คลังเก็บป้ายกำกับ: Stock-Equity

เงินปันผล : หัวใจแห่งผลตอบแทนของหุ้น

เงินปันผล คือ หัวใจของผลตอบแทนระยะยาวของหุ้น คุณเชื่อหรือไม่?

จากกระทู้เดิม SET Index v. SET TRI ที่เคยทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนของตลาดหุ้นว่า จริง ๆ แล้วผลตอบแทนสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลทบต้น (dividend re-invest) แต่ข้อมูลที่นำมาใช้ คือ ช่วง Jan 2002 – Jan 2017 : ก็ประมาณ 15 ปี

หากแต่ล่าสุดผมได้ข้อมูลครบตั้งแต่เปิดตลาด  (ต้องขอบคุณ งานนำเสนอของบลจ.กรุงศรี ที่ทำให้ต่อจิ๊กซอว์ได้ครบมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ) เพราะผมขาดข้อมูล SET TRI ช่วงปี 1975-2001 (หรือช่วง พ.ศ. 2518-2544) ได้ภาพด้านล่างนี้เลยต่อยอดได้เลย

SET TRI by KSAM

เงินปันผล คือ หัวใจของผลตอบแทนตลาดหุ้น

เพราะฉะนั้นเราจะมาดูกันว่า ตั้งแต่เปิดตลาดหุ้น เมษายน 2518 – ธันวาคม 2559 (April 1975 – Dec 2016) หรือเป็นเวลา 42 ปี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แบบคำนวณราคา SET Index (SET PR) ที่โชว์หราอยู่ทุกวันนี้ กับผลตอบแทนรวมของตลาดหลักทรัพย์ที่คิดคำนวณรวมเงินปันผลทบต้นไปด้วย (SET TRI) ส่วนต่างจากพลังของผลตอบแทนเงินปันผลเป็นอย่างไรบ้าง?

และนี่คือ ผลลัพธ์ที่มหัศจรรย์ อันบอกเราอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งดั่งแสงตะวันได้ว่า เงินปันผล คือ หัวใจของผลตอบแทนจากตลาดหุ้น เพราะถ้าคุณนำมันมาลงทุนแบบทบต้น โอ้โหว โปรดดูนี่ครับ

SET PR v TR 1975-2016.JPG

จากจุดสตาร์ทเริ่มต้น ณ วันที่ตั้งตลาดหุ้น คือ เมษายน 2518 ดัชนีทั้งสองเริ่มที่ 100 จุด หากแต่เมื่อเวลาผ่านไป 40 กว่าปี ท่านจะเห็นได้ว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม ปี 2559 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) อยู่ที่ 1542.94 จุด หากแต่ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET Index Total Return) อยู่ที่ 9065.29 !!!

นั่นเท่ากับว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ส่วนของราคา (price index) คิดเป็นแค่ 17% ส่วนที่หายไปกว่า 83% คือผลตอบแทนจากเงินปันผลที่นำมาทบต้น อื้อ หือออ ข้อสรุป ณ ตรงนี้คือ

ในระยะยาวแล้ว ผลตอบแทนที่สำคัญที่สุดของตลาดหุ้นที่เป็นหัวใจอย่างแท้จริง คือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลทบต้น เพราะคิดเป็นร้อยละ 80-85 ของผลตอบแทนรวมทั้งหมดของ ถ้าคุณลงทุนถึง 40 กว่าปี

นอกจากนี้ระยะเวลา 41 ปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ยังให้ผลตอบแทนทั้งหมด (SET TRI) คิดเป็นอัตราผลตอบแทนทบต้นถึง 11.33% ต่อปีด้วย (หากคิดปัดเต็มเป็น 42 ปี) แต่หากคิดปี 1975 ซึ่งมีแค่ช่วง 30/04/75 ถึงสิ้นปีก็จะได้ผลตอบแทนที่ประมาณ 11.4% ต่อปีครับ

ประเด็นความคิดเรื่อง เงินปันผล

(1) ผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นไทยในอดีต ค่อนข้างใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นอื่น ๆ ที่ประมาณ 9-11% ทบต้นต่อปี โปรดขีดเส้นใต้คำว่ายาว กรณีนี้คือลงทุน 40 กว่าปี ระยะเวลาลงทุนต่ำกว่า 10 ปีไม่นับว่ายาว และแน่นอนว่าคนที่ลงทุนแค่ 1-2 ปีจะใช้คำว่ายาวไม่ได้ พวกลงทุนหลักวัน หลักเดือนยิ่งห่างไกลลิบ ๆ

(2) ผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นที่แท้จริง เกิดจากพลังของดอกเบี้ยทบต้นเงินปันผล นั่นคือ การนำเงินปันผลที่ได้รับมาลงทุนกลับ (dividend re-invest) เป็นการพิสูจน์สิ่งที่อ่านมาจากหนังสือหลายเล่ม[1. มีหนังสือหลายเล่มมากที่บอกว่า ผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นจริง ๆ แล้วนั้น เงินปันผลเป็นสัดส่วนใหญ่และสำคัญที่สุดของผลตอบแทนตลาดหุ้น ช่น หนังสือ Stock for the Long Run ของ Jeremy J. Siegel หรือหนังสือ John Bogle on Investing และ Bogle on Mutual Funds ของ John C. Bogle ครับ ซึ่งความสำคัญของเงินปันผลยังรวมไปกรณีของหุ้นรายตัวด้วยเช่นกัน เพราะเงินปันผลทบต้นส่งผลให้การลงทุนในหุ้นบางตัวได้ผลตอบแทนสูงมาก ๆ ด้วย อาทิ หุ้นบริษัท Phillip Morris, Exxon Mobil]

(3) เงินปันผลในข้อ 2 ไม่ได้หมายถึง เงินปันผลของกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผล ใครไม่เข้าใจ โปรดอ่านอันนี้ครับ > ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับ “กองทุนปันผล”

