คลังเก็บป้ายกำกับ: LTF-RMF

เจาะลึก RMF หุ้นไทย ใครแพ้?

    RMF (Retirement Mutual Fund) หรือชื่อไทยก็คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ วัตถุประสงค์ของมันคือเกิดมาเพื่อส่งเสริมการออมสำหรับเป็นทุนไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ รัฐเลยจูงใจด้วยการให้สิทธิที่จะนำเอาเงินซื้อกองทุนชนิดนี้มาลดหย่อนภาษีได้ โดยมีข้อบังคับสำคัญคือ คุณจะต้องถือมันยาวจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์จึงจะขายได้ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ด้วยข้อบังคับที่ทำให้เราต้องถือมันไว้นานมาก ไม่สามารถขายได้ (จริงๆขายก่อนได้แต่เคลียร์กับสรรพากรเอง ฮ่าๆ) โดยปกติถ้าคุณลงทุนไวเช่นตั้งแต่อายุ 25 คุณจะมีเวลาถือมันถึง 30 ปี และเวลาที่นานขนาดนี้ ไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะทำให้เงินคุณโตได้มากเท่าหุ้นอีกแล้ว และหุ้นที่ถือนานสามสิบปีแทบไม่มีทางที่ผลตอบแทนจะติดลบเลย ดังนั้น คนอายุน้อยโปรดลงทุนในหุ้นเถิดจะเกิดผล

แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นอะไรบางอย่างเกี่ยวกับกอง RMF ที่ลงทุนในหุ้น คือ พอต้องลงทุนยาวมากๆ คนส่วนใหญ่ลงทุนแล้วก็ไม่ค่อยได้ยุ่งกับมัน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ซื้อกันมักจะเป็นกองทุนแบบบริหารคัดเลือกหุ้น (Actively Managed-funds) สิ่งที่สังเกตเห็นคือRMF หุ้นมักจะมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่อปีที่สูงมากกว่ากองหุ้นทั่วไป วันนี้ได้โอกาสผมเลยลองดึงข้อมูลมาดู พบว่า

1) กอง RMF หุ้นกองแรกจดทะเบียนขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2544 แล้วก็ค่อยๆทยอยออกกันมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีกองทุน RMF ที่ลงทุนในหุ้นประมาณ 30 กว่ากองทุน ในนี้เป็นกองทุนดัชนี (Index Funds) จำนวน 6 กองทุน ที่เหลือเป็นกองทุนแบบบริหารคัดเลือกหุ้น

2) ผมได้ทำการค้นค่าใช้จ่ายกองทุนรวมรายกอง โดยค่าใช้จ่ายที่ว่านี้จะประกอบด้วย
– ค่าใช้จ่ายรวม Total Expense Ratio (TER) ได้แก่ ค่าบริหารจัดการ ค่านายทะเบียน ฯลฯ
– ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ ค่า Commission ที่กองทุนเสียเวลาซื้อขายหุ้น
ผมขออนุญาตเรียกรวมกันว่า Real Expense โดยค่าใช้จ่าย TER จะถูกเก็บเป็นรายวันหักออกจากกองทุน ส่วนค่าคอมมิชชั่นนั้นยิ่งกองทุนซื้อขายเปลี่ยนหุ้นบ่อยเท่าไหร่ก็จะยิ่งเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้เยอะเท่านั้น ซึ่งกองทุนไหนที่เก็บ TER แพงแล้วยังเทรดหุ้นซื้อขายบ่อยอีก ไอ้ส่วนที่จ่ายออกไปนี้จริงๆแล้วคือผลตอบแทนของนักลงทุนผู้ซื้อกองทุนทั้งนั้นครับ เช่น ถ้ากองทุนทำผลตอบแทนทั้งปีได้ 10% แต่เก็บค่าใช้จ่ายรวมที่ 2% ต่อปีและเสียค่าคอมอีก 1% ต่อปี ผลตอบแทนที่จะได้ก็จะเหลือมาถึงมือนักลงทุนแค่ 7% เท่านั้น ผลตอบแทนที่หายไปคือ 30% !!!!

ผลการวิจัย พบว่า กองทุน RMF หุ้นไทยทั้งหมดนั้นเก็บ TER เฉลี่ยที่ 1.75% ต่อปี และจ่ายค่าคอมอีกประมาณ 0.57% รวมแล้วคือ 2.32% ซึ่งถือว่าสูงเลยทีเดียว แต่ทว่า ! ถ้าหากตัดกองทุน RMF หุ้นที่เป็นกองทุนดัชนีทิ้ง เราจะพบว่ากองทุนบริหาร Active-RMF คิดค่าใช้จ่ายรวมต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1.95% ต่อปีและเสียค่าคอมอีก 0.69% แล้วที่เหลือจึงจะเป็นผลตอบแทนมาถึงนักลงทุน

เพราะฉะนั้น เบ็ดเสร็จแล้วค่าใช้จ่ายทั้งหมดจริงๆของ Active-RMF(หุ้นไทย) โดยเฉลี่ยก็คือ 2.64% ! หรือถ้าระยะยาวตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี ผลตอบแทนสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายของคุณจะเหลือ 7.36% ต่อปีหรือ หายไปร้อยละ 26.4 เลยทีเดียว !!!

ทั้งนี้กองที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด 2 อันดับแรกตกเป็นของ CIMB-PRINCIPAL SET100 กับ Krungsri SET100RMF ครับ เฉลี่ยอยู่ที่ 0.75% ต่อปี ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของกองบริหารทั่วไปอยู่ที่ 2.64% ผลต่างระหว่างต่ำสุดกับค่าเฉลี่ยคือ ทำให้คุณจ่ายด้วยต้นทุนที่น้อยกว่า 3.5 เท่าครับ

ลองมาดูผลตอบแทนกันบ้าง…

เนื่องจากอยากจะได้จำนวนกองมากพอสมควร กว่าจะมีกองทุน RMF หุ้นไทยครบ 20 กอง เราก็ต้องรอถึงปี 2551 ครับ แต่ใน 20 กองนี้เป็นกองดัชนี 3 กองคือ จัมโบ้25RMF ทหารไทยSET50RMF กับ กรุงศรีSET100RMF เราจึงมีกองทุนบริหารจำนวน 17 กองครับ

การวิจัยครั้งนี้ สมมติให้ลงทุนที่เงิน 10,000 บาท ณ ราคาหน่วยวันสุดท้ายของปี 2551 แล้วถือจนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2015 ที่ผ่านมา (เกือบ 7 ปี) เราจะพบว่า

1. กองทุนบริหารทั้ง 17 กองทุนนั้น ถ้าคุณลงทุนซื้อทุกกองเท่าๆกันแล้วถือมา เงินของคุณจะโตเป็น 29,520 บาท

2. สมมติว่าคุณซื้อโดยดูผลตอบแทนย้อนหลังว่ากองไหนดีใน 17 กองบริหาร เนื่องจากคำนวณโดยใช้ราคาหน่วยสิ้นปี 2551 เราเลยดูผลตอบแทนปี 2551 ว่ากองไหนให้ผลตอบแทนดีสุด (เพราะคุณสามารถดูวันที่ 29 แล้วซื้อวันที่ 30 ธันวาคมได้) โดยซื้อเท่ากันทุกกอง จะได้เงินโตเป็นจำนวนดังนี้
ถ้าซื้อกองที่ผลตอบแทนสูงสุดปี51 = 19,129
-ถ้าซื้อกองที่ผลตอบแทนต่ำสุดปี51 = 29,348
-ถ้าซื้อ 2 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 22,972
-ถ้าซื้อ 3 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 23,975
-ถ้าซื้อ 5 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 26,579
-ถ้าซื้อ 7 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 25,427
-ถ้าซื้อ 10 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 27,509

3. ถ้าคุณลงทุนในกองทุนดัชนี จะได้ว่า
กองจัมโบ้25RMF กลายเป็น 29,485
กองทหารไทยSET50RMF กลายเป็น 31,990 และ
กองกรุงศรีSET100RMF กลายเป็น 33,325 บาท (โดยกรุงศรีกองนี้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุดจะชนะ 11 จาก 17 กองทุน หรือชนะ 65% ของกองทุน RMF หุ้นไทยไม่รวมกองดัชนีครับ) 

จริงๆแล้ว สิ่งที่เซอร์ไพรส์ที่สุดนั้นหรือ กลับกลายเป็นว่า … ถ้าเราลงทุนด้วยการซื้อหุ้นทั้งตลาดหลักทรัพย์หรือซื้อทั้ง SET แล้วถือไว้ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลตอบแทนทั้งหมดรวมเงินปันผลทบต้นของ SET จะทวีเงิน 10,000 กลายเป็น 37,869 !!!!!

