอบแทนไปแล้วเกือบร้อยละ 20 ผ่านค่าใช้จ่ายที่เสียไปในแต่ละปี ส่วนตัวผมจึงแทบไม่แตะต้องกองทุนพวกนี้เลย ค่าใช้จ่ายที่แพงขนาดนี้ ระยะยาวย่อมลดทอนข้อดีที่จะได้จากการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนต่างประเทศครับ

อนึ่ง มีคำกล่าวว่า การกระจายความเสี่ยงโดยลงทุนสินทรัพย์ต่างประเทศประกอบในพอร์ตฟอลิโอถือเป็น free-lunch ในการลงทุน แต่ถ้าถูกคิดค่าใช้จ่ายแพงขนาดนี้นอกจากเราจะไม่มี free-lunch อาหารกลางวันให้กินแล้ว เรายังต้องจ่ายอาหารเช้าและเย็นให้กับอุตสาหกรรมกองทุนรวมด้วย

แล้วควรจะลงทุนอย่างไรดี?

จริง ๆ การลงทุนกองทุนดัชนีในไทยตอนนี้ เมื่อเริ่มจากหลักการว่าลงทุนระยะยาวเป็นประจำ สม่ำเสมอ ตามช่วงเวลาที่กำหนดเช่นทุกเดือน โดยที่กองทุนดัชนีนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด การลงทุนตามแนวทางข้างต้นในปัจจุบัน จึงควรจะลงทุนใน class e ของบลจ.ไทยพาณิชย์เป็นอันแรก จะกองทุน SETE หรือ SET50E ลงทุนให้ครบสิทธิที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทเสียก่อน เพราะจะได้ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายรวม ๆ ต่ำที่สุดแล้ว ราว ๆ 0.1-0.2% ที่เหลือเกินล้านค่อยไปลงทุนกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดกองอื่น ซึ่งจากตารางข้างบนก็คือ K-SET50

ผมว่าสิทธิ 1 ล้านนี่ เอาจริงคือไม่เลวเลยนะครับ โดยเฉพาะคนที่เริ่มลงทุนหรือคนที่จบใหม่เริ่มงาน สมมติเงินเดือน 15,000 คุณเก็บ 2,000 ปีละ 24,000 กว่าจะไปทะลุครบล้านนี่ก็ได้อีกหลายปี แม้กระทั่งคนที่ลงทุนอยู่แล้ว ในเมื่อคุณสามารถลงทุนใน 1 ล้าน class e ได้ด้วย เราก็ควรจะลงให้เต็มก่อน ค่อยไปที่อื่น เป็นหนึ่งล้านที่ทุกคนได้สิทธิฟรี ๆ กันหมด อยู่ที่จะลงทุนไม่ลง

ถ้าเรายึดตามหลักการกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ พวกตระกูล e class ของบลจ.นี้ ณ ตอนนี้คือให้สิทธิตามนี้จริง ๆ ในอนาคตถ้ามีบลจ.ไหนทำได้ดีกว่า เราก็ลงทุนไปตามนั้น สมมติบลจ.ที่มีกองทุนดัชนีตอนนี้ทำ e class ออกมาอีก เราอาจจะได้ e class รวมกันหลายบลจ. เพิ่มอีก 5 ล้าน (สมมติมี 5 บลจ. ออก e class) แบบนั้นก็อาจกระจายลงทุนไปบลจ.ละล้าน ไม่มีอะไรห้าม ขนาดเงินฝาก เรายังนั่งหาโปรดอกเบี้ยสูงเลย นี่พวกกองทุนรวมคือทางกลับกัน ค่าใช้จ่ายต่ำเป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้สูงขึ้นในระยะยาวอย่างหนึ่ง

เอาแค่ 1 ล้าน สมมติลงในกองทุนที่เลียนแบบดัชนี SET Index สมมติผลตอบแทนระยะยาวทบต้น 30 ปีข้างหน้าคือ 9% ต่อปี คุณลงกองทุนดัชนี A ที่คิดค่าใช้จ่าย 0.1% ต่อปี ผลตอบแทนจะเหลือ 8.9% ต่อปี คุณลงกองทุนดัชนี B ค่าใช้จ่าย 0.6% ต่อปี ผลตอบแทนเหลือ 8.4% เงินหนึ่งล้านในกอง A จะเป็น 12.9 ล้าน กอง B จะเป็น 11.24 ล้าน ต่างกัน 1.6-1.7 ล้านบาท ถ้านานกว่านั้นตัวเลขก็จะถ่างออกไปมาก ๆ ครับ

ทวนกันอีกรอบ เราไม่ภักดีกับบลจ.ไหน เพราะเราจะลงทุนในบลจ.ที่มีกองทุนดัชนีที่ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด เพราะในแง่หนึ่ง เราถือว่าบลจ.ที่ออกกองทุนดัชนีค่าใช้จ่ายต่ำมาก ๆ นั้นปฏิบัติกับเรานักลงทุนอย่างเป็นธรรมและคำนึงถึงพวกเราเป็นสำคัญแล้ว แม้อาจจะไม่ที่สุด แต่การได้จุดเริ่มต้นระบบที่ 1 ล้านเท่านั้น ก็เป็นจุดเริ่มที่ดีครับ

ทั้งนี้ กองทุนคลาส e ที่ไม่เก็บค่าธรรมเนียมบริหารจัดการยังรวมไปถึงกองทุนดัชนีต่างประเทศด้วย เพราะฉะนั้น กองทุนดัชนีหุ้นต่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำแบบนี้ก็เพิ่มความน่าสนใจสำหรับการลงทุนพวกกองทุนดัชนีที่ไปลงทุนในกองทุนดัชนีต่างประเทศ ที่กองแม่ในตปท.ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายไม่เยอะด้วย อย่างกอง SCBS&P500 ที่ค่าใช้จ่ายกอง class e ในไทยมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 0.1% กว่า และไปลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ SPDR S&P 500 ETF Trust ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่อปีราว 0.1% ค่าใช้จ่ายรวมจึงตกอยู่ราว ๆ 0.2%+ ก็ใช้ได้อยู่ครับ ไม่เหมือนกับกองทุนแบบไม่ class e ที่ค่าใช้จ่ายรวมสูงกว่า 1.2%

โปรดอย่าลืมว่า…

อะไรที่คุณไม่จ่ายออกไปในการลงทุน ในด้านหนึ่งมันก็คือผลตอบแทนที่คุณได้รับ ยิ่งคุณจ่ายค่าใช้จ่ายมากเท่าไหร่ในการลงทุนโดยเฉพาะการลงทุนกองทุนรวม ผลตอบแทนที่คุณจะได้รับก็จะน้อยลงไป

“The Fact is that the reverse is true : the more you pay, the less your earn.” — John C. Bogle[1. John C. Bogle, Bogle On Mutual Funds: New Perspectives For The Intelligent Investor (Hoboken: Wiley, 2014), 208.]