(4) จากข้อ 2 คงเห็นแล้วนะครับว่า หัวใจของผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้น มาจากการลงทุนให้นาน ลงทุนถือครองหุ้นไปเรื่อย ๆ ได้เงินปันผลก็นำมาลงทุนกลับ อย่างกรณีกองทุนรวมที่ไม่จ่ายปันผล จะทำการ re-invest อัตโนมัติ ก็เบาภาระเราไปได้ ไม่ต้องซื้อหุ้นลงทุนทบต้นเอง ถ้าถามว่าผลตอบแทนจากเงินปันผลทบต้นเยอะขนาดไหน ระยะยาวมาก ๆ เกือบครึ่งชีวิตจากข้อมูลข้างบนก็คือ ร้อยละ 85 ของผลตอบแทนรวมกันเลยทีเดียว

(5) เมื่อรู้แบบนี้แล้ว อย่าไปติดภาพมายาที่เห็นว่าตลาดหุ้นยังไม่ไปไหน แล้วก็บอกผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนไม่มีหรอก เลยพยายามซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นหรือกองทุนหุ้น

เพราะฉะนั้น เพื่อให้ได้รับพลังจากเงิ้นปันผลทบต้น เราต้องลงทุนระยะยาวอย่างมีวินัยครับ และลงทุนโดยให้อยู่ในลักษณะของการ re-invest นำเงินปันผลมาลงทุนทบต้นตลอดเวลาครับ สู้ ๆ

วงจรล้มเหลวแบบรถไฟเหาะของนักลงทุน

รูปข้างล่างนี้ กราฟเส้นสีดำคือดัชนีตลาดหุ้น SET INDEX  ส่วนเส้นอื่น ๆ คือ จำนวนหน่วยของกองทุนรวมหุ้น (ปรับให้หลักเท่า ๆ กัน) ถ้าเส้นกองทุนเพิ่มสูงขึ้นแสดงว่า มีจำนวนหน่วยของกองทุนเพิ่ม นั่นคือ มีนักลงทุนเข้ามาเติมเงินซื้อกองทุน ที่ยกมามีกองทุน ABG (อเบอร์ดีนโกรท) TMB50 (ทหารไทยSET50) KFSDIV (กรุงศรีหุ้นปันผล) และ BKA (บัวแก้ว) พวกนี้ล้วนเป็นกองหุ้นกองใหญ่ ๆ ของประเทศไทยที่คนชอบลงทุนกันครับ

934129_1760966617464850_7167614988469173382_n

รูปข้างบนนี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมนักลงทุนในกองทุนส่วนใหญ่ ระยะยาวแล้วพวกเขาน่าจะได้ผลตอบแทนที่น้อยมาก จนถึงขั้นน่าจะขาดทุนกันอย่างแน่นอน สรุปง่าย ๆ ให้เห็นภาพเป็นวัฏจักร

ช่วงที่ (1) เวลาที่หุ้นตก นักลงทุนส่วนใหญ่จะขายกองทุนทิ้ง หรือไม่ได้ทำอะไรเลย คือ จะมีนักลงทุนส่วนหนึ่งที่ตกใจก็ขายออกไป แต่ส่วนใหญ่จะช็อก แล้วก็อยู่เฉย ๆ อาจจะเพราะทำใจขายไม่ได้ ขาดทุนหนักเกิน โปรดดูช่วงกรอบแดงที่ตลาดหุ้นตกหนัก ๆ จำนวนหน่วยของกองทุนมักจะลดลงหรือไม่ก็คงที่ มีซื้อเพิ่มนิด ๆ เช่น ปลายปี 2008 วิกฤต Subprime หรือปลายปี 2011 ช่วงน้ำท่วมใหญ่ หรือปลายปี 2013 ช่วงที่ตลาดหุ้นไปแตะดอย 1650 จุด แล้วก็ตกมาแรง ๆ)

ช่วงที่ (2) เวลาที่ตลาดหุ้นเริ่มขึ้นเป็นช่วงกระทิงต้น ๆ กำลังค่อย ๆ ฟื้นขึ้นมา เช่น หลังวิกฤตซับพาร์มช่วงปี 2010 หรือต้นปี 2012 จำนวนหน่วยจะลดลงฮวบฮาบเลยครับ นักลงทุนส่วนใหญ่จะเริ่มขายทิ้ง เพราะหน่วยลงทุนที่ถือเริ่มพลิกจากกำไรมาเท่าทุน หรือได้กำไรขึ้นมานิดหน่อย และพวกเขาไม่ลืมความเจ็บปวดที่พึ่งผ่านพ้นไป เพราะฉะนั้น นักลงทุนก็จะออกจากตลาดหุ้นโดยขายกองทุนทิ้งกะแค่เท่าทุน หรือกะว่าได้กำไรน้อย ๆ แค่นี้ ซึ่งในมุมของพวกเขานั้น การเท่าทุนหรืออย่างน้อยกำไรนิดเดียวก็ควรเก็บกำไรก้อนนิด ๆ นั้นไว้ไว้ดีกว่า เพราะพวกนักลงทุนฝังใจว่า ถ้าไม่ขาย เดี๋ยวกำไรหายหมดอีกรอบ

แต่ถ้าดูต่อจะพบว่า จำนวนหน่วยกองทุนทะยานมาก ๆ ช่วงที่ (3) กระทิงปลาย ๆ (ที่ตลาดหุ้นกำลังจะร่วงต่อในอีกไม่ช้า) แสดงว่า เม็ดเงินนักลงทุนไหลกลับเข้ามาซื้อกองทุน ให้ทายคือ พวกเขาจะบอกว่า แม่งเอ้ย ตกรถ! หรือไม่ก็ เฮ้ย! นี่มันขาขึ้นจริง ๆ นี่หว่า เนื่องจากพวกเขาต้องรอให้ชัดเจนแน่ใจว่านี่คือตลาดกระทิงที่ทะยานอย่างรุนแรง พวกเขาจึงจะเริ่มเชื่อและเอาเงินกลับมาลงทุนหนัก ๆ เพื่อเอาคืนซึ่งเงินที่เคยขาดทุนไปตอนสมัยช่วง (1)