ซึ่งผลตอบแทนของ SET สูงกว่ากองทุนที่ได้ผลตอบแทนอันดับหนึ่งที่เงินโตมาเป็น 37,339 ด้วยซ้ำโอ้ว เกม Survivor ครั้งนี้ไม่มีผู้รอดชีวิตครับ ในช่วงเวลาที่ยกมาทำวิจัยทุกกองไม่สามารถเป็น The Face Thailand ได้ ถ้าให้อ้างเหตุผล คือ อาจจะเพราะช่วงรอยต่อ 2551-2552 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของอเมริกา และตลาดหุ้นไทยร่วงหนักเกือบ -50% กองทุนหุ้นส่วนใหญ่พยายามขายหุ้นทิ้งแล้วถือตราสารหนี้บางส่วน แต่พอปีถัดมาตลาดหุ้นทะยานมากๆ กองทุนไม่มีหุ้นเต็มมือแบบดัชนี อาจจะเพราะยังไม่แน่ใจว่าตลาดหุ้นกลับมาแล้วจริงๆ การตัดสินใจช้านี้มีต้นทุนสำคัญ ทำให้พอพอเวลาหุ้นเป็นกระทิงก็จะพลาดผลตอบแทนตอนต้นของขาขึ้นรอบใหม่ครับ (ไว้ทำวิจัยให้ดู)

สรุปประเด็นทางความคิด

(a) พอจะถือเป็นหลักได้แล้วว่าในระยะยาว Cost is Matter ; วิธีทำนายผลตอบแทนกองทุนได้ง่ายที่สุด อาจจะดูได้จากอัตราค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของกองทุนรวม ว่ายิ่งสูงเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสแพ้ตลาดหุ้นในอนาคตมากเท่านั้น ทวนกันอีกครั้ง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจริงๆของกองทุนบริหาร RMF หุ้นไทยอยู่ที่ 2.64% ในระยะยาวถ้าตลาดหุ้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 10% คุณจะถูกหักผลตอบแทนไปถึงร้อยละ 26.4 เหลือแค่ 7.36% ถามว่ามากไหม ถ้าคนเราลงทุน RMF  30 ปี เงิน 10,000 ของคุณจะกลายเป็น 198,374 ถ้าได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี แต่จะเหลือแค่ 90,364 ถ้าได้ผลตอบแทน 7.36% คำถามว่าแล้วเงิน 100,000 บาทหรือ 10 เท่าของเงินต้นที่เราควรได้หายไปไหน คำตอบคือมันก็หายไปกับค่าใช้จ่ายกองทุนนั่นเอง ไอ้ค่าใช้จ่ายต่างกันเล็กๆ 1-2% นี่ล่ะ ระยะยาวมันทบต้นและส่งผลกระทบรุนแรงมาก

(b) หลักฐานจากงานวิจัยข้างบนน่าจะพอทำให้เห็นภาพได้ ถ้าคุณลงทุนใน SET ระหว่าง 2551-2558(10ธ.ค.) เงิน 10,000 จะกลายเป็น 37,869 ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกองทุนบริหารทำได้ 29,520 หรือหายไป  22% (ไม่ใช่เงินน้อยๆนะครับ) วิธีที่ง่ายสุดเลือกกองดัชนีที่ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดคุณก็จะยังได้เงิน 33,325 หรือหายไปแค่ 12% เท่านั้น และงานวิจัยนี้ก็ให้ผลที่น่าตกใจอีกว่า กองที่ได้ 1 ก็ยังผลตอบแทนแพ้ SET ด้วย (-_-“)

(c) มีของแถมสำหรับวิจัยครั้งนี้คือ ลองทำให้ดูครับว่า การเลือกกองทุนโดยดูผลตอบแทนล่าสุดของปีที่เริ่มต้น กลับให้ผลตอบแทนที่น้อยที่สุด (19,129) และไม่ว่าคุณจะซื้อ 2,3,5,7,10 กองแรกที่มีผลตอบแทนสูงสุด คุณก็ยังได้ต่ำกว่าซื้อกองดัชนีเพียงกองเดียว และแพ้กระทั่งซื้อทุกกองเท่าๆกันด้วย (อันนี้ผมแปลกใจครับ ผลออกมาก็ทึ่งอยู่ เข้าใจว่า Timing หรือช่วงเวลาที่เลือกมานั้น ผลออกมาเป๊ะพอดี ไว้ปีหน้าทำใหม่)


จากบทความหลายอันประกอบกันไม่ว่าจะเป็น แอลทีเอฟกองไหนดี, ดูผลตอบแทนย้อนหลังบอกอนาคตจริงหรือ, 10ปีผ่านไปกองหุ้นไทยเทียบSET รวมถึงบทความนี้น่าจะพอบอกเราได้แล้วว่า

1. ในระยะยาวกองทุนหุ้นทำผลตอบแทนได้แพ้ตลาดหุ้น เพราะหนึ่งพวกเขาไม่สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่า หรือแม้จะเลือกหุ้นทำผลตอบแทนได้สูงกว่าแต่สุดท้ายผลตอบแทนสุทธิก็ยังต่ำกว่าตลาดหุ้นอยู่ดี เพราะ สิ่งที่ทำให้พวกเขาแพ้จริงๆคือ “ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม” ที่สูงลิ่วต่างหาก

2. การลงทุนโดยดูผลตอบแทนย้อนหลังเป็นเรื่องที่เสียเวลามากๆ เพราะผลตอบแทนย้อนหลังไม่สามารถทำนายผลตอบแทนในอนาคตได้เลย การที่อุตสาหกรรมพยายามขายและโฆษณาเราด้วยผลตอบแทนร้อนแรงล่าสุดทำให้เราติดอยู่ในวังวนไล่ล่ากองทุนหุ้นที่หนึ่งตลอดเวลา กลับกลายเป็นว่าส่วนใหญ่มันทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ต่ำในระยะยาวแทน

3. ทางออกคือ จากสถิติในระยะยาวนั้น เวลาที่ไกลออกไป 10,20,30 ปี แทบจะหาใครชนะตลาดหุ้นยากสม่ำเสมอค่อนข้างยากมาก วิธีที่จะใช้ลงทุนหุ้นได้ดีที่สุด ก็คือ “ลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้นที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดนั่นเอง”

 


**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับวิธีการลงทุนของผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้ลงทุนตาม ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน เพราะการขาดทุนจะเกิดขึ้นกับเงินของนักลงทุนเอง

 

RMF หุ้นไทย : ผลตอบแทนเทียบตลาดหุ้น

RMF หุ้นไทย : ทำผลตอบแทนได้สูงกว่าตลาดหุ้นไหม?