ตรวจสอบค่าใช้จ่ายรวมทุกอย่างให้ดีก่อนที่จะลงทุนในอะไรก็ตามครับ เพราะโดยทั่วไปแล้วนั้น ค่าใช้จ่ายที่ต่ำย่อมนำไปสู่ผลตอบแทนที่สูงขึ้นสำหรับนักลงทุน

“Other things equal, lower costs mean higher returns.” — John C. Bogle[1. ibid., 253]

อยากให้อ่านบทความนี้ต่อครับ 

I. DCA กับคำแนะนำของกูรู

II. ความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับผลตอบแทนหุ้นและตลาดหุ้น

III. ความเชื่อเกี่ยวกับผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน 

—♦ ข้อมูลอ้างอิงค่าใช้จ่ายของกองทุนรวมดัชนี จัดทำ ณ วันที่ 22/07/2562

Annotation 2019-07-22 191453

กองทุนดัชนี คืออะไร

กองทุนดัชนี (Index Funds) ก็คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นดัชนี หรือพูดอีกอย่าง มันก็คือกองทุนที่ลงทุนโดยพยายามเลียนแบบให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีที่มันลงทุนตามครับ ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จะมีการจัดทำดัชนีที่เรียกว่า SET50 Index (หุ้น 50 ตัวที่ใหญ่ที่สุดของตลาดโดยมีเงื่อนไขอื่นอีกนิดหน่อย) ถ้ากองทุนนั้นมีนโยบายลงทุนโดยเลียนแบบ SET50 เพื่อที่จะให้ผลตอบแทนเท่ากับดัชนีนี้ กองทุนก็จะต้องลงทุนในหลักทรัพย์ที่ถูกนำมาคำนวณดัชนี ซึ่งกรณีปกตินั้นก็จะต้องลงทุนในหุ้น 50 ตัวดังกล่าว ดังนั้นไม่ว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวอย่างไร หุ้นตกหุ้นขึ้น โดยปกติกองทุนเหล่านี้ก็จะต้องเคลื่อนไหวไปตามนั้นด้วย กำไรขาดทุนเหมือนกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์สูงสุดคือ เลียนแบบผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีมากที่สุด พวกมันจึงจะต้องลงทุนตลอดเวลาเต็มอัตรา (Fully Invested) แต่เรื่องจริงก็อาจจะต้องถือเงินสดนิดหน่อยไว้สำหรับคืนเงินให้คนที่ขายกองทุนครับ เราจะเห็นว่ากลยุทธ์ลงทุนของกองทุนดัชนีนั้น “เรียบง่าย” กองทุนจะทำการซื้อหลักทรัพย์(เช่น หุ้น)ที่ประกอบเป็นดัชนีแล้วก็ถือลงทุนไปเรื่อยๆ—Simply buy and hold the securities in a particular index

กองทุนดัชนีนั้นไม่ได้มีแค่กองทุนที่ลงทุนในดัชนีหุ้นนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ประเภทใด ถ้ามันมีดัชนีที่สามารถลงทุนตามได้ กองทุนดัชนีก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นนอกจากกองทุนหุ้นแล้ว ก็จะมีกองทุนดัชนีตราสารหนี้, กองทุนดัชนีอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ แต่ที่ฮิตสุดคือกองทุนดัชนีหุ้นครับ ที่ดังๆระดับโลก ก็เช่น กองทุนดัชนี S&P500 Index ของสหรัฐ, กองทุนดัชนี Nikkei225 ของญี่ปุ่น, หรือกองทุนดัชนี Euro Stoxx600 ของยุโรป เป็นต้น

กองทุนดัชนีนั้นจะไม่มีการพยายามทำผลตอบแทนให้เกินดัชนีที่มันเลียนแบบ ไม่มีการพยายามหาหลักทรัพย์ที่ชนะในอนาคต ดัชนีประกอบด้วยหุ้นอะไรก็จะต้องซื้อและถือไปตามนั้น มันจะต้องมั่นคงในนโยบาย และเพราะเหตุนี้มันไม่ต้องจ้างนักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุนเป็นโหลๆมานั่งวิเคราะห์ให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาด ดังนั้น ค่าใช้จ่ายของกองทุนดัชนีจึง ต่ำกว่า กองทุนที่จ้างผู้จัดการกองทุนมาหาผลตอบแทนให้ได้สูงกว่าดัชนีชี้วัด (Actively Managed or Active Funds) และเพราะเหตุนี้ในเมื่อมันพยายามเลียนแบบดัชนี ผลตอบแทนรวมที่มันจะได้ก็จะต้องเท่ากับดัชนีดังกล่าวเป็นผลตอบแทนขั้นต้น (Gross Return) แต่ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้จริงๆจะต้องหัก ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม เหลือเป็นผลตอบแทนสุทธิ (Net Return) ดังนั้นวิธีเลือกกองทุนดัชนีที่ลงทุนในดัชนีเดียวกัน ถ้าทุกอย่างเหมือนกันหมด ตัวเดียวที่จะทำให้ผลตอบแทนคุณหายไปคือค่าใช้จ่าย ดังนั้นจงเลือก กองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด (Lowest-cost) เพราะฉะนั้นเวลาลงทุนคุณต้องเอาไป 2 อย่าง คือ กองทุนดัชนี และกองทุนดัชนีนั้นต้องมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดด้วย



ข้อดีของกองทุนดัชนี

(1) ค่าใช้จ่าย—Costs

นี่คือข้อดีที่สำคัญที่สุดและเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมสุดๆในการลงทุน คือ โดยปกตินั้นกองทุนดัชนีจะมี “ค่าใช้จ่ายรวม” ที่ถูกและต่ำกว่ากองทุนแบบบริหารทั้งหลาย และในวงการลงทุนนั้น เพียงแค่คุณไม่ต้องจ่ายเพิ่ม เงินที่ประหยัดได้ก็คือผลตอบแทนที่คุณจะได้รับ ในการลงทุนนั้นการไม่จ่ายออกไปคือการได้รับกลับมาครับ คุณอย่าไปเชื่อการกล่าวอ้างของกองทุนรวมที่คิดค่าใช้จ่ายแพงๆ ยิ่งค่าใช้จ่ายเยอะเท่าไหร่ มันยิ่งกลืนกินผลตอบแทนที่คุณจะได้รับในอนาคต  ในวงการลงทุนนั้น Cost is Matter สิ่งที่ส่งผลกระทบมากอันดับต้นๆต่อผลตอบแทนที่คุณจะได้คือ “ค่าใช้จ่าย” ครับ