บทสรุปสุดท้ายคือ พอตลาดหุ้นตกอีกรอบ นักลงทุนส่วนใหญ่ก็จะกลับไปที่โหมด (1) (2) (3) แล้ววงจรนี้ก็หมุนซ้ำไปเรื่อย ๆ ทำให้เห็นว่า นักลงทุนพยายามกะจังหวะตลาดเข้าออก จับจังหวะซื้อขาย (market timing) แต่จากรูปน่าจะได้เห็นแล้วนะครับว่า ส่วนใหญ่คนที่ลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะขาดทุนในระยะยาว เพียงแค่เพราะเหตุว่า พวกเขาไม่สามารถทนถือกองทุนหุ้นให้ผ่านความผันผวนไปได้ พวกเขาเชื่อว่าเก็งกำไรระยะสั้นน่าจะกำไรกว่า เข้าเร็วออกเร็วน่าจะรวยกว่า แต่สถิติก็คงจะให้เห็นแล้วนะครับว่าพวกเขานั้น “ช้าไปหนึ่งก้าวเสมอ” 

นักลงทุนที่อยากประสบความสำเร็จในการลงทุนกองทุนหุ้น ควรจะหลีกเลี่ยงวัฏจักรวงจรล้มเหลวแบบรถไฟเหาะนี้ ด้วยการลงทุนถือกองทุนหุ้นให้ยาว ๆ ครับ คุณต้องลงทุนระยะยาวผ่านความผันผวนให้ได้ ลงทุนเป็นระยะเวลา 10 ปี+ ขึ้นไปยิ่งดี พยายามถือกองทุนอดทนให้ผ่านความเจ็บปวดช่วงสั้น ๆ ให้ได้ ระยะยาวคุณถึงจะได้ผลตอบแทนก้อนโต และถูกจัดเป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ได้เงินไปจากตลาดหุ้น น่าแปลกที่ว่า เงินมักจะไหลออกจากคนที่อยู่เฉยไม่เป็น คนที่อยู่นิ่ง ๆ มักจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เพราะการเคลื่อนไหวในตลาดหุ้นนั้นมีค่าใช้จ่ายแฝงอยู่เสมอ อาจจะเป็นธรรมชาติของตลาดหุ้นมั้งครับ ที่กระตุ้นเร้าให้คนซื้อ ๆ ขาย ๆ พอไม่มีวินัยในการลงทุนกำกับ คนส่วนใหญ่ถึงไม่ค่อยรวยจากการลงทุน

ความเสี่ยง (risks)

นอกจากผลตอบแทนและค่าใช้จ่ายแล้ว อีกด้านของสามเหลี่ยมในการลงทุนก็คือ ความเสี่ยง (risks) ซึ่งไอ้คำว่า ความเสี่ยง เนี่ย เป็นปัญหาในวงการเงินอย่างมาก ผมถือตามคำอธิบายของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ว่า ความเสี่ยง คือ ความไม่รู้ ซึ่งเพราะคุณไม่รู้ว่าความเสี่ยงของสิ่งที่คุณกำลังจะลงทุนมันคืออะไร ทำให้ความเสียหายที่ได้รับมันสูงมาก เพราะแม้จะเป็นการลงทุนที่ดูเหมือนจะเสี่ยงสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าคุณเข้าใจมันดี คุณจะมีวิธีการลงทุนพร้อมวินัยที่จะรับมือกับมันได้ ความเสี่ยงที่สำคัญมาก ๆ ของคนส่วนใหญ่ คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่คิดว่าตัวเองรู้ แต่จริง ๆ แล้วตัวเองไม่รู้ครับ เพราะมันจะพาไปเจ๊งได้ง่ายที่สุด

นอกจากนี้ความเสี่ยงที่คุณพึงระวังไว้ คือ ความเสี่ยงที่จะทำให้เราสูญเสียเงินไปทั้งหมด ในการลงทุน เงินต้นหรือทุน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้น กลยุทธ์ที่หนึ่งคือ อย่าขาดทุน ! ซึ่งอย่าขาดทุนในที่นี้คือ อย่าขาดทุนจนเงินต้นสูญหมดในระยะยาวครับ เพราะการลงทุนบางอย่าง เช่น คุณลงทุนในหุ้นระยะยาว คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกที่ในระยะสั้น เงินลงทุนของคุณจะผันผวน ขาดทุนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ บ้าง ข้อนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี บางคนลงทุนในกองทุนหุ้น 10,000 บาท ผ่านไป 2 สัปดาห์เงินต้นขาดทุนไป 500 บาทก็ไม่เอาแล้ว ขายทิ้ง การขาดทุนแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผมพูดถึงนะครับ เพราะระยะเวลาในการลงทุนช่วงหนึ่ง คุณต้องมีเงินลงทุนที่มูลค่าลดลงอยู่แล้วล่ะ ถ้าหุ้นมันตก แต่ในระยะยาวตลาดหุ้นควรจะให้ผลตอบแทนคาดหวังที่เป็นบวก ถ้าคุณถือครองไปเกิน 10-15 ปีได้ อันนี้ล่ะครับ ระยะยาวมันไม่ขาดทุน เพราะฉะนั้น ถ้าคุณลงทุนในหุ้นระยะยาว คุณจะไม่เสี่ยง ซึ่งสิ่งนี้ต้องเกิดจากความเข้าใจ และมีทัศนคติคุมไปตลอดระยะเวลาที่จะลงทุน ผ่านตลาดหุ้นตก หุ้นขึ้น ให้ได้

หากแต่ความเสี่ยงสำคัญในการลงทุนหุ้น (เช่น ลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้น) จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ ความเสี่ยงระดับตลาด (market risk) กับความเสี่ยงอื่นที่ไม่ใช่ความเสี่ยงตลาด ว่าแต่ Market Risk คืออะไร

ความเสี่ยงระดับตลาด เป็นความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภทนั้นในระดับภาพรวมทั้งหมดครับ เช่น ความเสี่ยงระดับตลาดของหุ้น ก็คือ ความเสี่ยงที่หุ้นทั้งตลาดจะต้องแบกรับ พูดให้เข้าใจง่าย ก็คือ ถ้าคุณถือหุ้นทั้งตลาด ไอ้การที่หุ้นตกเนี่ย คุณก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงที่หุ้นมันตก แล้วมูลค่าความมั่งคั่งของคุณลดลง ซึ่งเราอาจจะพูดได้อีกทางว่า มันเป็นความเสี่ยงระดับกว้างของการลงทุนหุ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น ทุกคนที่ลงทุนในหุ้นจะหลีกหนีความเสี่ยงระดับตลาดของหุ้นไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่ขจัดไม่ได้ ต้องยอมรับมัน ถ้าอยากจะถือหุ้น