RMF (Retirement Mutual Fund) หรือชื่อไทยก็คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ วัตถุประสงค์ของมันคือเกิดมาเพื่อส่งเสริมการออมสำหรับเป็นทุนไว้ใช้จ่ายยามเกษียณ รัฐเลยจูงใจด้วยการให้สิทธิที่จะนำเอาเงินซื้อกองทุนชนิดนี้มาลดหย่อนภาษีได้ โดยมีข้อบังคับสำคัญคือ คุณจะต้องถือมันยาวจนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์จึงจะขายได้ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ด้วยข้อบังคับที่ทำให้เราต้องถือมันไว้นานมาก ไม่สามารถขายได้ (จริง ๆ ขายก่อนได้แต่เคลียร์กับสรรพากรเองครับ อิอิ)

โดยปกติถ้าคุณลงทุนไว เช่นลงทุนตั้งแต่อายุ 25 คุณจะมีเวลาถือมันถึง 30 ปี และเวลาที่นานขนาดนี้ ไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะทำให้เงินคุณโตได้มากเท่าหุ้นอีกแล้ว และหุ้นที่ถือนานสามสิบปีแทบไม่มีทางที่ผลตอบแทนจะติดลบเลย ดังนั้น คนอายุน้อยโปรดลงทุนในหุ้นเถิดจะเกิดผล

อย่างไรก็ดี มีสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นอะไรบางอย่าง นั่นก็คือ พอต้องลงทุนยาวมาก ๆ คนส่วนใหญ่พอลงทุนแล้วก็ไม่ค่อยได้ยุ่งกับมัน ซึ่งที่ซื้อกันมักจะเป็นกองทุนแบบบริหารคัดเลือกหุ้น (Actively Managed-funds) สิ่งที่สังเกตเห็นชัด คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นมักจะมีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่อปีที่สูงมากกว่ากองหุ้นทั่วไป วันนี้ได้โอกาสผมเลยลองดึงข้อมูลมาดู พบว่า

1. ภาพรวมกองทุน RMF หุ้นไทย

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ลงทุนในหุ้น หรือ RMF หุ้นไทย กองแรกจดทะเบียนขึ้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2544 แล้วก็ค่อย ๆ ทยอยออกกันมาเรื่อย ๆ จนปัจจุบันมีกองทุน RMF ที่ลงทุนในหุ้นประมาณ 30 กว่ากองทุน ในนี้เป็นกองทุนดัชนี (Index Funds) จำนวน 6 กองทุน ที่เหลือเป็นกองทุนแบบบริหารคัดเลือกหุ้น ซึ่งผมได้ทำการค้น ค่าใช้จ่ายกองทุนรวมรายกอง โดยค่าใช้จ่ายที่ว่านี้จะประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายรวม Total Expense Ratio (TER) ได้แก่ ค่าบริหารจัดการ ค่านายทะเบียน ฯลฯ และค่าใช้จ่ายในการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือ ค่า Commission ที่กองทุนเสียเวลาซื้อขายหุ้น

ผมขออนุญาตเรียกรวมกันว่า Real Expense โดยค่าใช้จ่าย TER จะถูกเก็บเป็นรายวันหักออกจากกองทุน ส่วนค่าคอมมิชชั่นนั้นยิ่งกองทุนซื้อขายเปลี่ยนหุ้นบ่อยเท่าไหร่ (มี turnover rate สูง) ก็จะยิ่งเสียค่าใช้จ่ายตรงนี้เยอะเท่านั้น ซึ่งกองทุนไหนที่เก็บ TER แพงแล้วยังเทรดหุ้นซื้อขายบ่อยอีก ไอ้ส่วนที่จ่ายออกไปนี้จริง ๆ แล้วคือผลตอบแทนของนักลงทุนผู้ซื้อกองทุนทั้งนั้นครับ เช่น ถ้ากองทุนทำผลตอบแทนทั้งปีได้ 10% แต่กองทุนเก็บค่าใช้จ่ายรวมที่ 2% ต่อปี และเสียค่าคอมซื้อขายหุ้นอีก 1% ต่อปี ผลตอบแทนที่จะได้ก็จะเหลือมาถึงมือนักลงทุนแค่ 7% เท่านั้น ผลตอบแทนที่หายไปคือ 30% !!!!

2. การวิจัยเล็ก ๆ

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพประเภทที่ลงทุนในหุ้นไทยทั้งหมดนั้นเก็บ TER เฉลี่ยที่ 1.75% ต่อปี และจ่ายค่าคอมอีกประมาณ 0.57% รวมแล้วคือ 2.32% ซึ่งถือว่าสูงเลยทีเดียว แต่ทว่า! ถ้าหากตัดประเภทที่เป็นกองทุนดัชนีทิ้ง เราจะพบว่ากองทุนประเภทบริหารจัดการ คิดค่าใช้จ่ายรวมต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1.95% ต่อปี และเสียค่าคอมอีก 0.69% แล้วที่เหลือจึงจะเป็นผลตอบแทนมาถึงนักลงทุน

เพราะฉะนั้น เบ็ดเสร็จแล้วค่าใช้จ่ายทั้งหมดจริง ๆ ของ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพที่ลงทุนในหุ้นประเภท active fund โดยเฉลี่ยก็คือ 2.64% ! หรือถ้าระยะยาวตลาดหุ้นให้ผลตอบแทน 10% ต่อปี ผลตอบแทนสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายของคุณจะเหลือ 7.36% ต่อปี หรือหายไปร้อยละ 26.4 เลยทีเดียว !!!

ทั้งนี้กองทุน RMF ที่มีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด 2 อันดับแรกเป็นกองทุนดัชนี คือ CIMB-PRINCIPAL (FAM) SET100 กับ Krungsri SET100 RMF ครับ เฉลี่ยอยู่ที่ 0.75% ต่อปี ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของกองบริหารทั่วไปอยู่ที่ 2.64% ผลต่างระหว่างต่ำสุดกับค่าเฉลี่ยคือ ทำให้คุณจ่ายด้วยต้นทุนที่น้อยกว่า 3.5 เท่าครับ

ลองมาดูผลตอบแทนกันบ้าง …

เนื่องจากอยากจะได้จำนวนกองมากพอสมควรในการทดลอง ซึ่งกว่าจะมีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพประเภทที่ลงทุนหุ้นไทยครบ 20 กอง เราก็ต้องรอถึงปี 2551 ครับ แต่ใน 20 กองนี้เป็นกองดัชนี 3 กองคือ JB25RMF TMBSET50RMF และ KFS100RMF เราจึงมีกองทุนบริหารจำนวน 17 กองครับ

การวิจัยครั้งนี้ สมมติให้ลงทุนที่เงิน 10,000 บาท ณ ราคาหน่วยวันสุดท้ายของปี 2551 แล้วถือจนถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2015 ที่ผ่านมา (เกือบ 7 ปี) เราจะพบว่า

1. กองทุนบริหารทั้ง 17 กองทุนนั้น ถ้าคุณลงทุนซื้อทุกกองเท่าๆกันแล้วถือมา เงินของคุณจะโตเป็น 29,520 บาท

2. สมมติว่าคุณซื้อโดยดูผลตอบแทนย้อนหลังว่ากองไหนดีใน 17 กองบริหาร เนื่องจากคำนวณโดยใช้ราคาหน่วยสิ้นปี 2551 เราเลยดูผลตอบแทนปี 2551 ว่ากองไหนให้ผลตอบแทนดีสุด (เพราะคุณสามารถดูวันที่ 29 แล้วซื้อวันที่ 30 ธันวาคมได้) โดยซื้อเท่ากันทุกกอง เงินลงทุนของคุณจะโตเป็นจำนวนมูลค่าดังนี้

  • ถ้าซื้อกองที่ผลตอบแทนสูงสุดปี 51 = 19,129
  • กองที่ผลตอบแทนต่ำสุดปี 51 = 29,348
  • ซื้อ 2 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 22,972
  • 3 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 23,975
  • 5 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 26,579
  • 7 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 25,427
  • และถ้าซื้อ 10 กองแรกที่ผลตอบแทนสูงสุด = 27,509

3. ถ้าคุณลงทุนในกองทุนดัชนี จะได้ว่า กองทุน JB25RMF กลายเป็น 29,485 กอง TMBSET50RMF กลายเป็น 31,990 และ กอง KFS100RMF กลายเป็น 33,325 บาท (โดยกรุงศรีกองนี้ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด จะทำผลตอบแทนได้ชนะ 11 จาก 17 กองทุน หรือชนะ 65% ของกองทุน RMF หุ้นไทยไม่รวมกองดัชนีครับ) 

จริง ๆ แล้ว สิ่งที่เซอร์ไพรส์ที่สุดนั้นหรือ กลับกลายเป็นว่า … ถ้าเราลงทุนด้วยการซื้อหุ้นทั้งตลาดหลักทรัพย์หรือซื้อทั้ง SET แล้วถือไว้ในช่วงเวลาดังกล่าว ผลตอบแทนทั้งหมดรวมเงินปันผลทบต้นของ SET จะทวีเงิน 10,000 กลายเป็น 37,869 !!!!!

