เงินปันผล : หัวใจแห่งผลตอบแทนหุ้น

จากกระทู้เดิม SET Index v. SET TRI ที่เคยทำการเปรียบเทียบผลตอบแทนของตลาดหุ้นว่า จริง ๆ แล้วผลตอบแทนสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลทบต้น (dividend re-invest) แต่ข้อมูลที่นำมาใช้ คือ ช่วง Jan 2002 – Jan 2017 : ก็ประมาณ 15 ปี แต่ล่าสุดผมได้ข้อมูลครบตั้งแต่เปิดตลาด  (ต้องขอบคุณ งานนำเสนอของบลจ.กรุงศรี ที่ทำให้ต่อจิ๊กซอว์ได้ครบมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ) เพราะผมขาดข้อมูล SET TRI ช่วงปี 1975-2001 ไป ได้ภาพด้านล่างนี้เลยต่อยอดได้เลย

SET TRI by KSAM

เพราะฉะนั้นเราจะมาดูกันว่า ตั้งแต่เปิดตลาดหุ้น เมษายน 2518 – ธันวาคม 2559 (April 1975 – Dec 2016) หรือเป็นเวลา 41 ปี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แบบคำนวณราคา SET Index (SET PR) ที่โชว์หราอยู่ทุกวันนี้ กับผลตอบแทนรวมของตลาดหลักทรัพย์ที่คิดคำนวณรวมเงินปันผลทบต้นไปด้วย (SET TRI) ส่วนต่างจากพลังของผลตอบแทนเงินปันผลเป็นอย่างไรบ้าง? และนี่คือ ผลลัพธ์ที่มหัศจรรย์ อันบอกเราอย่างแจ่มแจ้งดั่งแสงตะวันได้ว่า เงินปันผล คือ หัวใจของผลตอบแทนจากตลาดหุ้น เพราะถ้าคุณนำมันมาลงทุนแบบทบต้น โอ้โหว โปรดดูนี่ครับ

SET PR v TR 1975-2016.JPG

จากจุดสตาร์ทเริ่มต้น ณ วันที่ตั้งตลาดหุ้น คือ เมษายน 2518 ดัชนีทั้งสองเริ่มที่ 100 จุด หากแต่เมื่อเวลาผ่านไปเกือบ 40 กว่าปี ท่านจะเห็นได้ว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม ปี 2559 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) อยู่ที่ 1,542.94 จุด หากแต่ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET Index Total Return) อยู่ที่ 9,065.29 !!!

นั่นเท่ากับว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ส่วนของราคา (price index) คิดเป็นแค่ 17% ส่วนที่หายไปกว่า 83% คือผลตอบแทนจากเงินปันผลที่นำมาทบต้น อื้อ หือออ ข้อสรุป ณ ตรงนี้คือ

ในระยะยาวแล้ว ผลตอบแทนที่สำคัญที่สุดของตลาดหุ้นที่เป็นหัวใจอย่างแท้จริง คือ ผลตอบแทนจากเงินปันผลทบต้น

เพราะคิดเป็นร้อยละ 80-85 ของผลตอบแทนรวมทั้งหมดของตลาดหุ้น ถ้าคุณลงทุนถึง 40 กว่าปี

นอกจากนี้ระยะเวลา 41 ปีที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์ยังให้ผลตอบแทนทั้งหมด (SET TRI) คิดเป็นอัตราผลตอบแทนทบต้นถึง 11.62% ต่อปี !!!!!!!!!


ทั้งหมดนี้ บอกเราได้ว่า

  1. ผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นไทยในอดีต ค่อนข้างใกล้เคียงกับผลตอบแทนของตลาดหุ้นอื่น ๆ ที่ประมาณ 9-11% ทบต้นต่อปี (ขีดเส้นใต้คำว่ายาว กรณีนี้คือลงทุน 40 กว่าปี ระยะเวลาลงทุนต่ำกว่า 10 ปีไม่นับว่ายาว และแน่นอนว่าคนที่ลงทุนแค่ 1-2 ปีจะใช้คำว่ายาวไม่ได้ พวกลงทุนหลักวัน หลักเดือนยิ่งห่างไกลลิบ ๆ)
  2. ผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นที่แท้จริง เกิดจากพลังของดอกเบี้ยทบต้นเงินปันผล นั่นคือ การนำเงินปันผลที่ได้รับมาลงทุนกลับ (dividend re-invest) เป็นการพิสูจน์สิ่งที่อ่านมาจากหนังสือหลายเล่ม¹
  3. เงินปันผลในข้อ 2 ไม่ได้หมายถึง เงินปันผลของกองทุนที่มีนโยบายจ่ายปันผล ใครไม่เข้าใจ โปรดอ่านอันนี้ครับ (ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับ “กองทุนปันผล”)
  4. จากข้อ 2 คงเห็นแล้วนะครับว่า หัวใจของผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้น มาจากการลงทุนให้นาน ลงทุนถือครองหุ้นไปเรื่อย ๆ ได้เงินปันผลก็นำมาลงทุนกลับ (กรณีกองทุนรวมที่ไม่จ่ายปันผล จะทำการ re-invest อัตโนมัติ ก็เบาภาระเราไปได้ ไม่ต้องซื้อหุ้นลงทุนทบต้นเอง) ถ้าถามว่าผลตอบแทนจากเงินปันผลทบต้นเยอะขนาดไหน ระยะยาวมาก ๆ เกือบครึ่งชีวิตจากข้อมูลข้างบนก็คือ ร้อยละ 85 ของผลตอบแทนรวมกันเลยทีเดียว
  5. เมื่อรู้แบบนี้แล้ว อย่าไปติดภาพมายาที่เห็นว่า ตลาดหุ้นยังไม่ไปไหน (เพราะดัชนียังไม่ทะลุจุดสูงสุดเดิม – 1,753 จุด) แล้วก็บอกผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนไม่มีหรอก เลยพยายามซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นหรือกองทุนหุ้น

เพราะฉะนั้น เพื่อให้ได้รับพลังจากเงิ้นปันผลทบต้น เราต้องลงทุนระยะยาวอย่างมีวินัยครับ สู้ ๆ



¹
มีหนังสือหลายเล่มมากที่บอกว่า ผลตอบแทนระยะยาวของตลาดหุ้นจริง ๆ แล้วเงินปันผลเป็นผลตอบแทนส่วนใหญ่ที่สำคัญของตลาดหุ้น รวมไปถึงหุ้นรายตัวด้วย เช่น หนังสือ Stock for the Long Run ของ Jeremy J. Siegel (กรณีของหุ้นรายตัวก็เช่นกัน เงินปันผลทบต้นยังส่งผลให้การลงทุนในหุ้นบางตัวได้ผลตอบแทนสูงมาก ๆ ด้วย เช่น กรณีของ Phillip Morris, Exxon Mobil) หรือหนังสือ John Bogle on Investing และ Bogle on Mutual Funds ของ John C. Bogle ครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s