ในขณะที่ความเสี่ยงอื่นที่ไม่ใช่ความเสี่ยงตลาด ผมจะเรียกมันว่า ความเสี่ยงที่คุณเลือกที่จะแบกรับเอง เพราะจริง ๆ แล้วคุณสามารถเลือกขจัดมันทิ้งไปได้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ความเสี่ยงของหุ้นหรือหลักทรัพย์รายตัว (the risk of selecting specific securities) ก็เข้าใจง่าย ๆ เลย คุณไม่ลงทุนในหุ้นทั้งตลาด คุณเลือกหุ้นเป็นรายตัว เพราะฉะนั้นมันจะเกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมา ขึ้นอยู่กับว่าคุณไปลงทุนในหุ้นอะไร ความเสี่ยงพวกนี้จะหลากหลาย เช่น บริษัททำยอดขายได้ตกฮวบฮาบ ขาดทุน บริษัทเจ๊งล้มละลาย ผู้บริหารของบริษัทลาออก ฯลฯ
  • ความเสี่ยงของอุตสาหกรรม (sectors risk) อันนี้ลองนึกภาพนักลงทุนที่ชอบซื้อกองทุนรวมที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เขาคิดว่ามันร้อนแรง และจะทำผลตอบแทนในอนาคตได้มาก จึงเลือกจะ bet กับอุตสาหกรรมเดียว หรือลงทุนในไม่กี่อุตสาหกรรม เช่น health care, aging, IT, oil, premium brands, digital นักลงทุนก็จะแบกรับความเสี่ยงเฉพาะ เช่น ถ้าลงทุนในหุ้นอุตสาหกรรมสุขภาพอย่างเดียว นักลงทุนก็จะต้องเจอความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้น ๆ เช่น เรื่องของใบอนุญาต เรื่องของนโยบายของรัฐ เรื่องของการแข่งขัน เรื่องของอนาคตของอุตสาหกรรมดังกล่าวว่าจะดีหรือแย่

นอกจากนี้ นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้น นักลงทุนยังต้องแบกรับความเสี่ยงอีก ถ้านักลงทุนลงทุนในกองทุนแบบบริหารเชิงรุก (active funds) ได้แก่

  • manager risk  อันนี้ก็คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากผู้จัดการกองทุน หรือความเสี่ยงจากสไตล์การลงทุนที่เปลี่ยนไปของกองทุนแอ็คทีฟที่คุณเลือกลงทุน เช่น ผู้จัดการกองทุนคนนี้ถูกย้าย หรือ ผู้จัดการกองทุนกองนี้ฝีมือห่วยมาก ๆ (ซึ่งเราจะรู้ในอนาคต) หรือผู้จัดการกองทุนและบลจ.ที่บริหารกองทุนนี้เปลี่ยนสไตล์ลงทุน หรือแม้กระทั่งกลุ่มผู้บริหารกองทุนลาออก ไปตั้งบริษัทใหม่ หรือถูกซื้อตัวยกทีม ความเสี่ยงพวกนี้ถือว่านักลงทุนจะต้องแบกรับ ถ้านักลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนแบบ active
  • style drift อันนี้เป็นความเสี่ยงประเภทที่ว่า การที่เราไปลงทุนในกองทุน active นั้น ถ้าผู้จัดการกองทุนหรือบลจ.ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปจากที่เราเคยเชื่อ มันจะส่งผลกระทบมาก เพราะนักลงทุนเองจะสูญเสียการควบคุมพอร์ตลงทุนบางอย่าง เช่น พอร์ตจัดสรรสินทรัพย์ของคุณจะเบี่ยง เพราะสมมติถ้าคุณแบ่งเงินลงทุน 100% เป็นหุ้น 50% ตราสารหนี้ 50% แต่คุณลงทุนกองทุนหุ้นแบบเชิงรุก ซึ่งปกติเขาจะถือเงินสดไว้จับจังหวะลงทุน ทำให้สัดส่วนหุ้นที่คุณต้องการลงทุน 50% มันไม่ถึง 50% ครับ การจะลงทุนให้ได้สัดส่วนหุ้นเป๊ะ คุณควรจะต้องเลือกกองทุนดัชนีหุ้นและหลีกเลี่ยงกองทุน active ซะ หรืออีกกรณีคือคุณวางแผนว่ากองทุนนี้จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นแบบที่คุณถูกใจ แต่พอเปลี่ยนแนวลงทุน สไตล์ที่คุณวางไว้มันก็เปลี่ยน พอร์ตลงทุนในภาพรวมของคุณก็จะเพี้ยนไปเลย สมมติว่า คุณบอกคุณจะซื้อกองทุนเชิงรุกที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก (mid-small cap) แต่คุณจะสังเกตได้ว่าในหนังสือชี้ชวนมักจะเปิดช่องว่า ไม่เป็นการห้ามให้ลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ ถ้าผู้จัดการกองทุนเห็นว่า หุ้นขนาดใหญ่จะให้ผลตอบแทนดีกว่า แบบนี้สไตล์ลงทุนของภาพรวมทั้งหมดของคุณก็เปลี่ยนแล้ว นี่ล่ะครับสไตล์ดริ๊ฟต์

จะเห็นได้ว่า แค่แบกรับความเสี่ยงแบบตลาด (market risk) อย่างเดียวก็ถือว่าหนักแล้ว การจะเพิ่มความเสี่ยงอย่างอื่นนั้น บางทีก็ไม่จำเป็นเลย เผลอ ๆ จะทำให้แบกรับความเสี่ยงมากขึ้น โดยที่ผลตอบแทนระยะยาวแย่ลงไปอีก (พบได้บ่อยสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ซื้อกองทุน active ที่ปรากฏว่าผลตอบแทนระยะยาวในอนาคตต่อไปจะแย่มาก ๆ)