ด้วยเหตุนี้ ผลตอบแทนรวมของ SET สูงกว่ากองทุนที่ได้ผลตอบแทนอันดับหนึ่งที่เงินโตมาเป็น 37,339 ด้วยซ้ำโอ้ว เกม Survivor ครั้งนี้ไม่มีผู้รอดชีวิตครับ ในช่วงเวลาที่ยกมาทำวิจัยทุกกองทุนไม่สามารถเป็น The Face Thailand ได้

ถ้าให้อ้างเหตุผล คือ อาจจะเพราะช่วงรอยต่อ 2551-2552 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ของอเมริกา และตลาดหุ้นไทยร่วงหนักเกือบ -50% กองทุนหุ้นส่วนใหญ่พยายามขายหุ้นทิ้งแล้วถือตราสารหนี้บางส่วน แต่พอปีถัดมาตลาดหุ้นทะยานมาก ๆ กองทุนไม่มีหุ้นเต็มมือเหมือนดัชนี อาจจะเพราะยังไม่แน่ใจว่าตลาดหุ้นกลับมาแล้วจริง ๆ การตัดสินใจช้านี้จึงมีต้นทุนสำคัญ ทำให้พอพอเวลาตลาดหุ้นเป็นกระทิง ก็จะส่งผลให้กองทุนพลาดผลตอบแทนตอนต้นของขาขึ้นรอบใหม่ครับ (ไว้ทำวิจัยให้ดู)

3. สรุปประเด็นความคิดเกี่ยวกับ RMF

(a) พอจะถือเป็นหลักได้แล้วว่าในระยะยาว Cost is Matter และวิธีทำนายผลตอบแทนกองทุนได้ง่ายที่สุด อาจจะดูได้จากอัตราค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของกองทุนรวมว่า ยิ่งสูงเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสแพ้ตลาดหุ้นในอนาคตมากเท่านั้น

ทวนกันอีกครั้ง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจริง ๆ ของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่เป็น active funds นโยบายลงทุนในหุ้นไทยอยู่ที่ 2.64% ในระยะยาวถ้าตลาดหุ้นได้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ 10% คุณจะถูกหักผลตอบแทนไปถึงร้อยละ 26.4 เหลือแค่ 7.36% ถามว่ามากไหม ถ้าลงทุนเป็นระยะเวลา 30 ปี เงิน 10,000 ของคุณจะกลายเป็น 198,374 ถ้าได้ผลตอบแทน 10% ต่อปี แต่จะเหลือแค่ 90,364 ถ้าได้ผลตอบแทน 7.36%

คำถามว่าแล้วเงิน 100,000 บาทหรือ 10 เท่าของเงินต้นที่เราควรได้หายไปไหน คำตอบคือมันก็หายไปกับค่าใช้จ่ายกองทุนนั่นเอง ไอ้ค่าใช้จ่ายต่างกันเล็ก ๆ 1-2% นี่ล่ะ ระยะยาวมันทบต้นและส่งผลกระทบรุนแรงมาก

(b) หลักฐานจากงานวิจัยข้างบนน่าจะพอทำให้เห็นภาพได้ ถ้าคุณลงทุนใน SET ระหว่าง 2551-2558 (10 ธ.ค.) เงิน 10,000 จะกลายเป็น 37,869 ขณะที่ค่าเฉลี่ยของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแบบบริหารจัดการทำได้ 29,520 หรือหายไป  22% (ไม่ใช่เงินน้อย ๆ นะครับ) วิธีที่ง่ายสุดจึงกลายเป็นว่า เลือกกองดัชนีที่ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด คุณก็จะยังได้เงิน 33,325 หรือหายไปแค่ 12% เท่านั้นเอง และงานวิจัยนี้ก็ให้ผลที่น่าตกใจอีกว่า กองที่ได้ 1 ก็ยังผลตอบแทนแพ้ SET ด้วย (-_-“)

(c) มีของแถมสำหรับวิจัยครั้งนี้ คือ ลองทำให้ดูครับว่า การเลือกกองทุนโดยดูผลตอบแทนล่าสุดของปีที่เริ่มต้น กลับให้ผลตอบแทนที่น้อยที่สุด (19,129) และไม่ว่าคุณจะซื้อกองทุนลำดับที่ 2, 3, 5, 7, 10 ที่มีผลตอบแทนสูงสุด คุณก็ยังได้ผลตอบแทนต่ำกว่าซื้อกองดัชนีเพียงกองเดียว และแพ้กระทั่งซื้อทุกกองเท่า ๆ กันด้วย (อันนี้ผมแปลกใจครับ ผลออกมาก็ทึ่งอยู่ เข้าใจว่า Timing หรือช่วงเวลาที่เลือกมานั้น ผลออกมาเป๊ะพอดี ไว้ต่อไปทำใหม่)

งานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม

มีงานวิจัยทางวิชาการของไทยก็ให้ผลไปในทางเดียวกันว่า กลยุทธ์ที่ซื้อกองทุน RMF จากผลตอบแทนที่ดีในอดีตไม่อาจชี้วัดได้ว่ากองทุนดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนดีในอนาคต และยังพบอีกว่า กองทุน RMF ที่ลงทุนในหุ้นไทยทำผลตอบแทนสุทธิ (net returns) โดยเฉลี่ยได้ต่ำกว่าผลตอบแทนรวมของตลาดหลักทรัพย์โดยห่างและทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าผลตอบแทนตลาดหุ้นประมาณ 2% ต่อปี[1. ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์, “ผลตอบแทนและความต่อเนื่องของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายเชิงรุก,” วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า 22 (พฤษภาคม 2561): 61.]

โดยผลตอบแทนของกองทุน RMF หุ้นไทยแบบ actively managed funds ช่วงปี 2002-2016 รวม 15 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุน RMF คือ 19.54% ส่วน SET TR ให้ผลตอบแทน 21.63% ต่อปี (ห่างกัน 2.09%) หากแต่เงิน 10,000 ในช่วงเวลาดังกล่าวจะกลายเป็น 145,556 หากลงทุนในกองทุนหุ้นไทย RMF แต่จะกลายเป็น 188,630 บาท ห่างกันประมาณ 43,000 บาท! หรือหายไปเกือบ 23%!!

4. บทสรุป RMF หุ้นไทย

จากบทความหลายอันประกอบกันไม่ว่าจะเป็น LTF กองไหนดี หรือ ดูผลตอบแทนย้อนหลังบอกอนาคตจริงหรือ หรือ 10ปีผ่านไปกองหุ้นไทยเทียบ SET รวมถึงบทความนี้น่าจะพอบอกเราได้แล้วว่า

1. ในระยะยาวกองทุนหุ้นทำผลตอบแทนได้แพ้ตลาดหุ้น เพราะประการที่หนึ่งพวกเขาไม่สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่า หรือแม้จะเลือกหุ้นทำผลตอบแทนได้สูงกว่าแต่สุดท้ายผลตอบแทนสุทธิก็ยังต่ำกว่าตลาดหุ้นอยู่ดี เพราะว่า สิ่งที่ทำให้พวกเขาแพ้จริงๆคือ “ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนรวม” ที่สูงลิ่วต่างหาก

2. การลงทุนโดยดูผลตอบแทนย้อนหลังเป็นเรื่องที่เสียเวลามาก ๆ เพราะผลตอบแทนย้อนหลังไม่สามารถทำนายผลตอบแทนในอนาคตได้เลย การที่อุตสาหกรรมพยายามขายและโฆษณาเราด้วยผลตอบแทนร้อนแรงล่าสุด ทำให้เราติดอยู่ในวังวนไล่ล่ากองทุนหุ้นที่หนึ่งตลอดเวลา และกลับกลายเป็นว่า มันทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ต่ำลงในระยะยาวแทน

3. ทางออกคือ จากสถิติในระยะยาวนั้น เวลาที่ไกลออกไป 10, 20, 30 ปี แทบจะหาใครชนะตลาดหุ้นสม่ำเสมอค่อนข้างยากมาก วิธีที่จะใช้ลงทุนหุ้นได้ดีที่สุด ก็คือ “การลงทุนในกองทุนดัชนีหุ้นที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดนั่นเอง”

บทความแนะนำ:

(1) ทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับผลตอบแทนหุ้นและตลาดหุ้น

(2) ปัญหาของการเลือกกองทุนจากผลตอบแทนย้อนหลัง


**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับวิธีการลงทุนของผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้ลงทุนตาม ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน เพราะการขาดทุนจะเกิดขึ้นกับเงินของนักลงทุนเอง