อ่านเพิ่มเติมเรื่องค่าใช้จ่าย — ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม, ผลกระทบจากค่าใช้จ่าย

(2) ผลตอบแทน—Returns

เนื่องจากกองทุนพยายามเลียนแบบดัชนีชี้วัด เพราะฉะนั้นในระยะยาวผลตอบแทนคุณก็ควรจะใกล้เคียงผลตอบแทนของดัชนีดังกล่าวครับ เช่น กองทุนที่เลียนแบบดัชนีตลาดหุ้นไทย ก็ควรจะได้ผลตอบแทนระยะยาวเท่ากับตลาดหุ้นไทย(ซึ่งจะมาจากส่วนต่างราคาและเงินปันผลทบต้น) แต่คุณอาจจะได้น้อยกว่าเพราะดัชนีนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายแต่กองทุนนั้นมี แต่เชื่อไหมครับระยะยาวนั้นผลตอบแทนของดัชนีกลับสูงกว่าผลตอบแทนของกองทุนบริหารหรือแม้กระทั่งผลตอบแทนของนักลงทุนที่ลงทุนเอง ยิ่งระยะเวลานานเท่าไหร่ยิ่งมีกองทุนรวมแบบบริหารน้อยมากที่จะทำผลตอบแทนได้มากกว่ากองทุนดัชนีและมากกว่าอย่างสม่ำเสมอ ผลตอบแทนของกองทุนดัชนีจึงไม่ใช่ผลตอบแทนของค่าเฉลี่ยแต่กลายเป็นผลตอบแทนที่มากกว่านักลงทุนส่วนใหญ่ของตลาดหุ้นไม่ว่าจะรายย่อยหรือสถาบัน และคุณยังได้ผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนีอย่างมาก เนื่องจากอย่างที่บอก ว่าปกติกองทุนดัชนีจะลงทุนเต็มอัตราจึงไม่มีผลตอบแทนที่หายไปจากการถือเงินสดไว้ (no cash-drag) ในขณะที่กองทุนแบบบริหารพยายามที่จะจับจังหวะลงทุน พวกเขาจึงต้องถือเงินสดไว้บางส่วนตลอดเวลา ในระยะยาวผลตอบแทนก็จะลดน้อยลงไปอีกจากต้นทุนการถือเงินสด ซึ่งแทบจะไม่มีผลตอบแทนหรือผลตอบแทนน้อยกว่าการถือหุ้น(หรือหลักทรัพย์)อย่างมาก

(3) ความเสี่ยง—Risks

กองทุนดัชนีเป็นกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างดี (well-diversified) เนื่องจากปกติดัชนีจะประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนมาก ทำให้กองทุนลงทุนในหลักทรัพย์หลายตัว เช่น อาจจะลงทุนในหุ้น 50-100 ตัว ความเสี่ยงจึงถูกกระจายออกไป ความเสี่ยงเดียวที่จะเหลืออยู่คือความเสี่ยงที่เท่ากับตลาด นั่นคือถ้าดัชนีตกลงมา กองทุนดัชนีของคุณก็จะขาดทุนตามนั้น แต่ความเสี่ยงประเภทถือหลักทรัพย์หรือหุ้นไม่กี่ตัวแล้วมันมีปัญหาจนกระทบเงินทั้งหมดอย่างหนักจะไม่เกิดขึ้นเพราะแต่ละตัวจะมีน้ำหนักลงทุนไม่มากเมื่อเทียบกับทั้งพอร์ตกองทุนรวม

ความเสี่ยงอีกอย่างที่กองทุนดัชนีกำจัดทิ้งได้ คือ Management-Risk จะไม่มีการเปลี่ยนนโยบายลงทุน เปลี่ยนผู้จัดการกองทุน หรือฝีมือของกองทุนหดหายลงด้วยสาเหตุใด เพราะกองทุนดัชนีมีโนบายลงทุนคงที่ตลอดเวลา (consistent strategy) มันต้องเลียนแบบดัชนีไปเรื่อยๆครับ หมดปัญหาความเสี่ยงว่าวันดีคืนดีกองทุนจะเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์อื่นลงทุนหรือความไม่เสถียรจากฝีมือใดๆ

อ่านเพิ่มเติมเรื่องความเสี่ยง — ความเสี่ยง (risks)

(4) เวลา—Time

อันนี้เป็นการผสานกันของข้อดีข้างบนจนได้ตัวนี้ครับ เนื่องจากกองทุนดัชนีมีค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำทำให้ผลตอบแทนในอนาคตหลังหักค่าใช้จ่ายจะใกล้เคียงกับผลตอบแทนตลาดหุ้น และจากงานวิจัยจำนวนมาก ก็พบว่าผลตอบแทนของพวกมันมากกว่ากองทุนแบบบริหารทั้งหลาย อีกทั้งนโยบายการลงทุนก็คงที่ ทำให้มันเหมาะอย่างมากที่จะลงทุนระยะยาวโดยได้รับผลตอบแทนทบต้นตามที่ควรจะเป็นของสินทรัพย์ดังกล่าว คุณจึงสามารถใช้มันเป็นเครื่องมือในการลงทุนเป็นแกนหลักของพอร์ตลงทุนระยะยาว (Core; Long-Term investment)

เนื่องจากมันเลียนแบบดัชนี คุณจึงไม่มีภาระหน้าที่หรือต้องใช้เวลามากมานั่งติดตามว่ากองทุนจะลงทุนอะไร กองทุนจะไปทำอะไรแปลกๆหรือเปล่า อีกทั้งการติดตามก็ทำได้ง่าย เพราะมันเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด ถ้าสมมติตลาดหุ้นตกหนัก คุณอนุมานได้เลยว่ากองทุนของคุณต้องตกลงมาพอกัน ก็สามารถลงทุนเพิ่มได้ และรูปแบบของกองทุนดัชนีก็เป็นการลงทุนที่ “เรียบง่าย” คุณจึงสามารถนำเวลาอันมีค่าไปทำอย่างอื่นที่สำคัญในชีวิตได้โดยไม่ต้องมานั่งติดตามอะไรมันมาก แค่ทำตามวินัยและอดทนตามแผนลงทุนที่กำหนดไว้พอ