การลงทุนที่จะจำกัดให้คุณแบกรับแค่ภาระความเสี่ยงจากตลาด ก็คือ กองทุนดัชนี (index funds) ครับ กองทุนดัชนีจะกำจัดความเสี่ยงประเภทหุ้นรายตัว (individual stocks risk) ความเสี่ยงอุตสาหกรรม (market sectors risk) กำจัดความเสี่ยงจากผู้จัดการกองทุน (risk of manager selection) และหมดปัญหาเรื่อง style drift ความเสี่ยงอย่างเดียวที่เหลืออยู่คือ ความเสี่ยงตลาด (market risk) ซึ่งนั่นก็เพียงพอแล้ว

ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่ง การถือครองกองทุนดัชนีที่ถือหุ้นทั้งหมด (เกือบทั้งตลาดหุ้น) เป็นกลยุทธ์ที่ลดความเสี่ยงลงอย่างมาก เพราะแทนที่จะแบกรับความเสี่ยง 5-6 ประเภทความเสี่ยง คุณก็จะเหลือแค่ความเสี่ยงเดียว คือ ความเสี่ยงจากตลาด ซึ่งตรงนี้วิธีลดความเสี่ยงลงไปอีก เราอาจจะอาศัยการผสมสินทรัพย์ลงทุน ด้วยการจัดสรรเงินลงทุนส่วนหนึ่ง ไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น ตราสารหนี้ หรือ อสังหาริมทรัพย์ ครับ¹

โดยสรุป

ความเสี่ยงทั้งหมดที่อธิบายมา จริง ๆ แล้วนักลงทุนแบกรับแค่ความเสี่ยงระดับตลาด (market risk) ก็พอแล้วครับ และวิธีที่จะกำจัดความเสี่ยงอื่นได้อย่างดี คือ การลงทุนในกองทุนดัชนีแบบคลาสสิก กองทุนดัชนีที่ลงทุนเลียนแบบดัชนีแท้ ๆ ของตลาดหุ้น (พวกดัชนีที่ลงทุนเลียนแบบเกือบทั้งตลาดหุ้น เป็นดัชนีแบบถ่วงน้ำหนักตลาด ถ้าหุ้นไทยก็ ดัชนี SET, SET50, SET100 นั่นล่ะครับ) ถ้าพิจารณาในแง่ความเสี่ยง กองทุนดัชนี น่าจะเป็นกองทุนเดียวที่สามารถถือครองได้ระยะยาวแบบสบายใจ เพราะว่า

  1. มีการกระจายความเสี่ยงที่เพียงพออย่างมาก เพราะได้ถือครองหุ้นเกือบทั้งตลาด หรือไม่ก็น้ำหนักเกือบ 75-90% ของตลาดหุ้นโดยรวม และการถือครองหุ้นเป็นตะกร้าแบบนี้ ทำให้กำจัดความเสี่ยงหุ้นรายตัว (individual stock risk) อย่างหมดจด
  2. นอกจากความเสี่ยงจากหุ้นรายตัวจะหมดไป ความเสี่ยงจากผู้จัดการกองทุน ความเสี่ยงจาก style drift รวมไปถึงความเสี่ยงจากอุตสาหกรรมก็จะหายไปด้วย จะเหลือไว้ก็แค่ความเสี่ยงระดับตลาดเท่านั้น
  3. กองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ๆ ก็จะทำให้เราได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาดหุ้นมากที่สุด

ด้วยเหตุนี้ ความเสี่ยงเดียวที่นักลงทุนส่วนใหญ่ควรจะแบกรับจึงมีเพียง market risk และเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอื่น ๆ ซื้อกองทุนดัชนี ที่ถือหุ้นทั้งตลาด (และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด) ดูน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีครับ

“It’s bad enough that you have to take market risk…, avoid the problem — buy a well-run index fund and own the whole market.” – William Bernstein


¹ จริง ๆ มีประเด็นความเสี่ยงหนึ่ง คือเรื่องของความเสี่ยงจากเวลา (horizon time) คือ ถ้าเราลงทุนในระยะเวลานาน ๆ จริง ๆ สินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเช่น หุ้น เพราะสินทรัพย์พวกตราสารหนี้จะถูกเงินเฟ้อกัดกินและทำให้มันไม่สามารถรักษาอำนาจซื้อ (purchasing power) ให้เราได้ แต่ประเด็นนี้ไว้จะเขียนในบทความอื่นต่อไปครับ

 

ความเสี่ยง (risks) ในการลงทุนและทางการเงิน

นอกจากผลตอบแทนและค่าใช้จ่ายแล้ว อีกด้านของสามเหลี่ยมในการลงทุนก็คือ ความเสี่ยง (risks) ซึ่งไอ้คำว่า ความเสี่ยง เนี่ย เป็นปัญหาในวงการเงินอย่างมาก กับการนิยามความหมายของมัน

หากผมถือตามคำอธิบายของวอร์เรน บัฟเฟตต์ว่า ความเสี่ยง คือ ความไม่รู้ ซึ่งเพราะคุณไม่รู้ว่าความเสี่ยงของสิ่งที่คุณกำลังจะลงทุนมันคืออะไร ทำให้ความเสียหายที่คุณจะได้รับมันสูงมาก เพราะแม้จะเป็นการลงทุนที่ดูเหมือนจะเสี่ยงสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าคุณเข้าใจมันดี คุณจะมีวิธีการลงทุนพร้อมวินัยที่จะรับมือกับมันได้

ด้วยเหตุนี้ ความเสี่ยงที่สำคัญมาก ๆ ของคนส่วนใหญ่ คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากการที่คิดว่าตัวเองรู้ แต่จริง ๆ แล้วตัวเองไม่รู้ เพราะมันจะพาไปสู่หนทางที่เจ๊งหมดตัวได้ง่ายที่สุด

1. ความเสี่ยง จากการขาดทุน

ความเสี่ยงเพิ่มเติมที่คุณพึงระวังไว้ คือ ความเสี่ยง ที่จะทำให้เราสูญเสียเงินไปทั้งหมด ในการลงทุนนั้น เงินต้นหรือทุน เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้น กลยุทธ์ที่หนึ่งคือ อย่าขาดทุน! ซึ่งอย่าขาดทุนในที่นี้คือ อย่าขาดทุนจนเงินต้นสูญหมดในระยะยาวครับ เพราะการลงทุนบางอย่าง เช่น คุณลงทุนในหุ้นระยะยาว คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้หรอกที่ในระยะสั้น เงินลงทุนของคุณจะผันผวน ขาดทุนในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ บ้าง