ดูผลตอบแทนย้อนหลัง บอกอนาคตจริงหรือ (LTF)

วันนี้ได้เวลาทำสิ่งหนึ่งที่อยากทำ นั่นคืออยากลองหาดูว่า กองทุนหุ้นที่ได้ที่ 1-5 ในแต่ละปีมีโอกาสเท่าไหร่ที่จะอยู่ในลำดับเดิมๆในช่วงเวลาต่อมา และครั้งนี้ผมจะใช้กองทุนหุ้นระยะยาว LTF ในการทำวิจัยย้อนหลัง back-testing ครับ

ในบ้านเรามีกองทุนหุ้นระยะยาว LTF ทั้งหมด 52 กองทุน และเพื่อให้สอดคล้องกับการลงทุนในระยะถัดไปของ LTF ที่กำหนดถือครอง 7 ปี (สำหรับบางท่านที่ซื้อวันสุดท้ายของปีจะถือแค่ 5 ปี 2 วัน) เพราะฉะนั้นผมจะใช้วิธีเลือกกองทุนลำดับ 1-5 แล้วดูว่า 5 ปีต่อมาจะเกิดอะไรขึ้น พวกมันจะมีโอกาสกลับมาเข้าสู่ทำเนียบได้อีกหรือไม่ โดยเลือกแค่ห้าลำดับแรกก็เพราะว่าในเมื่อ LTF มี 52 กอง แสดงว่า 5 กองแรกนั้นคือ TOP 10% สูงสุด จะได้รู้ว่าการดูผลตอบแทนย้อนหลังหรือดูที่ 1-5 ในแต่ละปีแล้วซื้อ(ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วไปน่าจะนิยมทำกัน) จะได้กองทุนผลตอบแทนสูงสุดแบบที่พวกเขาหวังกันหรือไม่ โดยผมจะใช้ห้าลำดับแรกของปี 2007,2008,2009 ซึ่งจะครบ 5 ปีใน 2012,2013,2014 และด้านล่างคือผู้เข้ารอบ Hall of Fame ในแต่ละปีของเราครับ

rank1
หมายเหตุ : ตัดกองทุน LTF ที่มีนโยบายผสมตราสารหนี้ทิ้ง เช่น 70/30 75/25 ซึ่งถ้าไม่ตัด ในปี 2008 กองที่ผลตอบแทนสูงสุดทั้งหมดจะเป็นกองทุนพวกนี้ครับ

-กองทุน 5 ลำดับแรกในปี 2007 ไม่ติด 5 ลำดับแรกในปี 2012

-กองทุน 5 ลำดับแรกในปี 2008 มี 2 กองที่ห้าปีต่อมากลับมาติดอันดับอีกครั้ง

-กองทุน 5 ลำดับแรกในปี 2009 มี 2 กองทุนที่ห้าปีต่อมาติดลำดับอีกครั้ง

ลองคำนวณดูจะพบว่า ใน 1 ปีจะมี 5 กองทุนแรกให้เลือก เราย้อนหลัง 3 ปี = ซื้อกองเดียววัดใจได้ 15 ครั้ง แต่มีโอกาสแค่ 4 จาก 15 หรือ 26.67% ที่คุณจะเลือกกองทุนได้ถูกต้องว่า 5 ปีต่อมามันจะยังอยู่ในลำดับที่ 1-5

ลองทดสอบแบบถือครองสมัยก่อนคือ 5 ปีปฎิทิน หรือน้อยสุด 3 ปี 2 วัน เพราะฉะนั้นใช้ระยะเวลา 3 ปีมาดูผลตอบแทน พบว่า 1-5 ในปีแรกจะกลับมาเป็น 1-5 ในอีก 3 ปีต่อมานั้น มีเพียงแค่ 6 จาก 25 ครั้งหรือ 24% เท่านั้นที่คุณจะเลือกถูก

ที่โหดกว่านั้นคือ มีกี่ปีที่ 1-5 ลำดับแรกจะกลับมาอยู่ 1-5 ของปีต่อมา สถิติธุรกรรมได้ 5 กองทุนต่อปี ก็จะมีทั้งหมด 7 ปี หรือ 35 ครั้ง แต่กลับมีแค่ 5 ครั้งเท่านั้นที่ ห้าอันดับแรกของปีแรกจะเป็น 5 ลำดับแรกของปีถัดมา หรือมีโอกาสเพียง 1 ใน 7 ซึ่งเท่ากับความน่าจะเป็น 14.29%

บทสรุปที่น่าสนใจ คือ การดูลำดับผลตอบแทนกองทุนสูงสุด 1-5 ลำดับแรก แทบจะไม่เชื่อมโยงกับลำดับที่ของมันใน 1 ปี 3 ปี 5 ปีต่อมาเลย เป็นการยากที่คุณจะเลือก 1-5 ลำดับแรกแล้วหวังว่ามันจะเป็น 1-5 ลำดับแรกในเวลาระยะยาวๆ โอกาสถูกต้องน้อยกว่า 1/4 (ปาลูกดอกสี่ครั้งโดนเป้าครั้งเดียว) และแม้จะหวังในรอบสั้นๆเช่นกรณี 1 ปี มันก็ยากยิ่งกว่าเพราะมีโอกาสน้อยกว่า 1/6 เปรียบไปแล้วก็เหมือนสุ่มทอยลูกเต๋าแล้วทายหน้าครับ โอกาสถูกพอกัน

ประเด็นสำคัญที่ผมอยากชี้ให้เห็นก็คือ ผลตอบแทนล่าสุดไม่บ่งบอกอะไรถึงผลตอบแทนในอนาคตเลย !! ไม่ว่าจะในระยะยาว หรือระยะสั้นก็ตาม (ไม่เชื่อลองย้อนไปดูผลตอบแทนที่ปีแรกสูงมีโอกาสน้อยมากที่ปีที่สองจะสูงด้วย)

บางท่านอาจจะสังเกตว่าบางกองมันก็กลับมาเป็นที่ 1-5 บ่อยๆนะ แสดงว่ามันก็น่าจะดูผลตอบแทนย้อนหลังได้บ้าง ซึ่งผมมีข้อเสนอแนะอีกว่า ที่เรารู้ว่ามันกลับมาเป็นที่ 1-5 ได้ใหม่ก็เพราะผลตอบแทนมันโชว์ให้เห็นแล้วว่ามันกลับมาได้ ตรงนี้เรามีข้อมูลในอดีตให้ดู (เป็นการมองกระจกหลัง) เพราะถ้าจับสถิติต่อ ณ 4 ธันวาคมปี 2015 กองทุน LTF ที่อยู่ลำดับ 1-5 ของปี 2014 ก็ไม่ติดห้าลำดับแรกครับ เป็นการวกกลับสู่ค่าเฉลี่ย ที่เรียกว่า “Reversion to the Mean” (RTM)

สิ่งที่อยากจะฝากไว้จริงๆ ก็คือ วิธีที่หลายๆคนกำลังทำกันอยู่ ดูว่าใครผลตอบแทนดีล่าสุดแล้วซื้อตาม ยกตัวอย่าง ท่านจะซื้อ LTF วันที่ 30 ธันวาคม วันก่อนหน้านั้นท่านก็เปิดเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่า ใครหนอผลตอบแทนดีสุดในปีนี้ แล้วก็ซื้อกองทุนหุ้นที่ร้อนแรงล่าสุด ก็อย่างที่วิจัยครั้งนี้ทำให้เห็นครับ 1-3-5 ปีข้างหน้า (หรือไกลไปอีก) โอกาสที่ท่านจะได้กองทุนผลตอบแทนสูงๆ ติดลำดับต้นๆอีกรอบนั้นมันยากจริงๆ ไม่เชื่อดูบทวิจัยก่อนหน้าก็ได้ครับ ว่ากอง LTF ส่วนใหญ่ในระยะยาวยังแพ้ผลตอบแทนตลาดหุ้นอีกต่างหาก  โปรด click LTF กองไหนดี?

ดังนั้น สรุปกันสั้นๆง่ายก็คือ

past performance does not guarantee future results

ที่เขาโปรยไว้เวลาโฆษณากองทุนนั้น มันถูกต้องจริงๆ

 


**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับวิธีการลงทุนของผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้ลงทุนตาม ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

ผลตอบแทน LTF ย้อนหลัง บอกอนาคตได้จริงหรือ?