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ คุณสามารถจัดพอร์ตลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยใช้กองทุนดัชนีกับทุกสินทรัพย์ที่เราลงทุน เช่น กองทุนดัชนีหุ้น, กองทุนดัชนีตราสารหนี้ โดยไม่ต้องมีความเสี่ยงจากการหักเหผลตอบแทน(เพราะไม่ใช่กองทุนบริหารที่ต้องขึ้นอยู่กับฝีมือ) ดังนั้นคุณสามารถสร้างตะกร้าลงทุนที่ได้ผลตอบแทนแท้ๆ(รวมถึงความเสี่ยงด้วย) จากการผสมกันของทรัพย์สินต่างๆอย่างใกล้เคียงที่สุดครับ


ข้อเสียของกองทุนดัชนี

กองทุนดัชนีมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย ข้อด้อยครับ คือ อย่างแรก “มันน่าเบื่อ” คุณจะไปพูดคุยความหวือหวาไม่ได้เลย เพราะมันก็เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของผลตอบแทนหุ้นครับ, ไม่มีการลงทุนร้อนแรง (แต่ระยะยาวพวกนี้กลับเป็นข้อดีนะครับ) และคุณจะไม่สามารถอ้างได้ว่าได้ถือกองทุนที่ผลตอบแทนดีเยี่ยมที่สุด เพราะทุกช่วงเวลาจะมีกองทุนร้อนแรงหรือกองทุนดาวรุ่งที่ทำผลตอบแทนได้มากกว่ากองทุนดัชนีอยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติครับ แต่การจะหาว่าใครจะชนะกองทุนดัชนีในอีก 20-40 ปีข้างหน้า คุณจะตอบไม่ได้เลย มันจึงเป็นความฉูดฉาดในช่วงเวลาสั้นๆ เพราะในโลกของกองทุนรวมนั้นการพยายามหากองทุนที่ทำผลตอบแทนได้สูงสุดมักจะนำไปสู่ผลตอบแทนต่ำๆในอนาคตครับ (Searching for superior active funds is an inferior strategy.—Richard A. Ferri)

ข้อเสียต่อมาคือ เนื่องจากมันถือสินทรัพย์ตลอดเวลา เวลาดัชนีดังกล่าวตกหรือร่วงแรงมันก็จะตกลงมาด้วยพอๆกัน จึงไม่เหมือนกองทุนแบบบริหารที่อาจจะถือเงินสดลดแรงกระแทกได้ แต่จะบอกว่าในระยะยาวกลยุทธ์ถือเงินสดของกองทุนดังว่านั้นไม่สามารถสร้างผลตอบแทนสูงๆในระยะยาวได้หรอกครับ เพราะพวกเขามักจะจับจังหวะช้าไปหนึ่งจังหวะ มันเหมือนการทอยเหรียญ คุณต้องถือเงินสดคือทายถูกว่าตลาดหุ้นจะร่วงไปอีก และคุณต้องทายถูกอีกรอบว่าคุณจะต้องกลับมาซื้อตอนไหน เพราะถ้าตลาดฟื้นขึ้นมา แล้วกองทุนบริหารไม่มีหุ้น ผลตอบแทนก็จะถูกหักล้างและน้อยลงไปเอง (ซึ่งจากงานวิจัยในต่างประเทศรวมถึงจากในอดีตของไทย ปกติพวกเขาก็เป็นแบบนั้นอยู่แล้ว)


สำหรับนักลงทุนทั่วไปนั้น กองทุนดัชนีค่อนข้างเป็นตัวเลือกที่ดีลำดับต้นๆในการลงทุนแล้วครับ Warren Buffett ซึ่งเป็นนักลงทุนเอกคนหนึ่งของโลกได้แนะนำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ระยะยาวการลงทุนในกองทุนประเภทนี้จะทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนมากกว่านักลงทุนทั่วไปไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อยด้วยกันหรือแม้กระทั่งมากกว่านักลงทุนสถาบันผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายครับ

“Let me add a few thoughts about your own investments. Most investors, both institutional and individual, will find that the best way to own common stocks is through an index fund that charges minimal fees. Those following this path are sure to beat the net results (after fees and expenses) delivered by the great majority of investment professionals.” — Buffett, 1996 letter to shareholders


บทความอ่านประกอบเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง

Index Funds 101 – กองทุนดัชนี คืออะไร?

กองทุนดัชนี (Index Funds)

กองทุนดัชนี คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นดัชนี หรือพูดอีกอย่าง มันก็คือกองทุนที่ลงทุนโดยพยายามเลียนแบบให้ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีที่มันลงทุนตามครับ

ยกตัวอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จะมีการจัดทำดัชนีที่เรียกว่า SET50 Index (หุ้น 50 ตัวที่ใหญ่ที่สุดของตลาดโดยมีเงื่อนไขอื่นอีกนิดหน่อย) ถ้ากองทุนนั้นมีนโยบายลงทุนโดยเลียนแบบ SET50 เพื่อที่จะให้ผลตอบแทนเท่ากับดัชนีนี้ กองทุนก็จะต้องลงทุนในหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกนำมาคำนวณดัชนี ซึ่งกรณีปกตินั้นก็จะต้องลงทุนในหุ้น 50 ตัวดังกล่าวที่ประกอบขึ้นเป็นดัชนีเรียงไปตามน้ำหนักของมูลค่าหลักทรัพย์ Market Cap เพราะดัชนี SET50 เป็นดัชนีแบบถ่วงน้ำหนักตามมูลค่าตลาดของหลักทรัพย์ที่เรียกว่า Market cap-weighted Index

ดังนั้น ไม่ว่าดัชนีจะเคลื่อนไหวอย่างไร หุ้นตกหุ้นขึ้น โดยปกติกองทุนดัชนีเหล่านี้ก็จะต้องเคลื่อนไหวไปตามนั้นด้วย กำไรขาดทุนที่ได้รับจะต้องเหมือนกัน เนื่องจากวัตถุประสงค์สูงสุด คือ เลียนแบบผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีมากที่สุด พวกมันจึงจะต้องลงทุนตลอดเวลาเต็มอัตรา (Fully Invested) 100%[1. Richard A. Ferri, All About Index Funds: The Easy Way to Get Started, 2nd ed. (New York: McGraw-Hill, 2007), 17.] แต่ในสภาพความเป็นจริงก็อาจจะต้องถือเงินสดนิดหน่อยไว้สำหรับคืนเงินให้คนที่ขายกองทุนครับ

เราจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ลงทุนของกองทุนดัชนีนั้น “เรียบง่าย” กองทุนจะทำการซื้อหลักทรัพย์ เช่น หุ้น ที่ประกอบเป็นดัชนีแล้วก็ถือลงทุนไปเรื่อย ๆ (simply buy and hold the securities in a particular index)

1. ประเภทดัชนีที่ Index funds ลงทุน

กองทุนดัชนีนั้นไม่ได้มีแค่กองทุนที่ลงทุนในดัชนีหุ้นนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ประเภทใด ถ้ามันมีดัชนีที่สามารถลงทุนตามได้ กองทุนดัชนีก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นนอกจากกองทุนหุ้นแล้ว ก็จะมีกองทุนดัชนีตราสารหนี้ กองทุนดัชนีอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ แต่ที่ฮิตสุดก็คือกองทุนดัชนีหุ้นครับ ที่ดัง ๆ ระดับโลกก็เช่น กองทุนดัชนี S&P500 Index ของสหรัฐ กองทุนดัชนี Nikkei225 ของญี่ปุ่น

กองทุนดัชนีนั้นจะไม่มีการพยายามทำผลตอบแทนให้เกินดัชนีที่มันเลียนแบบ ไม่มีการพยายามหาหลักทรัพย์ที่ชนะในอนาคต ดัชนีประกอบด้วยหุ้นอะไรก็จะต้องซื้อหลักทรัพย์หรือหุ้นตามดัชนีและถือครองตลอดเวลาไปตามนั้น มันจะต้องมั่นคงในนโยบายลงทุนเลียนแบบและกำจัดความคิดที่จะชนะตลาดหรือดัชนีไปซะ

เพราะเหตุนี้กองทุนดัชนีจึงไม่ต้องจ้างนักวิเคราะห์หรือผู้จัดการกองทุนเป็นโหล ๆ มานั่งวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกหุ้นหรือพยายามหาวิธีทำผลตอบแทนให้ได้ผลตอบแทนมากกว่าตลาดหรือดัชนี ดังนั้น ค่าใช้จ่ายของกองทุนดัชนีจึง ต่ำกว่า กองทุนที่จ้างผู้จัดการกองทุนมาคัดเลือกหลักทรัพย์หรือหุ้นเพื่อให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีชี้วัด (Actively Managed Funds)

และในเมื่อกองทุนดัชนีมันพยายามเลียนแบบดัชนี ผลตอบแทนรวมที่มันจะได้รับก็จะต้องเท่ากับดัชนีดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนขั้นต้น (Gross Returns) หากแต่ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจริง ๆ จากการลงทุนจะต้องหัก ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม ออกไป เหลือเท่าไหร่ก็จะเป็นผลตอบแทนสุทธิ (Net Returns) ที่นักลงทุนได้รับเข้ากระเป๋าจริง ๆ

ดังนั้น วิธีเลือกกองทุนดัชนีที่ลงทุนในดัชนีเดียวกัน ถ้าทุกอย่างเหมือนกันหมด ตัวเดียวที่จะทำให้ผลตอบแทนคุณหายไป คือ ค่าใช้จ่าย! นักลงทุนที่ชาญฉลาดจึงควรที่จะต้องเลือก กองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด (Lowest-cost)

เพราะฉะนั้นสำคัญมาก เวลาลงทุนกองทุนดัชนี เราจะต้องเอาหลักการสำคัญที่เป็นหัวใจไปทั้ง 2 อย่าง คือ การลงทุนในกองทุนดัชนี และกองทุนดัชนีที่ลงทุนนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดด้วย

2. ประโยชน์ของ Index funds 

I. ค่าใช้จ่าย—Costs

นี่คือข้อดีที่สำคัญที่สุดและเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมสุด ๆ ในการลงทุน คือ โดยปกตินั้น กองทุนดัชนีจะมี “ค่าใช้จ่ายรวม” (total expenses or costs) ที่ถูกและต่ำกว่ากองทุนแบบบริหารจัดการทั้งหลาย ทำให้โดยปกติในระยะยาวกองทุนดัชนีสามารถทำผลตอบแทนได้เหนือกว่าผลตอบแทนของกองทุนแบบบริหารคัดเลือกหุ้นที่พยายามจะเอาชนะตลาดหรือดัชนีชี้วัด[1. ibid., 24.]

และในวงการลงทุนนั้น เพียงแค่คุณไม่ต้องจ่ายเพิ่ม เงินที่ประหยัดได้ก็คือผลตอบแทนที่คุณจะได้รับ เพราะในการลงทุนย่อมต้องถือว่า การไม่จ่ายออกไปคือการได้รับกลับมาครับ

คุณอย่าไปเชื่อการกล่าวอ้างของกองทุนรวมที่คิดค่าใช้จ่ายแพง ๆ ยิ่งค่าใช้จ่ายเยอะเท่าไหร่ มันยิ่งกลืนกินผลตอบแทนที่คุณจะได้รับในอนาคต เนื่องจากว่าสิ่งที่ส่งผลกระทบมากอันดับต้น ๆ ต่อผลตอบแทนที่คุณจะได้คือ “ค่าใช้จ่าย” ครับ (Cost is matter!!)

ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจะประสบความสำเร็จในการลงทุนหรือจะล้มเหลวในการลงทุน รวมไปถึงผลตอบแทนในอนาคตที่นักลงทุนจะได้รับนั้นจะเป็นผลตอบแทนที่ดีหรือผลตอบแทนที่แย่และเลวร้าย ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญมากนั่นก็คือ ค่าใช้จ่าย (costs)[1. John C. Bogle, The LiIttle Book of Common Sense Investing: The Only Way to Guarantee Your Fair Share of Stock Market Returns (Hoboken: Wiley, 2007), 45.]

อ่านเพิ่มเติมเรื่องค่าใช้จ่าย — ค่าใช้จ่ายของกองทุนรวม และ ผลกระทบจากค่าใช้จ่าย

II. ผลตอบแทน—Returns

เนื่องจากกองทุนพยายามเลียนแบบดัชนีชี้วัด เพราะฉะนั้นในระยะยาว ผลตอบแทนนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนดัชนีก็ควรจะใกล้เคียงผลตอบแทนของดัชนีดังกล่าวครับ เช่น กองทุนที่เลียนแบบดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET) ก็ควรจะได้ผลตอบแทนระยะยาวเท่ากับผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นไทย (ซึ่งจะมาจากส่วนต่างราคาและเงินปันผลทบต้น) แต่คุณจะได้รับผลตอบแทนน้อยกว่าเพราะตัวดัชนีนั้นไม่มีค่าใช้จ่ายแต่กองทุนนั้นมี ซึ่งช่องว่างส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิงกับกองทุนดัชนีจะถูกเรียกว่า “Tracking Error”[1. Ferri, All About Index Funds, 17.]

แต่เชื่อไหมครับระยะยาวนั้นผลตอบแทนของดัชนีและกองทุนดัชนีกลับสูงกว่าผลตอบแทนของกองทุนบริหารจัดการ (actively managed funds or active funds)[1. ibid., 23.] หรือแม้กระทั่งผลตอบแทนของนักลงทุนที่ลงทุนเอง ยิ่งระยะเวลานานเท่าไหร่ยิ่งมีกองทุนรวมแบบบริหารจัดการคัดเลือกหุ้นน้อยมาก ๆ ที่จะทำผลตอบแทนได้มากกว่ากองทุนดัชนี และยิ่งน้อยลงเข้าไปอีกสำหรับกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้มากกว่าดัชนีและทำได้มากกว่าอย่างสม่ำเสมอ

ความน่าจะเป็นของโอกาสที่จะมีผลตอบแทนในอนาคตสูงจึงอาจเรียงลำดับผลตอบแทนที่สูงไปหาต่ำได้ว่า ผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้น > ผลตอบแทนของกองทุนดัชนีที่เลียนแบบตลาดหุ้นที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ > ผลตอบแทนของนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมแบบบริหารจัดการ (โดยเฉพาะที่มีค่าใช้จ่ายสูง ๆ) และ ผลตอบแทนของนักลงทุนที่ลงทุนคัดเลือกหุ้นเอง (ส่วนใหญ่)

แม้ผลตอบแทนของกองทุนดัชนีจะไม่ใช่ผลตอบแทนที่สูงที่สุด เป็นแค่เพียงผลตอบแทนของค่าเฉลี่ยหรือผลตอบแทนของตลาดหุ้น (ที่ลดลงมาเพราะหักค่าใช้จ่ายบางส่วน) แต่กลับกลายเป็นว่า ผลตอบแทนของกองทุนดัชนีเหล่านี้กลับมากกว่าผลตอบแทนของนักลงทุนส่วนใหญ่ของตลาดหุ้นไม่ว่าจะนักลงทุนรายย่อยหรือสถาบัน

และนอกจากนี้ ปกติแล้วกองทุนดัชนีจะลงทุนเต็มอัตรา (fully invested) จึงไม่มีผลตอบแทนที่หายไปจากการถือเงินสดไว้ (no cash-drag) เหมือนดังกองทุนบริหารจัดการทั้งหลายและนักลงทุนส่วนใหญ่ที่พยายามจับจังหวะลงทุนถือเงินสดไว้ในมือ

ในขณะที่กองทุนแบบบริหารจัดการพยายามที่จะจับจังหวะลงทุน พวกเขาจึงต้องถือเงินสดไว้บางส่วนตลอดเวลา กองทุนบริหารในระยะยาวจึงมีผลตอบแทนที่ลดน้อยลงไปอีกจากต้นทุนการถือเงินสด เพราะเงินสดแทบจะไม่มีผลตอบแทนหรือผลตอบแทนน้อยกว่าการถือหุ้น(หรือหลักทรัพย์อื่น)อย่างมาก และพวกเขามักจะทำผิดพลาดเสมอ ชอบที่จะมีเงินสดไว้ในมือเยอะ ๆ ตอนที่หุ้นมีราคาถูกและไม่ยอมซื้อหุ้น ซึ่งในทางกลับกัน กองทุนพวกนี้จะมีหุ้นเยอะเต็มพอร์ตตอนที่หุ้นอยู่ในจุดกำลังจะถล่ม[1. Burton G. Malkiel and Charles D. Ellis, The Elements of Investing: Easy Lessons for Every Investor, updated ed. (Hoboken: Wiley, 2013), 33.]

III. ความเสี่ยง—Risks

กองทุนดัชนีเป็นกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างดี (well-diversified) เนื่องจากปกติดัชนีจะประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนมาก ทำให้กองทุนลงทุนในหลักทรัพย์หลายตัว เช่น ดัชนี SET50 หรือ SET100 อาจจะลงทุนในหุ้น 50-100 ตัว ความเสี่ยงจึงถูกกระจายออกไป ความเสี่ยงเดียวที่จะเหลืออยู่คือความเสี่ยงที่เท่ากับตลาด (market risk or systematic risk) นั่นคือ ถ้าดัชนีตกลงมา กองทุนดัชนีของคุณก็จะตกลงมาพอกันและขาดทุนตามนั้น เนื่องจากการกระจายความเสี่ยงของหุ้นไม่ได้ปกป้องคุณจากการที่ตลาดหุ้นตก การขาดทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือจากความผันผวนขึ้นลงของตลาดหุ้นในระยะสั้นแต่อย่างใด

หากแต่ความเสี่ยงประเภทถือหลักทรัพย์หรือหุ้นไม่กี่ตัวแล้วมันมีปัญหาจนกระทบเงินทั้งหมดอย่างหนักจะไม่เกิดขึ้นสำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุนดัชนี ซึ่งความเสี่ยงประเภทนี้เป็นความเสี่ยงที่ไม่ใช่ความเสี่ยงระดับตลาด (non-market risk or unsystematic risk) นักลงทุนที่คัดเลือกหุ้นลงทุนเอง หรือถือกองทุนรวมที่เป็นแบบบริหารจัดการคัดเลือกหลักทรัพย์ จึงต้องแบกรับความเสี่ยงของหุ้นรายตัวหรืออุตสาหกรรมที่เน้นลงทุน เช่น ความเสี่ยงจากการบริหารจัดการของบริษัทไม่ดี ความเสี่ยงจากอุตสาหกรรมที่ซบเซา และความเสี่ยงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับการถือหุ้นไม่กี่ตัว หรือถือหุ้นไม่ครบทั้งตลาดเหมือนดัชนีที่กระจายฐานกว้าง (broad-based index)

การกระจายความเสี่ยงที่กองทุนดัชนีมอบให้จึงลดความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (unsystematic risk) ทิ้งไป เหลือไว้แต่ความเสี่ยงที่เป็นระบบหรือความเสี่ยงตลาดอย่างเดียว ซึ่งความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบที่ถูกกำจัดทิ้งโดยเฉพาะความเสี่ยงจากหุ้นรายตัว อันนักลงทุนที่ลงทุนหุ้นเองและผู้จัดการกองทุนจะต้องเผชิญว่า บริษัทที่พวกเขาซื้อหุ้นลงทุนจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เช่น ผลกระทบจากคดีความ ผลกระทบจากคณะกรรมการและผู้บริหารดำเนินงานผิดพลาด ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นความเสี่ยงที่สร้างความปวดหัวและจะต้องมานั่งเสียเวลาหาทางบริหารจัดการและวิเคราะห์มัน

ความเสี่ยงอีกอย่างที่กองทุนดัชนีกำจัดทิ้งได้ คือ Management Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงอันเนื่องมาจากนโยบายและวิธีการลงทุน ความเสี่ยงเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการกองทุน หรือความเสี่ยงที่ฝีมือของกองทุนหดหายหรือด้อยลงด้วยสาเหตุใดก็ตาม เพราะกองทุนดัชนีมีโนบายลงทุนคงที่ตลอดเวลา (consistent strategy) โดยมันต้องลงทุนเลียนแบบดัชนีไปเรื่อย ๆ จึงหมดปัญหาความเสี่ยงที่ว่า วันดีคืนดีกองทุนจะเปลี่ยนไปใช้กลยุทธ์อื่นลงทุน หรือความไม่เสถียรจากฝีมือใด ๆ ของผู้จัดการกองทุน หรือบางทีไม่ต้องภาวนาว่าดวงและโชคดีของผู้จัดการกองทุนจะยังมีตลอดไปในอนาคตหรือไม่

ด้วยเหตุนี้ กองทุนดัชนีที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างดีจึงกำจัดทิ้งทั้งความเสี่ยงในการเลือกหุ้นหรือหลักทรัพย์รายตัว ความเสี่ยงในการเลือกผู้จัดการกองทุน ความเสี่ยงในการเลือกสไตล์และวิธีลงทุน คงเหลือไว้ก็แต่ความเสี่ยงระดับตลาดหรือความเสี่ยงที่เป็นระบบ[1. Bogle, The LiIttle Book of Common Sense Investing, 211.] ซึ่งแค่ความเสี่ยงนี้อย่างเดียวก็หนักหนาและพอแล้วสำหรับการลงทุน

อ่านเพิ่มเติมเรื่องความเสี่ยง — ความเสี่ยง (risks)

IV. เวลา—Time

อันนี้เป็นการผสานกันของข้อดีข้างบนจนได้ตัวนี้ครับ เนื่องจากกองทุนดัชนีมีค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำทำให้ผลตอบแทนในอนาคตหลังหักค่าใช้จ่ายจะใกล้เคียงกับผลตอบแทนตลาดหุ้น และจากงานวิจัยจำนวนมากก็พบว่า ผลตอบแทนของพวกมันมากกว่ากองทุนแบบบริหารจัดการ (actively managed funds) ทั้งหลาย

อีกทั้งนโยบายการลงทุนก็คงที่ ทำให้มันเหมาะอย่างมากที่จะลงทุนระยะยาวโดยได้รับผลตอบแทนทบต้นตามที่ควรจะเป็นของสินทรัพย์ดังกล่าวที่มันหรือดัชนีเลียนแบบ คุณจึงสามารถใช้กองทุนดัชนีเป็นเครื่องมือในการลงทุนโดยยึดเป็นแกนหลักของพอร์ตลงทุนระยะยาวได้เลย (Core or Long-Term investment)

เนื่องจากกองทุนดัชนีมันเลียนแบบดัชนี คุณจึงไม่มีภาระหน้าที่หรือต้องใช้เวลามานั่งติดตามว่ากองทุนจะลงทุนอะไร กองทุนจะไปทำอะไรแปลก ๆ หรือเปล่า อีกทั้งการติดตามก็ทำได้ง่าย เพราะมันเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด ถ้าสมมติตลาดหุ้นตกหนัก คุณอนุมานได้เลยว่า กองทุนของคุณต้องตกลงมาพอกัน ซึ่งในบางครั้งที่ตลาดหุ้นตกหนักมากคุณอาจลงทุนเพิ่มเป็นพิเศษได้

และรูปแบบของกองทุนดัชนีก็เป็นการลงทุนที่ “เรียบง่าย” คุณจึงสามารถนำเวลาอันมีค่าไปทำอย่างอื่นที่สำคัญในชีวิตได้โดยไม่ต้องมานั่งติดตามอะไรมันมาก แค่ทำตามวินัยและอดทนตามแผนลงทุนที่กำหนดไว้พอ เหมือนที่ Warren Buffett เคยพูดอย่างเห็นภาพไว้ว่า ลงทุนประจำในกองทุนดัชนีที่มีต้นทุนต่ำ ไม่ลงทุนหนักครั้งเดียว ลงทุนไปเรื่อย ๆ ลืมมันไปซะแล้วก็กลับไปทำงาน (Forget it and go back to work.)

ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือ คุณสามารถจัดพอร์ตลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยใช้กองทุนดัชนีกับทุกสินทรัพย์ที่เราลงทุน เช่น กองทุนดัชนีหุ้น กองทุนดัชนีตราสารหนี้ โดยไม่ต้องมีความเสี่ยงจากการหักเหผลตอบแทน เพราะไม่ใช่กองทุนบริหารจัดการที่ต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้จัดการกองทุน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการลงทุนหุ้น 90% ตราสารหนี้ 10% คุณก็แค่ซื้อกองทุนดัชนีหุ้น 90% กองทุนดัชนีตราสารหนี้ 10% ในขณะที่กองทุนบริหารจัดการนั้น โดยปกติคุณจะต้องเผชิญกับการถือเงินสดจับจังหวะของผู้จัดการกองทุน นั่นเท่ากับว่า มีโอกาสที่สัดส่วนการลงทุนของคุณจะเพี้ยนได้ สมมติกองทุนถือเงินสด 10% สัดส่วนที่คุณลงทุนหุ้นจริงก็จะลดจาก 90% ของสินทรัพย์ในพอร์ตลงทุนของคุณ ลงมาเหลือเพียง 81% เท่านั้น กลายเป็นว่าคุณมีสัดส่วนเงินลงทุนในตราสารหนี้ขยับขึ้นเป็น 19% ไปซะงั้น ผลตอบแทนที่คาดหวังในอนาคตจึงไม่เป็นไปตามที่คุณตั้งใจและวางแผนไว้

ดังนั้น คุณสามารถสร้างตะกร้าลงทุนที่ได้ผลตอบแทนแท้ ๆ จากการผสมกันของทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างใกล้เคียงที่สุด โดยการลงทุนแต่ละสินทรัพย์นั้นในกองทุนดัชนีครับ

3. ข้อเสียของกองทุนดัชนี

กองทุนดัชนีมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียข้อด้อยครับ คือ อย่างแรก “มันน่าเบื่อ” คุณจะไปพูดคุยความหวือหวาไม่ได้เลย เพราะมันก็เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติของผลตอบแทนหุ้นครับ ไม่มีการลงทุนในหุ้นหรืออุตสาหกรรมร้อนแรง (แต่ระยะยาวพวกนี้กลับเป็นข้อดีนะครับ) และคุณจะไม่สามารถอ้างได้ว่า คุณได้ถือกองทุนที่ผลตอบแทนดีเยี่ยมที่สุด เพราะทุกช่วงเวลาจะมีกองทุนร้อนแรงหรือกองทุนดาวรุ่งที่ทำผลตอบแทนได้มากกว่ากองทุนดัชนีอยู่แล้ว มันเป็นเรื่องปกติครับ เสียเวลาที่จะมานั่งงมหา[1. Ferri, All About Index Funds, 37.] มองผ่านมันไปซะ

หากแต่อย่างไรก็ดี การจะหาว่าใครหรือกองทุนกองไหนจะชนะกองทุนดัชนีในอีก 20-40 ปีข้างหน้า คุณจะตอบไม่ได้เลย มันจึงเป็นความฉูดฉาดในช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะในโลกของกองทุนรวมนั้น การพยายามหากองทุนที่ทำผลตอบแทนได้สูงสุดมักจะนำไปสู่ผลตอบแทนต่ำเตี้ยเรี่ยดินในอนาคตครับ และการดูผลตอบแทนย้อนหลังก็ไม่ช่วยนักลงทุนทำนายอนาคตได้แต่อย่างใด

Searching for superior active funds is an inferior strategy. — Richard A. Ferri

ข้อเสียต่อมาคือ เนื่องจากมันต้องถือสินทรัพย์เต็มที่ตลอดเวลา เวลาดัชนีที่มันเลียนแบบ เช่น ดัชนีตลาดหุ้นตกหรือร่วงแรง กองทุนดัชนีก็จะตกลงมาด้วยพอ ๆ กัน จึงไม่เหมือนกองทุนแบบบริหารจัดการที่อาจจะถือเงินสดลดแรงกระแทกได้ แต่จะบอกว่าในระยะยาวกลยุทธ์ถือเงินสดของกองทุนบริหารจัดการดังว่านั้น ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนสูง ๆ ในระยะยาวได้หรอกครับ เพราะพวกเขามักจะจับจังหวะช้าไปหนึ่งจังหวะเสมอ การถือเงินสดจึงเป็นกลยุทธ์ด้อยของกองทุนแบบ Actively Managed Funds อย่างหนึ่ง

ในความเป็นจริง กองทุนรวมเหล่านี้มักจะถือเงินสดมากตอนที่ตลาดหุ้นตกหนักมาแล้วและถือเงินสดน้อยนิดตอนที่ตลาดหุ้นอยู่ยอดดอย เช่น ตอนก่อนปี 1973-1974 ซึ่งตลาดหุ้นกำลังจะถล่มหนัก กองทุนรวมโดยเฉลี่ยถือเงินสดแค่ 4% ของสินทรัพย์ (ถือหุ้น 96%) แต่ในทางตรงกันข้ามพอตลาดหุ้นตกมาหนักแล้วแทนที่กองทุนจะซื้อหุ้น กองทุนก็ถือเงินสดในสัดส่วน 12% ของสินทรัพย์แทน[1. John C. Bogle, Common Sense on Mutual Funds: New Imperatives for the Intelligent Investor, Fully Updated 10th Anniversary Edition ed. (Hoboken: Wiley, 2010), 173.]

สาเหตุก็เพราะการพยายามจับจังหวะลงทุน (Market Timing) มันเหมือนการทอยเหรียญ คุณต้องถือเงินสดในขั้นต้นคือทายถูกว่าตลาดหุ้นจะร่วงไปอีก และคุณต้องทายถูกอีกรอบว่าคุณจะต้องกลับมาซื้อตอนไหน เพราะถ้าตลาดฟื้นขึ้นมา แล้วกองทุนบริหารจัดการไม่มีหุ้น ผลตอบแทนก็จะถูกหักล้างจากการถือเงินสดและผลตอบแทนระยะยาวก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ ซึ่งจากงานวิจัยในต่างประเทศรวมถึงจากในอดีตของไทย ปกติพวกเขาก็จับจังหวะพลาดแบบนั้นกันเป็นปกติอยู่แล้ว

4. Index Funds : บทสรุป

ด้วยเหตุนี้ สำหรับนักลงทุนทั่วไป กองทุนดัชนีค่อนข้างเป็นตัวเลือกที่ดีลำดับต้น ๆ ในการลงทุนแล้วครับ Warren Buffett ซึ่งเป็นนักลงทุนเอกคนหนึ่งของโลกได้แนะนำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ เพราะระยะยาวแล้ว การลงทุนในกองทุนประเภทนี้ จะทำให้นักลงทุนได้ผลตอบแทนมากกว่านักลงทุนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายย่อยด้วยกัน หรือแม้กระทั่งมากกว่านักลงทุนสถาบันผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย 😍

“Let me add a few thoughts about your own investments. Most investors, both institutional and individual, will find that the best way to own common stocks is through an index fund that charges minimal fees. Those following this path are sure to beat the net results (after fees and expenses) delivered by the great majority of investment professionals.” — Warren Buffett from 1996 letter to shareholders

บทความอ่านประกอบเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจ

(1) ประวัติศาสตร์กองทุนดัชนี

(2) กองทุนดัชนีในไทย

(3) กองทุนดัชนี กับคำแนะนำของกูรู

(4) ข้อคิดจากรายงานผู้ถือหุ้นของ Buffett

(5) เชิงลึกเกี่ยวกับผลตอบแทนหุ้นและตลาดหุ้น

(6) การเลือกกองทุนจากผลตอบแทนย้อนหลัง