ข้อนี้ต้องทำความเข้าใจให้ดี บางคนลงทุนในกองทุนหุ้น 10,000 บาท ผ่านไป 2 สัปดาห์เงินต้นขาดทุนไป 500 บาทก็ไม่เอาแล้ว ขายทิ้ง การขาดทุนแบบนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผมพูดถึงนะครับ เพราะระยะเวลาในการลงทุนช่วงหนึ่ง คุณต้องมีเงินลงทุนที่มูลค่าลดลงอยู่แล้วล่ะถ้าหุ้นมันตก แต่ในระยะยาวตลาดหุ้นควรจะให้ผลตอบแทนคาดหวังที่เป็นบวก ถ้าคุณถือครองไปเกิน 10-15 ปีได้ อันนี้ล่ะครับ ระยะยาวมันไม่ขาดทุน

เพราะฉะนั้น ถ้าคุณลงทุนในหุ้นระยะยาว คุณจะไม่เสี่ยง ซึ่งสิ่งนี้ต้องเกิดจากความเข้าใจ และมีทัศนคติคุมไปตลอดระยะเวลาที่จะลงทุน ผ่านตลาดหุ้นตก หุ้นขึ้น ให้ได้

2. ความเสี่ยง ในระบบการลงทุน

หากแต่ความเสี่ยงสำคัญในการลงทุนหุ้น โดยเฉพาะลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้น จะแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ ความเสี่ยงระดับตลาด (market risk) กับความเสี่ยงอื่นที่ไม่ใช่ความเสี่ยงตลาด ว่าแต่ Market Risk คืออะไร

ความเสี่ยงระดับตลาด (market risk or systematic risk) เป็นความเสี่ยงของสินทรัพย์ประเภทนั้นในระดับภาพรวมทั้งหมดครับ เช่น ความเสี่ยงระดับตลาดของหุ้น ก็คือ ความเสี่ยงที่หุ้นทั้งตลาดจะต้องแบกรับ พูดให้เข้าใจง่าย ก็คือ ถ้าคุณถือหุ้นทั้งตลาด ไอ้การที่หุ้นตกเนี่ย คุณก็จะต้องแบกรับความเสี่ยงที่หุ้นมันตก แล้วมูลค่าความมั่งคั่งของคุณลดลง ซึ่งเราอาจจะพูดได้อีกทางว่า มันเป็นความเสี่ยงระดับกว้างของการลงทุนหุ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น ทุกคนที่ลงทุนในหุ้นจะหลีกหนีความเสี่ยงระดับตลาดของหุ้นไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่ขจัดไม่ได้ ต้องยอมรับมัน ถ้าอยากจะถือหุ้น คุณก็ต้องแบกรับความเสี่ยงระดับตลาดของหุ้น

ในขณะที่ความเสี่ยงอื่นที่ไม่ใช่ความเสี่ยงตลาด (non-market risk or unsystematic risk) ผมจะเรียกมันว่า ความเสี่ยงที่คุณเลือกที่จะแบกรับเอง เพราะจริง ๆ แล้วคุณสามารถเลือกขจัดมันทิ้งไปได้ ยกตัวอย่างเช่น

(a) ความเสี่ยงของหุ้นหรือหลักทรัพย์รายตัว (the risk of selecting specific securities) ให้เข้าใจง่าย ๆ เลย หากคุณไม่ลงทุนในหุ้นทั้งตลาด คุณเลือกหุ้นเป็นรายตัว เพราะฉะนั้นมันจะเกิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมา ขึ้นอยู่กับว่าคุณไปลงทุนในหุ้นอะไร ความเสี่ยงพวกนี้จะหลากหลาย เช่น บริษัททำยอดขายได้ตกฮวบฮาบ ขาดทุน บริษัทเจ๊งล้มละลาย ผู้บริหารของบริษัทลาออก ฯลฯ

(b) ความเสี่ยงของอุตสาหกรรม (sectors risk) อันนี้ให้ลองนึกภาพนักลงทุนที่ชอบซื้อกองทุนรวมที่ลงทุนในอุตสาหกรรมที่เขาคิดว่ามันร้อนแรง และจะทำผลตอบแทนในอนาคตได้มาก จึงเลือกจะลงทุนอย่างหนัก (bet) กับอุตสาหกรรมเดียว หรือลงทุนในไม่กี่อุตสาหกรรม เช่น health care, aging, IT, oil, premium brands, digital นักลงทุนก็จะแบกรับความเสี่ยงเฉพาะ เช่น ถ้าลงทุนในหุ้นอุตสาหกรรมสุขภาพอย่างเดียว นักลงทุนก็จะต้องเจอความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้น ๆ เช่น เรื่องของใบอนุญาต เรื่องของนโยบายของรัฐ เรื่องของการแข่งขัน เรื่องของอนาคตของอุตสาหกรรมดังกล่าวว่าจะดีหรือแย่

3. ความเสี่ยง จากการลงทุนในกองทุนเชิงรุก

นอกจากนี้ นักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมหุ้น นักลงทุนยังต้องแบกรับความเสี่ยงอีก ถ้านักลงทุนลงทุนในกองทุนแบบบริหารเชิงรุก (actively managed funds) ได้แก่

I. Manager Risks  

อันนี้ก็คือ ความเสี่ยงที่เกิดจากผู้จัดการกองทุน หรือความเสี่ยงจากสไตล์การลงทุนที่เปลี่ยนไปของกองทุนแบบบริหารจัดการที่คุณเลือกลงทุน เช่น ผู้จัดการกองทุนคนนี้ถูกย้าย หรือ ผู้จัดการกองทุนกองนี้ฝีมือห่วยมาก ๆ (ซึ่งเราจะรู้ในอนาคต) หรือผู้จัดการกองทุนและบลจ.ที่บริหารกองทุนนี้เปลี่ยนสไตล์ลงทุน หรือแม้กระทั่งกลุ่มผู้บริหารกองทุนลาออก ไปตั้งบริษัทใหม่ หรือถูกซื้อตัวยกทีม ความเสี่ยงพวกนี้ถือว่า นักลงทุนจะต้องแบกรับ ถ้านักลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนแบบ actively managed funds