วันนี้ได้เวลาทำสิ่งหนึ่งที่อยากทำ นั่นคืออยากลองหาดูว่า กองทุนหุ้นที่ได้ที่ 1-5 ในแต่ละปีมีโอกาสเท่าไหร่ที่จะอยู่ในลำดับเดิม ๆ ในช่วงเวลาต่อมา และครั้งนี้ผมจะใช้กองทุนหุ้นระยะยาว LTF ในการทำวิจัยย้อนหลัง back-testing ครับว่า ผลตอบแทน LTF ที่ย้อนหลัง สามารถทำนายผลตอบแทนในอนาคตได้จริงหรือไม่?

1. ผลตอบแทน LTF จากการซื้อกองทุน 5 อันดับแรก

ในบ้านเรามีกองทุนหุ้นระยะยาว LTF ทั้งหมด 52 กองทุน และเพื่อให้สอดคล้องกับการลงทุนในระยะถัดที่มีข้อกำหนดให้ถือครอง 7 ปี (สำหรับบางท่านที่ซื้อวันสุดท้ายของปีจะถือแค่ 5 ปี 2 วัน) เพราะฉะนั้นผมจะใช้วิธีเลือกกองทุนลำดับ 1-5 แล้วดูว่า 5 ปีต่อมาจะเกิดอะไรขึ้น พวกมันจะมีโอกาสกลับมาเข้าสู่ทำเนียบได้อีกหรือไม่

สาเหตุที่เลือกแค่ห้าลำดับแรกก็เพราะว่า ในเมื่อ LTF มี 52 กอง แสดงว่า 5 กองแรกนั้นคือ TOP 10% สูงสุด จะได้รู้ไปว่า การดูผลตอบแทนย้อนหลัง หรือดูที่ 1-5 ในแต่ละปีแล้วซื้อ (ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทั่วไปน่าจะนิยมทำกัน) จะได้กองทุนผลตอบแทนสูงสุดแบบที่พวกเขาหวังกันหรือไม่

โดยผมจะใช้ห้าลำดับแรกของปี 2007, 2008, 2009 ซึ่งจะครบ 5 ปีใน 2012, 2013, 2014 และด้านล่างคือผู้เข้ารอบ Hall of Fame ในแต่ละปีของเราครับ

rank1
หมายเหตุ : ตัดกองทุน LTF ที่มีนโยบายผสมตราสารหนี้ทิ้ง เช่น 70/30 75/25 ซึ่งถ้าไม่ตัด ในปี 2008 กองที่ผลตอบแทนสูงสุดทั้งหมดจะเป็นกองทุนพวกนี้ครับ
  • ปี 2007 กองทุน 5 ลำดับแรก ไม่ติด TOP5 ในปี 2012
  • กองทุนที่ได้ 5 ลำดับแรกในปี 2008 มี 2 กองที่ในปี 2013 กลับมาติดอันดับอีกครั้ง
  • ทว่าเคสปี 2009 คล้าย ๆ 2008 คือ 5 ลำดับแรก มี 2 กองทุนที่ห้าปีต่อมาติดลำดับอีกครั้ง

เมื่อคำนวณดูจะพบว่า ใน 1 ปีจะมี 5 กองทุนแรกให้เลือก ซึ่งถ้าเราย้อนหลัง 3 ปี เราจะซื้อกองเดียววัดใจได้ 15 ครั้ง แต่เราจะมีโอกาสแค่ 4 จาก 15 หรือ 26.67% ที่จะเลือกกองทุนได้ถูกต้องว่า 5 ปีต่อมา มันจะยังอยู่ในลำดับที่ 1-5

หากลองทดสอบแบบถือครองสมัยก่อนคือ 5 ปีปฎิทิน หรือน้อยสุด 3 ปี 2 วัน เพราะฉะนั้นใช้ระยะเวลา 3 ปีมาดูผลตอบแทน ก็จะพบว่าลำดับ 1-5 ในปีแรก จะกลับมาเป็นครองแชมป์ 5 ลำดับเดิมในอีก 3 ปีต่อมานั้น มีโอกาสเพียงแค่ 6 จาก 25 ครั้งหรือ 24% เท่านั้นที่คุณจะเลือกถูก

ที่โหดกว่านั้นคือ หากดูว่า มีกี่ปีที่ 1-5 ลำดับแรกจะกลับมาอยู่ 1-5 ของปีต่อมา เราสามารถทำธุรกรรมได้ 5 กองทุนต่อปี ก็จะมีทั้งหมด 7 ปี หรือ 35 ครั้ง แต่กลับมีแค่ 5 ครั้งเท่านั้นที่ห้าอันดับแรกของปีแรกจะเป็น 5 ลำดับแรกของปีถัดมา หรือคิดเป็นโอกาสเพียง 1 ใน 7 ซึ่งเท่ากับความน่าจะเป็น 14.29%

2. งานสนับสนุนเพิ่มเติม

งานวิจัยทางวิชาการของไทยก็ให้ผลไปในทางเดียวกันว่า กลยุทธ์ที่ซื้อกองทุน LTF จากผลตอบแทนที่ดีในอดีตไม่อาจชี้วัดได้ว่ากองทุนดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนดีในอนาคต และยังพบอีกว่า กองทุนรวม LTF เหล่านี้ทำผลตอบแทนสุทธิ (net returns) ได้ต่ำกว่าผลตอบแทนรวมของตลาดหลักทรัพย์โดยห่างและทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าผลตอบแทนตลาดหุ้นประมาณ 3% ต่อปี[1. ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์, “ผลตอบแทนและความต่อเนื่องของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายเชิงรุก,” วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า 22 (พฤษภาคม 2561): 61.]

โดยผลตอบแทนของกองทุน LTF แบบ actively managed funds ในช่วงปี 2005-2016 อยู่ที่ 12.65% ต่อปี แต่ SET TR อยู่ที่ 15.73% (ห่างกัน 3.08% ต่อปี)[1. ibid., 70.] เงิน 10,000 ในตลาดหุ้นเป็น 57,723.34 แต่เงินในกองทุนบริหารโดยเฉลี่ยเป็นแค่ 41,761.33 ซึ่งห่างกันประมาณ 15,926 บาท! หรือคิดเป็นจำนวนเงินที่หายไปเกือบ 28%!!

3. บทสรุปสำหรับ ผลตอบแทน LTF

การดูลำดับผลตอบแทนกองทุนสูงสุด 1-5 ลำดับแรก แทบจะไม่เชื่อมโยงกับลำดับที่ของมันใน 1 ปี 3 ปี 5 ปีต่อมาเลย เป็นการยากที่คุณจะเลือก 1-5 ลำดับแรก แล้วหวังว่ามันจะเป็น 1-5 ลำดับแรกในอนาคต โอกาสถูกต้องน้อยกว่า 1/4 (ปาลูกดอกสี่ครั้งโดนเป้าครั้งเดียว)

และแม้จะหวังในรอบสั้น ๆ เช่น กรณี 1 ปี มันก็ยากยิ่งกว่า เพราะมีโอกาสน้อยกว่า 1/6 เปรียบไปแล้วก็เหมือนสุ่มทอยลูกเต๋าแล้วทายหน้าครับ โอกาสถูกพอกันเลย

ประเด็นสำคัญที่ผมอยากชี้ให้เห็นก็คือ ผลตอบแทนล่าสุดไม่บ่งบอกอะไรถึงผลตอบแทนในอนาคตเลย !! ไม่ว่าจะในระยะยาว หรือระยะสั้นก็ตาม (ไม่เชื่อลองย้อนไปดูผลตอบแทนที่ปีแรกสูง มีโอกาสน้อยมากที่ปีที่สองจะสูงด้วย)