II. Style Drift 

อันนี้เป็นความเสี่ยงประเภทที่ว่า การที่เราไปลงทุนในกองทุน active นั้น ถ้าผู้จัดการกองทุนหรือบลจ.ลงทุนเปลี่ยนแปลงไปจากที่เราเคยเชื่อ มันจะส่งผลกระทบมาก เพราะนักลงทุนเองจะสูญเสียการควบคุมพอร์ตลงทุนบางอย่าง เช่น ส่งผลให้พอร์ตจัดสรรสินทรัพย์ของคุณจะเบี่ยง เพราะสมมติถ้าคุณแบ่งเงินลงทุน 100% เป็นหุ้น 50% ตราสารหนี้ 50% แต่คุณลงทุนกองทุนหุ้นแบบเชิงรุก ซึ่งปกติเขาจะถือเงินสดไว้จับจังหวะลงทุน ทำให้สัดส่วนหุ้นที่คุณต้องการลงทุน 50% มันไม่ถึง 50% ครับ

เพราะฉะนั้น การจะลงทุนให้ได้สัดส่วนหุ้นเป๊ะ คุณควรจะต้องเลือกกองทุนดัชนีหุ้นและหลีกเลี่ยงกองทุน active ซะ หรืออีกกรณีคือคุณวางแผนว่ากองทุนนี้จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นแบบที่คุณถูกใจ แต่พอเปลี่ยนแนวลงทุน สไตล์ที่คุณวางไว้มันก็เปลี่ยน พอร์ตลงทุนในภาพรวมของคุณก็จะเพี้ยนไปเลย

สมมติว่า คุณบอกคุณจะซื้อกองทุนเชิงรุกที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก (mid-small cap) แต่คุณจะสังเกตได้ว่าในหนังสือชี้ชวนมักจะเปิดช่องเสมอ ไม่ห้ามการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ ถ้าผู้จัดการกองทุนเห็นว่า หุ้นขนาดใหญ่จะให้ผลตอบแทนดีกว่า แบบนี้สไตล์ลงทุนของภาพรวมทั้งหมดของคุณก็เปลี่ยนแล้ว นี่ล่ะครับ style drift!

4. ข้อพิจารณาในการแบกรับความเสี่ยง

จะเห็นได้ว่า แค่แบกรับความเสี่ยงแบบตลาด (market risk) อย่างเดียวก็ถือว่าหนักแล้ว การจะเพิ่มความเสี่ยงอย่างอื่นนั้น บางทีก็ไม่จำเป็นเลย เผลอ ๆ จะทำให้แบกรับความเสี่ยงมากขึ้น โดยที่ผลตอบแทนระยะยาวแย่ลงไปอีก พบได้บ่อยสำหรับนักลงทุนส่วนใหญ่ ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่น ซื้อกองทุน active ที่ปรากฏว่า ผลตอบแทนระยะยาวในอนาคตต่อไปจะแย่มาก ๆ

การลงทุนที่จะจำกัดให้คุณแบกรับแค่ภาระความเสี่ยงจากตลาด ก็คือ กองทุนดัชนี (index funds) ครับ กองทุนดัชนีจะกำจัดความเสี่ยงประเภทหุ้นรายตัว (individual stocks risk) ความเสี่ยงอุตสาหกรรม (market sectors risk) กำจัดความเสี่ยงจากผู้จัดการกองทุน (risk of manager selection) และหมดปัญหาเรื่อง style drift ความเสี่ยงอย่างเดียวที่เหลืออยู่คือ ความเสี่ยงตลาด (market risk) ซึ่งนั่นก็เพียงพอแล้ว

ถ้ามองในอีกแง่มุมหนึ่ง การถือครองกองทุนดัชนีที่ถือหุ้นทั้งหมด (เกือบทั้งตลาดหุ้น) เป็นกลยุทธ์ที่ลดความเสี่ยงลงอย่างมาก เพราะแทนที่จะแบกรับความเสี่ยง 5-6 ประเภทความเสี่ยง คุณก็จะเหลือแค่ความเสี่ยงเดียว คือ ความเสี่ยงจากตลาด ซึ่งตรงนี้วิธีลดความเสี่ยงลงไปอีก เราอาจจะอาศัยการผสมสินทรัพย์ลงทุน ด้วยการจัดสรรเงินลงทุนส่วนหนึ่ง ไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น ตราสารหนี้ หรือ อสังหาริมทรัพย์ ครับ[1. จริง ๆ มีประเด็นความเสี่ยงหนึ่ง คือเรื่องของความเสี่ยงจากเวลา (horizon time) คือ ถ้าเราลงทุนในระยะเวลานานจริง ๆ สินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเช่น หุ้น เพราะสินทรัพย์พวกตราสารหนี้จะถูกเงินเฟ้อกัดกินและทำให้มันไม่สามารถรักษาอำนาจซื้อ (purchasing power) ให้เราได้ แต่ประเด็นนี้ไว้จะเขียนในบทความอื่นต่อไปครับ]

บทสรุป

ความเสี่ยงทั้งหมดที่อธิบายมา จริง ๆ แล้วนักลงทุนแบกรับแค่ความเสี่ยงระดับตลาด (market risk) ก็พอแล้วครับ และวิธีที่จะกำจัดความเสี่ยงอื่นได้อย่างดี คือ การลงทุนในกองทุนดัชนีแบบคลาสสิก กองทุนดัชนีที่ลงทุนเลียนแบบดัชนีแท้ ๆ ของตลาดหุ้น พวกดัชนีที่ลงทุนเลียนแบบเกือบทั้งตลาดหุ้น เป็นดัชนีแบบถ่วงน้ำหนักตลาด ถ้าหุ้นไทยก็ ดัชนี SET, SET50, SET100 นั่นล่ะครับ ถ้าพิจารณาในแง่ความเสี่ยง กองทุนดัชนี น่าจะเป็นกองทุนเดียวที่สามารถถือครองได้ระยะยาวแบบสบายใจ เพราะเหตุผลที่ว่า

(ก) มีการกระจายความเสี่ยงที่เพียงพออย่างมาก เนื่องจากได้ถือครองหุ้นเกือบทั้งตลาด หรือไม่ได้ลงทุนถือครองหุ้นที่มีน้ำหนักเกือบ 75-90% ของตลาดหุ้นโดยรวม และการถือครองหุ้นเป็นตะกร้าแบบนี้ ทำให้กำจัดความเสี่ยงหุ้นรายตัว (individual stock risk) อย่างหมดจด

(ข) นอกจากความเสี่ยงจากหุ้นรายตัวจะหมดไป ความเสี่ยงจากผู้จัดการกองทุน ความเสี่ยงจาก style drift รวมไปถึงความเสี่ยงจากอุตสาหกรรมก็จะหายไปด้วย จะเหลือไว้ก็แค่ความเสี่ยงระดับตลาดเท่านั้น

(ค) กองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำ ๆ ก็จะทำให้เราได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาดหุ้นมากที่สุด

ด้วยเหตุนี้ ความเสี่ยงเดียวที่นักลงทุนส่วนใหญ่ควรจะแบกรับจึงมีเพียง market risk และเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอื่น ๆ การซื้อกองทุนดัชนีที่ถือหุ้นทั้งตลาด และมีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีมากเมื่อพิจารณาจากมุมมองเรื่องความเสี่ยงในการลงทุน

“It’s bad enough that you have to take market risk…, avoid the problem — buy a well-run index fund and own the whole market.” – William Bernstein

Positive Thinking สำหรับหุ้น

การลงทุนในหุ้น เช่น ลงทุนโดยใช้กองทุนหุ้น นอกเหนือจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดหุ้นแล้ว นักลงทุนควรจะต้องมีทัศนคติเกี่ยวกับการมองโลกในแง่ดีบางอย่าง (Positive Thinking) นั่นคือ การมองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตของตลาดหุ้นโดยรวมครับ

ถ้ามองย้อนไปในอดีตจะพบว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยของเราก่อตั้งขึ้นช่วง ค.ศ. 1975 (หรือ พ.ศ. 2517-2518) นี่ก็ผ่านมา 40 กว่าปี แสดงว่าตลาดหุ้นเราก็ผ่านร้อนผ่านหนาวมาระดับหนึ่งทีเดียว นับจากวันแรกที่มีหุ้นของบริษัทจดทะเบียนซื้อขายไม่ถึง 10 บริษัท แต่ ณ วันนี้มีบริษัทจดทะเบียนใน SET กว่า 500 บริษัทแล้ว

จากวันนี้ถึงอนาคต ธุรกิจและบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายก็ควรจะดำเนินธุรกิจเติบโตไปดังที่เคยผ่านมาในอดีต ค่อย ๆ พัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ การผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งนำไปสู่การเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ โดยอาจจะสะท้อนมาจาก GDP ของประเทศที่เติบโตขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้ามองย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ตอนนั้น 7-11 ยังมีไม่ถึง 1000 สาขาด้วยซ้ำ ตอนนี้จะทะลุ 10000 สาขาแล้ว บริษัทอื่น ๆ ก็ควรจะต้องเติบโตไปด้วย เช่น SCG, PTT, BBL, SCB, BIGC, MAKRO และอีกมากมาย ซึ่งตลาดหุ้นย่อมจะต้องสะท้อนผลผลิตทางเศรษฐกิจเหล่านี้ออกมาเป็นผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้น

เพราะอย่างที่เคยอธิบายไว้ในหลายบทความว่า ผลตอบแทนของตลาดหุ้นถูกสร้างโดยผลตอบแทนที่สะท้อนมาจากภาคธุรกิจจริง ซึ่งก็คือบริษัทจดทะเบียนทั้งหลายที่อยู่เบื้องหลังของหุ้นแต่ละตัว และที่ประกอบรวมกันเป็นตลาดหุ้น ผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้ ส่งผ่านมาจากผลกำไรที่เติบโตขึ้นของธุรกิจ และกำไรส่วนที่จ่ายออกมาเป็นเงินปันผล ซึ่งเราจะนำไปลงทุนในหุ้นทบต้นต่อ

ลองดูมูลค่าตลาดหุ้นไทยก็ได้ครับ (market capitalization) มูลค่าบริษัทจดทะเบียนของตลาดหุ้นไทยรวมกันตั้งแต่ พ.ศ. 2531 – 2556 ผ่านไป 25 ปี โตจาก 246,674 ล้านบาท เป็นเกือบ 15 ล้านล้านบาท

mkt-set

หรืออาจจะดูจากกำไรรวมของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่ในปี 2002 (พ.ศ. 2545) กำไรของบจ.รวมประมาณ 2 แสนล้านบาท แต่ในปี 2015 กำไรบจ.รวมกันเป็น 6.6 แสนล้านบาท โตขึ้น 3 เท่ากว่า ๆ (อ้างอิง)

ถ้าเราเข้าใจในจุดนี้ เราก็ควรจะลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นให้สอดคล้อง ด้วยการถือครองธุรกิจเหล่านี้ (อาจจะทำโดยถือครองธุรกิจทั้งหมดด้วยกองทุนดัชนี) ถือครองไประยะยาว ถือครองตลอดเวลา เพื่อเก็บเกี่ยวและรับผลตอบแทนจากธุรกิจไปเรื่อย ๆ เงินของคุณก็จะโตไปกับเศรษฐกิจและตลาดทุนของประเทศ ถ้าคุณเชื่อว่าในอนาคตอีก 20-50 ปีข้างหน้า ประเทศไทยยังคงอยู่และเศรษฐกิจจะเติบโต (แม้ในวันนี้คุณจะสงสัยก็เหอะ) เช่นนี้ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ลงทุนในตลาดหุ้น

แม้ว่าจะมีเหตุผลดี ๆ มากมายในแต่ละปีที่จะไม่ควรจะลงทุนหุ้นก็ตาม ซึ่งถ้าดูการผ่านร้อนหนาวของตลาดหุ้น ไม่ว่าจะวิกฤตราชาเงินทุน วิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤต Subprime วิกฤตน้ำท่วมใหญ่ ฯลฯ ตลาดหุ้นบ้านเราก็ยังเติบโตมาได้ด้วยดี ดูจาก SET TRI ที่แสดงผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นก็ได้ครับ ว่ามันโตมาจาก 1000 เป็นเกือบ 10000 จุดแล้ว