บางท่านอาจจะสังเกตว่าบางกองมันก็กลับมาเป็นที่ 1-5 บ่อย ๆ นะ แสดงว่ามันก็น่าจะดูผลตอบแทนย้อนหลังได้บ้าง ซึ่งผมมีข้อเสนอแนะอีกว่า ที่เรารู้ว่ามันกลับมาเป็นที่ 1-5 ได้ใหม่ ก็เพราะผลตอบแทนมันโชว์ให้เห็นแล้วว่ามันกลับมาได้ ตรงนี้เรามีข้อมูลในอดีตให้ดู อันเป็นการมองกระจกหลัง อะไร ๆ ก็เลยดูง่ายไปซะหมด เพราะถ้าจับสถิติต่อ ณ 4 ธันวาคมปี 2015 กองทุน LTF ที่อยู่ลำดับ 1-5 ของปี 2014 ก็ไม่ติดห้าลำดับแรกครับ เป็นการวกกลับสู่ค่าเฉลี่ย ที่เรียกว่า “Reversion to the Mean” (RTM)

สิ่งที่อยากจะฝากไว้จริง ๆ ก็คือ วิธีที่หลายคนกำลังทำกันอยู่ ดูว่าใครผลตอบแทนดีล่าสุดแล้วซื้อตาม ยกตัวอย่าง ท่านจะซื้อ LTF วันที่ 30 ธันวาคม วันก่อนหน้านั้นท่านก็เปิดเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อดูว่า ใครหนอผลตอบแทนดีสุดในปีนี้ แล้วก็ซื้อกองทุนหุ้นที่ร้อนแรงล่าสุด ก็อย่างที่วิจัยครั้งนี้ทำให้เห็นครับ 1-3-5 ปีข้างหน้า (หรือไกลไปอีก) โอกาสที่ท่านจะได้กองทุนผลตอบแทนสูง ๆ ติดลำดับต้นอีกรอบนั้นมันช่างยากเสียจริง ไม่เชื่อดูบทวิจัยก่อนหน้าก็ได้ครับว่า กอง LTF ส่วนใหญ่ในระยะยาวยังแพ้ผลตอบแทนตลาดหุ้นอีกต่างหาก)

ดังนั้น สรุปกันสั้น ๆ ง่ายได้ว่า

“Past performance does not guarantee future results.”

ที่เขาโปรยไว้เวลาโฆษณากองทุนนั้น มันถูกต้องจริง ๆ

บทความแนะนำ:

(1) ทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับผลตอบแทนหุ้นและตลาดหุ้น

(2) ผลตอบแทนย้อนหลัง กองทุน : ความเสียเวลาและมายาคติ


**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับวิธีการลงทุนของผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้ลงทุนตาม ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

LTF กองไหนดี

พอถึงช่วงเวลาสิ้นปีได้วนมาครบบรรจบอีกรอบ เหล่าผู้มีรายได้ก็จะเริ่มมองหาการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF เพื่อลดหย่อนภาษี ด้วยสรรพคุณที่จำง่าย ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี ซื้อแล้วถือยาว 7 ปี และซื้อปีไหนก็ได้ไม่บังคับซื้อทุกปี (อันนี้คือเงื่อนไขภาษีคร่าวๆนะครับ) ทำให้มันเป็นเครื่องมือวางแผนภาษีที่ใครๆหลายคนเลือกเป็นตัวเลือกแรกๆ แต่ทว่าคนส่วนใหญ่จะมองแค่ว่ามันลดภาษีได้เป็นหลัก หลายๆคนก็เลยปาลูกดอกเล่น ซื้อกองทุน LTF เจ้าไหนก็ได้เอาฉันสะดวกพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดครับ!

LTF คือ กองทุนรวมที่ลงทุนใน “หุ้น” ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทยหรือ “SET” ดังนั้น การถือครองถึง 7 ปีย่อมทำให้ผลตอบแทนของกองทุนสะท้อนผลตอบแทนหุ้นได้อย่างดี (จากสถิติคำนวณย้อนหลัง 2002 – พฤศจิกายน2015 Rolling Return ของผลตอบแทนตลาดหุ้นรวมเงินปันผลอยู่ที่ 13.5% กว่าต่อปี หมายความว่า ถ้าคุณลงทุนในหุ้นวันไหนก็ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว แล้วถือยาวถึง 7 ปี ผลตอบแทนที่ได้รับจะเฉลี่ยอยู่ที่ 13.5% ต่อปี และที่น่าสนใจคือ ค่าต่ำสุดของผลตอบแทนคือ 5.1% นั่นหมายความว่า ในช่วงเวลาที่ทดสอบย้อนหลังนั้น ารถือครองหุ้นทั้งตลาดเป็นเวลา 7 ปี ตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกตลอด ไม่ขาดทุน  โดยคุณสามารถลงทุนอย่างเรียบง่าย สบายๆ เพียงแค่ลงทุนหุ้นทั้งตลาดแล้วถือครองให้ยาวพอ ด้วยวิธีที่ดีที่สุดในการจะทำแบบนี้ คือ ซื้อ ” Index Fund” หรือกองทุนดัชนี

คำถามก็คือ ถ้าเราเลือกลงทุน LTF โดยใช้ Active Funds หรือกองทุนที่จ้างผู้จัดการกองทุนมาเลือกหุ้นให้ ในเวลา 10 ปีย้อนหลังที่ผ่านมามีกี่กองที่ทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น(รวมเงินปันผลทบต้น)

จากการดึงข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2015 ย้อนหลังไป 10 ปี เราจะได้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นรวมเงินปันผลทบต้น (SET Index Total Return หรือ “SET TR”) ที่ 11.79% ต่อปี ในขณะที่ กองทุน LTF ที่ตั้งเกิน 10 ปีมาแล้วมี 26 กองทุน ผลตอบแทนเฉลี่ยของพวกเขาคือ 10.21% (สูงสุด 15.65% ต่ำสุด 4.2%) ซึ่งจะมีเพียง 6 กองทุนจาก 26 กองที่ชนะ SET TR หรือคิดเป็น 22% เท่านั้น หมายความว่า กองทุนประมาณ 80% ทำผลตอบแทนได้น้อยกว่าตลาดหุ้น โดยน้อยกว่าเฉลี่ย 1.58% ต่อปี !!!!  หรือทำผลตอบแทนได้เพียง 86.5% ของผลตอบแทนรวมตลาดหุ้น

10Y
Data as of 27/11/2015  source : Morningstar, SET

จากข้อมูลข้างบน เราจะตั้งข้อสังเกตกันได้อีกครับ ถ้าเราซื้อกองทุนดัชนีที่ใกล้เคียงที่สุด คือ กรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50 ซึ่งได้ผลตอบแทน 9.8% ต่อปี ก็ยังห่างจากผลตอบแทน SET TR ถึง 1.99% ต่อปี และทำผลตอบแทนชนะกองทุนได้เพียงแค่ 10 กองทุน (ชนะประมาณ 40% ของกองทุนทั้งหมด) ซึ่งผมกำลังจะชี้ให้เห็นว่า แม้ผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นจะชนะกองทุนได้กว่า 80% แต่กองทุนดัชนีที่เลียนแบบตลาดหุ้นกลับชนะได้น้อยกว่ามากๆ นั่นก็เพราะเหตุผลเดียวคือ ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม (Total Expense Ratio) ครับ นั่นคือ ถ้ากองทุนดัชนีพวกนี้คิดค่าใช้จ่ายน้อยลงจะทำให้โอกาสที่พวกมันจะชนะกองทุนบริหารทั้งหลายนั้นสูงขึ้นมาก

การที่กองทุน Active Funds (LTF) ส่วนใหญ่แพ้ตลาดหุ้นในระยะยาว ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับทางตะวันตกครับ ซึ่งได้พิสูจน์กันมาแล้วว่า ระยะยาว กองทุนบริหารที่คัดเลือกหุ้นมีน้อยมากที่ระยะยาวจะทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น ยิ่งกองดัชนีในต่างประเทศ อย่างเช่น ของประเทศสหรัฐอเมริกา คิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนเพียงปีละ 0.05% ต่อปียิ่งทำให้พวกมันทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงตลาดหุ้นจริงๆ จึงทำให้พวกกองทุนบริหารกว่า 70-80% ไม่สามารถทำผลตอบแทนดีกว่าพวกมันได้

ประเด็นสั้นๆ 1 บรรทัดที่สำคัญคือ ในระยะยาวนั้น

“ค่าใช้จ่ายบ่งบอกผลตอบแทนที่คุณจะได้รับในอนาคตมากที่สุด”

เพราะในระยะยาวมีกองทุนน้อยมากที่จะทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น คุณแทบจะทำนายไม่ได้เลยว่าอีก 20-30 ปีข้างหน้ากองทุนไหนจะทำผลตอบแทนได้ที่ 1 หรือ 2 เพราะฉะนั้นการมานั่งเสียเวลาไปกับการไล่ล่าหากองทุนที่ผลตอบแทนดีเป็นการเปล่าประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่เชื่อลองดู 5 ปีล่าสุดก็ได้ครับ

5 ปีล่าสุดนั้น ผลตอบแทนของกองทุน LTF เฉลี่ยอยู่ที่ 7.52% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของ SET TR อยู่ที่ 10.39% ต่อปี ส่วนต่างคือ -2.87% ต่อปี หรือเท่ากับว่ากองทุน LTF ส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนหายไปซึ่งคิดเป็น 27% ของผลตอบแทนตลาดหุ้นที่คุณควรจะได้รับครับ และมีเพียง 11 จาก 52 กองทุนเท่านั้นที่ชนะ SET TR (เท่ากับว่ามีแค่ 20.8%จากทั้งหมดที่สามารถชนะตลาดหุ้นได้)โดยลำดับก็ไม่เหมือนเดิมกันด้วย เพราะ 6 กองทุนที่ชนะ SET TR ของ 10 ปีที่แล้ว โผล่มาชนะในรอบ 5 ปีนี้แค่ 4 กองทุนเท่านั้น

5Y

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ลองทำแบบ 3 ปีย้อนหลังบ้างครับ คราวนี้มี LTF แค่ 10 กองเท่านั้นที่ทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น ( ประมาณ 80% ของกองทุนจาก 52 กองทุนพ่ายแพ้กับตลาดหุ้นอีกแล้ว) โดยผลตอบแทนของกองทุน LTF เฉลี่ยครั้งนี้อยู่ที่ 3.42% ต่อปี ในขณะที่ SET TR อยู่ที่ 5.15% นั่นคือ ส่วนต่างความพ่ายแพ้ครั้งนี้อยู่ที่ 1.73% ต่อปีครับ หรือกองทุน LTF ส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนได้เพียงแค่ 66.4% จากที่ตลาดหุ้นทำได้ (ขออนุญาตไ่ม่ใส่รูปครับ)

มาถึงตรงนี้ เราก็ได้ตัวเลขสักทีว่า กองทุนที่มีผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลังชนะตลาดหุ้น ซึ่งมีทั้งหมด 6 กองทุนนั้น มี 4 กองทุนที่สามารถชนะตลาดหุ้น 5 ปีย้อนหลังได้ และเหลือแค่  3 กองทุนเท่านั้นที่ชนะในช่วงเวลา 3 ปีย้อนหลัง ซึ่งใน 3 กองนี้มีเพียงแค่กองเดียวที่ชนะ ทั้งช่วงเวลา 10 ปี 5 ปี 3 ปี แถมถ้าทำการติดตามต่อในปีล่าสุด (2015) ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีล่าสุด กองดังกล่าวได้แพ้ตลาดหุ้นไปเรียบร้อยยยย

ผมกำลังจะชี้ให้เห็นครับว่าในระยะยาวแล้ว ไม่มีผู้ชนะในวงการกองทุนรวมหุ้นที่ถาวร ทุกช่วงเวลาจะมีกองทุนกลุ่มหนึ่งที่ชนะตลาดหุ้นแล้วก็จะกลับมาแพ้ หรืออาจจะหายไปเลย การมานั่งไล่หาว่ากองทุนไหนชนะตลาดหุ้นในปีนี้ ปีหน้า 3 ปี 5 ปี 10 ปีข้างหน้า เสียเวลาเปล่าๆครับ ทางเลือกที่ดีที่สุดที่พิสูจน์กันมาแล้วในฝั่งตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว คือ “ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด” (Stay invest & Stay hold index fund) 

ซึ่งตรงนี้บ้านเรามี LTF กองดัชนีค่าใช้จ่ายต่ำสุดก็ประมาณ 0.7-0.8% ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างสูง ทำให้มันยังไม่สามารถโชว์ผลตอบแทนที่โดดเด่นออกมาได้  แต่ SET TR ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า กองทุนผู้ชนะตลาดหุ้นในระยะยาวนั้นหาได้ยากมาก ยิ่งนานเท่าไหร่ยิ่งงมยากเหมือนเข็มในกองฟาง จึงได้แต่หวังว่าสักวันจะมีบลจ.สักที่ที่คิดค่าใช้จ่ายกองทุนรวมดัชนีต่ำๆ เพื่อประโยชน์ของนักลงทุนครับ

วัตถุประสงค์สำคัญในการเขียนบทความนี้ของผมขึ้นมาก็คือ อยากให้นักลงทุนได้รับรู้ข้อมูลว่าจริงๆแล้ว “กองทุนหุ้นโดยส่วนใหญ่ในระยะยาวทำผลตอบแทนได้แพ้ตลาดหุ้น” แม้แต่กองทุนที่ชนะตลาดหุ้นในวันนี้ อนาคตก็อาจจะแพ้ได้ เพราะมันวกกลับสู่ค่าเฉลี่ย “Reversion to the Mean” (RTM)

ซึ่งปัจจัยสำคัญอันแรก ก็คือ กองทุนไม่สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเกินได้ อาจจะมาจากฝีมือการคัดเลือกหุ้นที่พลาดไป หรือ เพราะความมีประสิทธิภาพของตลาดหุ้นเองทำให้การชนะมันเป็นเรื่องที่ลำบาก

ผสมกับปัจจัยที่สองที่สำคัญกว่า นั่นคือ

“ระยะยาวแล้วค่าใช้จ่ายรวมของกองทุนทำลายผลตอบแทนของนักลงทุนมากที่สุด”

 เพราะต่อให้ผู้จัดการกองทุนทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้นถึงปีละ 1.2% แต่ถ้าค่าใช้จ่ายรวมต่อปีของกองทุนคือ 2-3% ต่อปี ยังไงก็แพ้ตลาดหุ้นอยู่ดีครับ

ถ้าระยะยาวตลาดหุ้นทำผลตอบแทนได้ประมาณ 10% ต่อปี การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกองทุนปีละ 2-3% ต่อปี เท่ากับว่าคุณต้องเสียผลตอบแทนที่ควรได้รับไปถึง 20-30% เลยทีเดียว


 

บนโลกการลงทุนสมัยนี้ที่ใครๆก็พยายามจะหาวิธีเลือกกองทุนหุ้นอย่างเช่น LTF ที่มีผลตอบแทนสูงสุด ไล่ล่าเสียเวลาไปกับการนั่งติดตามการจัดอันดับ คำแนะนำคือ เราไม่ควรทำแบบนั้นตามฝูงชน ครับ

สำหรับแนวทางในการลงทุน LTF จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า

A) ลงทุนในกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีสม่ำเสมอ และเราสบายใจในการถือ

B) เชื่อมั่นในกองทุนดัชนีโดยเลือกลงทุนในกองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด

เพราะทั้งนี้ยังมีอีกหลายสิ่งที่จะวัดว่าระยะยาวผลตอบแทนของนักลงทุนจะดีหรือไม่ อย่างเช่น การอดทนถือกองทุนให้ได้ยาวๆ เกิน 10 ปีขึ้นไป, การมีวินัยในการซื้อกองทุน ฯลฯ เพียงแต่ว่าบันไดก้าวแรกควรจะต้องรู้ตัวเองก่อนครับว่า การเสียเวลาไปกับการหากองทุนร้อนแรง การนั่งดูผลตอบแทนย้อนหลัง การนั่งฟังคนขายพูดถึงผลตอบแทนล่าสุด หรืออ่านบทความแนะนำกองนู้นนี่นั้น เป็นเรื่องที่เสียเวลาเปล่าๆ เพราะ Past Performance ผลตอบแทนย้อนหลัง ทำนายอนาคตแทบจะไม่ได้เลย ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ เราจะได้เลิกนั่งติดตามกองทุนต่างๆ และเอาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นที่ส่งผลดีกับการลงทุนของเราครับผม ^^


บทความนี้เขียนขึ้นโดยต้องการให้ความรู้กับนักลงทุน และไม่มีวัตถุประสงค์ในการชี้ชวนหรือแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด