คลังเก็บหมวดหมู่: Funds

LTF กองไหนดี ? : คำถามซึ่งไม่ไร้คนพยายามตอบ

LTF กองไหนดี ?

พอถึงช่วงเวลาสิ้นปีได้วนมาครบบรรจบอีกรอบ เหล่าผู้มีรายได้ก็จะเริ่มมองหาการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF เพื่อลดหย่อนภาษี ด้วยสรรพคุณที่จำง่าย ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี ซื้อแล้วถือยาว 7 ปี และซื้อปีไหนก็ได้ไม่บังคับซื้อทุกปี (อันนี้คือเงื่อนไขภาษีคร่าว ๆ นะครับ) ทำให้มันเป็นเครื่องมือวางแผนภาษีที่ใครหลาย ๆ คนเลือกเป็นตัวเลือกแรก ๆ

ทว่า LTF กองไหนดี เมื่อคนส่วนใหญ่จะมองแค่ว่ามันลดภาษีได้เป็นหลัก หลายคนก็เลยปาลูกดอกเล่น ซื้อกองทุน LTF เจ้าไหนก็ได้ เอาที่ฉันสะดวกพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดครับ!

1. อะไรคือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว?

LTF คือ กองทุนรวมที่ลงทุนใน “หุ้น” ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทยหรือ “SET” ดังนั้น การถือครองถึง 7 ปีย่อมทำให้ผลตอบแทนของกองทุนสะท้อนผลตอบแทนหุ้นได้อย่างดี (จากสถิติคำนวณย้อนหลัง 2002 – พฤศจิกายน 2015 พบว่า Rolling Return ของผลตอบแทนตลาดหุ้นรวมเงินปันผลอยู่ที่ประมาณ 13.5% ต่อปี หมายความว่า ถ้าคุณลงทุนในตลาดหุ้นวันไหนก็ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว แล้วถือยาวถึง 7 ปี ผลตอบแทนที่ได้รับจะเฉลี่ยอยู่ที่ 13.5% ต่อปี และที่น่าสนใจคือ ค่าต่ำสุดของผลตอบแทนคือ 5.1%

นั่นหมายความว่า ในช่วงเวลาที่ทดสอบย้อนหลังนั้น การถือครองหุ้นทั้งตลาดเป็นเวลา 7 ปี ตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกตลอด ไม่ขาดทุน  โดยคุณสามารถลงทุนอย่างเรียบง่าย สบาย ๆ เพียงแค่ลงทุนหุ้นทั้งตลาดแล้วถือครองให้ยาวพอ ด้วยวิธีที่ดีที่สุดในการจะทำแบบนี้ คือ ซื้อกองทุนดัชนี (Index Fund)

คำถามก็คือ ถ้าเราเลือกลงทุน LTF โดยใช้ Active Funds หรือกองทุนที่จ้างผู้จัดการกองทุนมาเลือกหุ้นให้ ในเวลา 10 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา มีกี่กองกันนะที่ทำผลตอบแทนได้ชนะผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้น

จากการดึงข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2015 ย้อนหลังไป 10 ปี เราจะได้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นรวมเงินปันผลทบต้น (SET Index Total Return หรือ “SET TR”) ที่ 11.79% ต่อปี

ในขณะที่ กองทุน LTF ที่ตั้งเกิน 10 ปีมาแล้วมี 26 กองทุน ผลตอบแทนเฉลี่ยของพวกเขาคือ 10.21% (สูงสุด 15.65% ต่ำสุด 4.2%) ซึ่งจะมีเพียง 6 กองทุนจาก 26 กองที่ชนะ SET TR หรือคิดเป็น 22% เท่านั้น นั่นเท่ากับว่า กองทุนประมาณ 80% ทำผลตอบแทนได้น้อยกว่าตลาดหุ้น โดยทำได้น้อยกว่าเฉลี่ย 1.58% ต่อปี !!!  หรือทำผลตอบแทนได้เพียง 86.5% ของผลตอบแทนรวมตลาดหุ้น  😱

10Y
Data as of 27/11/2015  source : Morningstar, SET

จากข้อมูลข้างบน เราจะตั้งข้อสังเกตกันได้อีกครับ ถ้าเราซื้อกองทุนดัชนีที่ใกล้เคียงที่สุด คือ กรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50 ซึ่งได้ผลตอบแทน 9.8% ต่อปี ก็ยังห่างจากผลตอบแทน SET TR ถึง 1.99% ต่อปี และทำผลตอบแทนชนะกองทุนได้เพียงแค่ 10 กองทุน (ชนะประมาณ 40% ของกองทุนทั้งหมด)

ซึ่งผมกำลังจะชี้ให้เห็นว่า แม้ผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นจะชนะกองทุนได้กว่า 80% แต่กองทุนดัชนีที่เลียนแบบตลาดหุ้นกลับชนะได้น้อยกว่ามาก ๆ นั่นก็เพราะเหตุผลเดียวคือ ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม (Total Expense Ratio) ครับ นั่นคือ ถ้ากองทุนดัชนีพวกนี้คิดค่าใช้จ่ายน้อยลง จะทำให้โอกาสที่พวกมันจะชนะกองทุนบริหารทั้งหลายนั้นสูงขึ้นอย่างมาก

การที่กองทุน LTF ประเภทกองทุนบริหาร (Active Funds) ส่วนใหญ่แพ้ตลาดหุ้นในระยะยาว ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับทางตะวันตกครับ ซึ่งได้พิสูจน์กันมาแล้วว่า ในระยะยาวนั้น กองทุนบริหารที่คัดเลือกหุ้นมีน้อยมากที่ระยะยาวจะทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น ยิ่งกองดัชนีในต่างประเทศ อย่างเช่น ของประเทศสหรัฐอเมริกา คิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนเพียงปีละ 0.05% ต่อปี ก็ยิ่งทำให้พวกมันทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงตลาดหุ้นจริง ๆ จึงทำให้พวกกองทุนบริหารกว่า 70-80% ไม่สามารถทำผลตอบแทนดีกว่าพวกมันได้

2. ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายกองทุน

ประเด็นสั้น ๆ 1 บรรทัดที่สำคัญคือ ในระยะยาวนั้น

“ค่าใช้จ่ายบ่งบอกผลตอบแทนที่คุณจะได้รับในอนาคตมากที่สุด”

เพราะในระยะยาวมีกองทุนน้อยมากที่จะทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น คุณแทบจะทำนายไม่ได้เลยว่า อีก 20-30 ปีข้างหน้า กองทุนไหนจะทำผลตอบแทนได้ที่ 1 หรือ 2 เพราะฉะนั้นการมานั่งเสียเวลาไปกับการไล่ล่าหากองทุนที่ผลตอบแทนดีที่สุด จึงเป็นการเปล่าประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่เชื่อลองดู 5 ปีล่าสุดก็ได้ครับ

5 ปีล่าสุดนั้น ผลตอบแทนของกองทุน LTF เฉลี่ยอยู่ที่ 7.52% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของ SET TR อยู่ที่ 10.39% ต่อปี ส่วนต่างคือ – 2.87% ต่อปี หรือเท่ากับว่ากองทุน LTF ส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนหายไปซึ่งคิดเป็น 27% ของผลตอบแทนตลาดหุ้นที่คุณควรจะได้รับครับ และมีเพียง 11 จาก 52 กองทุนเท่านั้นที่ชนะ SET TR (เท่ากับว่ามีแค่ 20.8%จากทั้งหมดที่สามารถชนะตลาดหุ้นได้) โดยลำดับก็ไม่เหมือนเดิมกันด้วย เพราะ 6 กองทุนที่ชนะ SET TR ของ 10 ปีที่แล้ว โผล่มาชนะในรอบ 5 ปีนี้แค่ 4 กองทุนเท่านั้น

5Y

ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ลองทำแบบ 3 ปีย้อนหลังบ้างครับ คราวนี้มี LTF แค่ 10 กองเท่านั้นที่ทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น (ประมาณ 80% ของกองทุนจาก 52 กองทุนพ่ายแพ้กับตลาดหุ้นอีกแล้ว) โดยผลตอบแทนของกองทุน LTF เฉลี่ยครั้งนี้อยู่ที่ 3.42% ต่อปี ในขณะที่ SET TR อยู่ที่ 5.15% นั่นคือ ส่วนต่างความพ่ายแพ้ครั้งนี้อยู่ที่ 1.73% ต่อปีครับ หรือกองทุนส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนได้เพียงแค่ 66.4% จากที่ตลาดหุ้นทำได้ 

มาถึงตรงนี้ เราก็ได้ตัวเลขสักทีว่า กองทุนที่มีผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลังชนะตลาดหุ้น ซึ่งมีทั้งหมด 6 กองทุนนั้น มี 4 กองทุนที่สามารถชนะตลาดหุ้น 5 ปีย้อนหลังได้ และเหลือแค่  3 กองทุนเท่านั้นที่ชนะในช่วงเวลา 3 ปีย้อนหลัง ซึ่งใน 3 กองนี้มีเพียงแค่กองเดียวที่ชนะ ทั้งช่วงเวลา 10 ปี 5 ปี 3 ปี แถมถ้าทำการติดตามต่อในปีล่าสุด (2015) ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีล่าสุด กองดังกล่าวได้แพ้ตลาดหุ้นไปเรียบร้อย  😯

3. LTF กองไหนดี : ผู้ชนะในระยะยาวมีจริงหรือไม่?

ผมกำลังจะชี้ให้เห็นครับว่า ในระยะยาวแล้ว ไม่มีผู้ชนะในวงการกองทุนรวมหุ้นที่ถาวร ทุกช่วงเวลาจะมีกองทุนกลุ่มหนึ่งที่ชนะตลาดหุ้นแล้วก็จะกลับมาแพ้ หรืออาจจะหายไปเลย การมานั่งไล่หาว่ากองทุนไหนชนะตลาดหุ้นในปีนี้ ปีหน้า 3 ปี 5 ปี 10 ปีข้างหน้า เสียเวลาเปล่า ๆ ครับ (Peter Lynch ก็เคยเตือนเรื่องนี้ว่ามันเปล่าประโยชน์)[1. Peter Lynch and John Rothchild, Beating the Street, revised ed. (New York: Simon & Schuster, 1994), 68.] ทางเลือกที่ดีที่สุดที่พิสูจน์กันมาแล้วในฝั่งตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว คือ “ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด” (Stay invest & Stay hold an index fund) 

ซึ่งตรงนี้บ้านเรามี LTF กองดัชนีค่าใช้จ่ายต่ำสุดก็ประมาณ 0.7-0.8% ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างสูง ทำให้มันยังไม่สามารถโชว์ผลตอบแทนที่โดดเด่นออกมาได้  แต่ SET TR ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า กองทุนผู้ชนะตลาดหุ้นในระยะยาวนั้นหาได้ยากมาก ยิ่งนานเท่าไหร่ยิ่งงมยากเหมือนเข็มในกองฟาง จึงได้แต่หวังว่าสักวันจะมีบลจ.สักที่ ที่ทำการคิดค่าใช้จ่ายกองทุนรวมดัชนีต่ำ ๆ เพื่อประโยชน์ของนักลงทุนครับ

วัตถุประสงค์สำคัญในการเขียนบทความนี้ของผมขึ้นมาก็คือ อยากให้นักลงทุนได้รับรู้ข้อมูลว่าจริงๆแล้ว กองทุนหุ้นโดยส่วนใหญ่ในระยะยาวทำผลตอบแทนได้แพ้ตลาดหุ้น แม้แต่กองทุนที่ชนะตลาดหุ้นในวันนี้ อนาคตก็อาจจะแพ้ได้ เพราะมันมักวกกลับไปสู่ค่าเฉลี่ย “Reversion to the Mean” (RTM)

ซึ่งปัจจัยสำคัญอันแรก ก็คือ กองทุนไม่สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเกินได้ อาจจะมาจากฝีมือการคัดเลือกหุ้นที่พลาดไป หรืออาจเพราะความมีประสิทธิภาพของตลาดหุ้นเองทำให้การชนะมันเป็นเรื่องที่ลำบาก โดยผสมกับปัจจัยที่สองที่สำคัญกว่า นั่นคือ

ในระยะยาวแล้วค่าใช้จ่ายรวมของกองทุนทำลายผลตอบแทนของนักลงทุนมากที่สุด

 เพราะต่อให้ผู้จัดการกองทุนทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้นถึงปีละ 1.2% แต่ถ้าค่าใช้จ่ายรวมต่อปีของกองทุนคือ 2-3% ต่อปี ยังไงก็แพ้ตลาดหุ้นอยู่ดีครับ หรือพูดอีกแบบให้เห็นภาพก็คือ ถ้าระยะยาวตลาดหุ้นทำผลตอบแทนได้ประมาณ 10% ต่อปี การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกองทุนปีละ 2-3% ต่อปี เท่ากับว่าคุณต้องเสียผลตอบแทนที่ควรได้รับไปถึง 20-30% เลยทีเดียว

4. ข้อสนับสนุนเพิ่มเติม

งานวิจัยทางวิชาการของไทยก็ให้ผลไปในทางเดียวกันว่า กลยุทธ์ที่ซื้อกองทุน LTF จากผลตอบแทนที่ดีในอดีตไม่อาจชี้วัดได้ว่ากองทุนดังกล่าวจะให้ผลตอบแทนดีในอนาคต และยังพบอีกว่า กองทุนรวม LTF หุ้นไทยโดยเฉลี่ยทำผลตอบแทนสุทธิ (net returns) ได้ต่ำกว่าผลตอบแทนรวมของตลาดหลักทรัพย์โดยห่างและทำผลตอบแทนได้ต่ำกว่าผลตอบแทนตลาดหุ้นประมาณ 3% ต่อปี[1. ณัฐวุฒิ เจนวิทยาโรจน์, “ผลตอบแทนและความต่อเนื่องของผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่มีนโยบายเชิงรุก,” วารสารบริหารธุรกิจ นิด้า 22 (พฤษภาคม 2561): 61.]

โดยผลตอบแทนของกองทุน LTF แบบ actively managed funds ในช่วงปี 2005-2016 อยู่ที่ 12.65% ต่อปี แต่ SET TR อยู่ที่ 15.73% (ห่างกัน 3.08% ต่อปี)[1. ibid., 70.] เงิน 10,000 ในตลาดหุ้นเป็น 57,723.34 แต่เงินในกองทุนบริหารโดยเฉลี่ยเป็นแค่ 41,761.33 ซึ่งห่างกันประมาณ 15,926 บาท! หรือหายไปเกือบ 28%!!

5. ทิ้งท้ายกับปัญหา LTF กองไหนดี ?

บนโลกการลงทุนสมัยนี้ที่ใคร ๆ ก็พยายามจะหาวิธีเลือกกองทุนหุ้นที่มีผลตอบแทนสูงสุด ไล่ล่าเสียเวลาไปกับการนั่งติดตามการจัดอันดับ คำแนะนำที่เรียบง่ายคือ เราไม่ควรทำแบบนั้นตามฝูงชน ครับ

สำหรับแนวทางในการลงทุนจึงอาจจะเป็นไปได้ว่า การเชื่อมั่นในการลงทุนเชิงรับ (passive investment)โดยเลือกลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด อาจเป็นแนวทางที่ดูสมเหตุสมผลอย่างยิ่ง และไม่ใช่แค่เพียงลงทุนกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำเท่านั้น เพราะยังมีอีกหลายสิ่งที่จะวัดว่าในระยะยาว ผลตอบแทนของนักลงทุนจะดีหรือไม่ เช่น การอดทนถือกองทุนให้ได้ยาว ๆ เกิน 10 ปีขึ้นไป หรือการมีวินัยในการซื้อกองทุน ฯลฯ

เพียงแต่ว่าบันไดก้าวแรกนั้น นักลงทุนควรจะต้องรู้ตัวเองก่อนครับว่า การเสียเวลาไปกับการหากองทุนร้อนแรง การนั่งดูผลตอบแทนย้อนหลัง การนั่งฟังคนขายพูดถึงผลตอบแทนล่าสุด หรืออ่านบทความแนะนำกองนู้นนี่นั้น เป็นเรื่องที่เสียเวลาเปล่า ๆ เพราะผลตอบแทนย้อนหลัง (Past Performance) ทำนายผลตอบแทนในอนาคตแทบจะไม่ได้เลย ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ เราจะได้เลิกนั่งติดตามกองทุนต่าง ๆ และเอาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นที่ส่งผลดีกับการลงทุนของเราครับผม

บทความแนะนำ:

(1) ทำความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับผลตอบแทนหุ้นและตลาดหุ้น

(2) ปัญหาของการเลือกกองทุนจากผลตอบแทนย้อนหลัง

LTF กองไหนดี

พอถึงช่วงเวลาสิ้นปีได้วนมาครบบรรจบอีกรอบ เหล่าผู้มีรายได้ก็จะเริ่มมองหาการซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTF เพื่อลดหย่อนภาษี ด้วยสรรพคุณที่จำง่าย ซื้อได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ทั้งปี ซื้อแล้วถือยาว 7 ปี และซื้อปีไหนก็ได้ไม่บังคับซื้อทุกปี (อันนี้คือเงื่อนไขภาษีคร่าวๆนะครับ) ทำให้มันเป็นเครื่องมือวางแผนภาษีที่ใครๆหลายคนเลือกเป็นตัวเลือกแรกๆ แต่ทว่าคนส่วนใหญ่จะมองแค่ว่ามันลดภาษีได้เป็นหลัก หลายๆคนก็เลยปาลูกดอกเล่น ซื้อกองทุน LTF เจ้าไหนก็ได้เอาฉันสะดวกพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดครับ!

LTF คือ กองทุนรวมที่ลงทุนใน “หุ้น” ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ไทยหรือ “SET” ดังนั้น การถือครองถึง 7 ปีย่อมทำให้ผลตอบแทนของกองทุนสะท้อนผลตอบแทนหุ้นได้อย่างดี (จากสถิติคำนวณย้อนหลัง 2002 – พฤศจิกายน2015 Rolling Return ของผลตอบแทนตลาดหุ้นรวมเงินปันผลอยู่ที่ 13.5% กว่าต่อปี หมายความว่า ถ้าคุณลงทุนในหุ้นวันไหนก็ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว แล้วถือยาวถึง 7 ปี ผลตอบแทนที่ได้รับจะเฉลี่ยอยู่ที่ 13.5% ต่อปี และที่น่าสนใจคือ ค่าต่ำสุดของผลตอบแทนคือ 5.1% นั่นหมายความว่า ในช่วงเวลาที่ทดสอบย้อนหลังนั้น ารถือครองหุ้นทั้งตลาดเป็นเวลา 7 ปี ตลาดหุ้นจะให้ผลตอบแทนเป็นบวกตลอด ไม่ขาดทุน  โดยคุณสามารถลงทุนอย่างเรียบง่าย สบายๆ เพียงแค่ลงทุนหุ้นทั้งตลาดแล้วถือครองให้ยาวพอ ด้วยวิธีที่ดีที่สุดในการจะทำแบบนี้ คือ ซื้อ ” Index Fund” หรือกองทุนดัชนี

คำถามก็คือ ถ้าเราเลือกลงทุน LTF โดยใช้ Active Funds หรือกองทุนที่จ้างผู้จัดการกองทุนมาเลือกหุ้นให้ ในเวลา 10 ปีย้อนหลังที่ผ่านมามีกี่กองที่ทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น(รวมเงินปันผลทบต้น)

จากการดึงข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2015 ย้อนหลังไป 10 ปี เราจะได้ผลตอบแทนของตลาดหุ้นรวมเงินปันผลทบต้น (SET Index Total Return หรือ “SET TR”) ที่ 11.79% ต่อปี ในขณะที่ กองทุน LTF ที่ตั้งเกิน 10 ปีมาแล้วมี 26 กองทุน ผลตอบแทนเฉลี่ยของพวกเขาคือ 10.21% (สูงสุด 15.65% ต่ำสุด 4.2%) ซึ่งจะมีเพียง 6 กองทุนจาก 26 กองที่ชนะ SET TR หรือคิดเป็น 22% เท่านั้น หมายความว่า กองทุนประมาณ 80% ทำผลตอบแทนได้น้อยกว่าตลาดหุ้น โดยน้อยกว่าเฉลี่ย 1.58% ต่อปี !!!!  หรือทำผลตอบแทนได้เพียง 86.5% ของผลตอบแทนรวมตลาดหุ้น

10Y
Data as of 27/11/2015  source : Morningstar, SET

จากข้อมูลข้างบน เราจะตั้งข้อสังเกตกันได้อีกครับ ถ้าเราซื้อกองทุนดัชนีที่ใกล้เคียงที่สุด คือ กรุงศรีหุ้นระยะยาว SET50 ซึ่งได้ผลตอบแทน 9.8% ต่อปี ก็ยังห่างจากผลตอบแทน SET TR ถึง 1.99% ต่อปี และทำผลตอบแทนชนะกองทุนได้เพียงแค่ 10 กองทุน (ชนะประมาณ 40% ของกองทุนทั้งหมด) ซึ่งผมกำลังจะชี้ให้เห็นว่า แม้ผลตอบแทนรวมของตลาดหุ้นจะชนะกองทุนได้กว่า 80% แต่กองทุนดัชนีที่เลียนแบบตลาดหุ้นกลับชนะได้น้อยกว่ามากๆ นั่นก็เพราะเหตุผลเดียวคือ ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม (Total Expense Ratio) ครับ นั่นคือ ถ้ากองทุนดัชนีพวกนี้คิดค่าใช้จ่ายน้อยลงจะทำให้โอกาสที่พวกมันจะชนะกองทุนบริหารทั้งหลายนั้นสูงขึ้นมาก

การที่กองทุน Active Funds (LTF) ส่วนใหญ่แพ้ตลาดหุ้นในระยะยาว ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับทางตะวันตกครับ ซึ่งได้พิสูจน์กันมาแล้วว่า ระยะยาว กองทุนบริหารที่คัดเลือกหุ้นมีน้อยมากที่ระยะยาวจะทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น ยิ่งกองดัชนีในต่างประเทศ อย่างเช่น ของประเทศสหรัฐอเมริกา คิดค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนเพียงปีละ 0.05% ต่อปียิ่งทำให้พวกมันทำผลตอบแทนได้ใกล้เคียงตลาดหุ้นจริงๆ จึงทำให้พวกกองทุนบริหารกว่า 70-80% ไม่สามารถทำผลตอบแทนดีกว่าพวกมันได้

ประเด็นสั้นๆ 1 บรรทัดที่สำคัญคือ ในระยะยาวนั้น

“ค่าใช้จ่ายบ่งบอกผลตอบแทนที่คุณจะได้รับในอนาคตมากที่สุด”

เพราะในระยะยาวมีกองทุนน้อยมากที่จะทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น คุณแทบจะทำนายไม่ได้เลยว่าอีก 20-30 ปีข้างหน้ากองทุนไหนจะทำผลตอบแทนได้ที่ 1 หรือ 2 เพราะฉะนั้นการมานั่งเสียเวลาไปกับการไล่ล่าหากองทุนที่ผลตอบแทนดีเป็นการเปล่าประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่เชื่อลองดู 5 ปีล่าสุดก็ได้ครับ

5 ปีล่าสุดนั้น ผลตอบแทนของกองทุน LTF เฉลี่ยอยู่ที่ 7.52% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนของ SET TR อยู่ที่ 10.39% ต่อปี ส่วนต่างคือ -2.87% ต่อปี หรือเท่ากับว่ากองทุน LTF ส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนหายไปซึ่งคิดเป็น 27% ของผลตอบแทนตลาดหุ้นที่คุณควรจะได้รับครับ และมีเพียง 11 จาก 52 กองทุนเท่านั้นที่ชนะ SET TR (เท่ากับว่ามีแค่ 20.8%จากทั้งหมดที่สามารถชนะตลาดหุ้นได้)โดยลำดับก็ไม่เหมือนเดิมกันด้วย เพราะ 6 กองทุนที่ชนะ SET TR ของ 10 ปีที่แล้ว โผล่มาชนะในรอบ 5 ปีนี้แค่ 4 กองทุนเท่านั้น

5Y

ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ลองทำแบบ 3 ปีย้อนหลังบ้างครับ คราวนี้มี LTF แค่ 10 กองเท่านั้นที่ทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้น ( ประมาณ 80% ของกองทุนจาก 52 กองทุนพ่ายแพ้กับตลาดหุ้นอีกแล้ว) โดยผลตอบแทนของกองทุน LTF เฉลี่ยครั้งนี้อยู่ที่ 3.42% ต่อปี ในขณะที่ SET TR อยู่ที่ 5.15% นั่นคือ ส่วนต่างความพ่ายแพ้ครั้งนี้อยู่ที่ 1.73% ต่อปีครับ หรือกองทุน LTF ส่วนใหญ่ทำผลตอบแทนได้เพียงแค่ 66.4% จากที่ตลาดหุ้นทำได้ (ขออนุญาตไ่ม่ใส่รูปครับ)

มาถึงตรงนี้ เราก็ได้ตัวเลขสักทีว่า กองทุนที่มีผลตอบแทน 10 ปีย้อนหลังชนะตลาดหุ้น ซึ่งมีทั้งหมด 6 กองทุนนั้น มี 4 กองทุนที่สามารถชนะตลาดหุ้น 5 ปีย้อนหลังได้ และเหลือแค่  3 กองทุนเท่านั้นที่ชนะในช่วงเวลา 3 ปีย้อนหลัง ซึ่งใน 3 กองนี้มีเพียงแค่กองเดียวที่ชนะ ทั้งช่วงเวลา 10 ปี 5 ปี 3 ปี แถมถ้าทำการติดตามต่อในปีล่าสุด (2015) ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีล่าสุด กองดังกล่าวได้แพ้ตลาดหุ้นไปเรียบร้อยยยย

ผมกำลังจะชี้ให้เห็นครับว่าในระยะยาวแล้ว ไม่มีผู้ชนะในวงการกองทุนรวมหุ้นที่ถาวร ทุกช่วงเวลาจะมีกองทุนกลุ่มหนึ่งที่ชนะตลาดหุ้นแล้วก็จะกลับมาแพ้ หรืออาจจะหายไปเลย การมานั่งไล่หาว่ากองทุนไหนชนะตลาดหุ้นในปีนี้ ปีหน้า 3 ปี 5 ปี 10 ปีข้างหน้า เสียเวลาเปล่าๆครับ ทางเลือกที่ดีที่สุดที่พิสูจน์กันมาแล้วในฝั่งตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว คือ “ลงทุนในกองทุนดัชนีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด” (Stay invest & Stay hold index fund) 

ซึ่งตรงนี้บ้านเรามี LTF กองดัชนีค่าใช้จ่ายต่ำสุดก็ประมาณ 0.7-0.8% ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างสูง ทำให้มันยังไม่สามารถโชว์ผลตอบแทนที่โดดเด่นออกมาได้  แต่ SET TR ได้แสดงให้เราเห็นแล้วว่า กองทุนผู้ชนะตลาดหุ้นในระยะยาวนั้นหาได้ยากมาก ยิ่งนานเท่าไหร่ยิ่งงมยากเหมือนเข็มในกองฟาง จึงได้แต่หวังว่าสักวันจะมีบลจ.สักที่ที่คิดค่าใช้จ่ายกองทุนรวมดัชนีต่ำๆ เพื่อประโยชน์ของนักลงทุนครับ

วัตถุประสงค์สำคัญในการเขียนบทความนี้ของผมขึ้นมาก็คือ อยากให้นักลงทุนได้รับรู้ข้อมูลว่าจริงๆแล้ว “กองทุนหุ้นโดยส่วนใหญ่ในระยะยาวทำผลตอบแทนได้แพ้ตลาดหุ้น” แม้แต่กองทุนที่ชนะตลาดหุ้นในวันนี้ อนาคตก็อาจจะแพ้ได้ เพราะมันวกกลับสู่ค่าเฉลี่ย “Reversion to the Mean” (RTM)

ซึ่งปัจจัยสำคัญอันแรก ก็คือ กองทุนไม่สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเกินได้ อาจจะมาจากฝีมือการคัดเลือกหุ้นที่พลาดไป หรือ เพราะความมีประสิทธิภาพของตลาดหุ้นเองทำให้การชนะมันเป็นเรื่องที่ลำบาก

ผสมกับปัจจัยที่สองที่สำคัญกว่า นั่นคือ

“ระยะยาวแล้วค่าใช้จ่ายรวมของกองทุนทำลายผลตอบแทนของนักลงทุนมากที่สุด”

 เพราะต่อให้ผู้จัดการกองทุนทำผลตอบแทนได้ชนะตลาดหุ้นถึงปีละ 1.2% แต่ถ้าค่าใช้จ่ายรวมต่อปีของกองทุนคือ 2-3% ต่อปี ยังไงก็แพ้ตลาดหุ้นอยู่ดีครับ

ถ้าระยะยาวตลาดหุ้นทำผลตอบแทนได้ประมาณ 10% ต่อปี การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกองทุนปีละ 2-3% ต่อปี เท่ากับว่าคุณต้องเสียผลตอบแทนที่ควรได้รับไปถึง 20-30% เลยทีเดียว


 

บนโลกการลงทุนสมัยนี้ที่ใครๆก็พยายามจะหาวิธีเลือกกองทุนหุ้นอย่างเช่น LTF ที่มีผลตอบแทนสูงสุด ไล่ล่าเสียเวลาไปกับการนั่งติดตามการจัดอันดับ คำแนะนำคือ เราไม่ควรทำแบบนั้นตามฝูงชน ครับ

สำหรับแนวทางในการลงทุน LTF จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า

A) ลงทุนในกองทุนที่ทำผลตอบแทนได้ดีสม่ำเสมอ และเราสบายใจในการถือ

B) เชื่อมั่นในกองทุนดัชนีโดยเลือกลงทุนในกองที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด

เพราะทั้งนี้ยังมีอีกหลายสิ่งที่จะวัดว่าระยะยาวผลตอบแทนของนักลงทุนจะดีหรือไม่ อย่างเช่น การอดทนถือกองทุนให้ได้ยาวๆ เกิน 10 ปีขึ้นไป, การมีวินัยในการซื้อกองทุน ฯลฯ เพียงแต่ว่าบันไดก้าวแรกควรจะต้องรู้ตัวเองก่อนครับว่า การเสียเวลาไปกับการหากองทุนร้อนแรง การนั่งดูผลตอบแทนย้อนหลัง การนั่งฟังคนขายพูดถึงผลตอบแทนล่าสุด หรืออ่านบทความแนะนำกองนู้นนี่นั้น เป็นเรื่องที่เสียเวลาเปล่าๆ เพราะ Past Performance ผลตอบแทนย้อนหลัง ทำนายอนาคตแทบจะไม่ได้เลย ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ เราจะได้เลิกนั่งติดตามกองทุนต่างๆ และเอาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นที่ส่งผลดีกับการลงทุนของเราครับผม ^^


บทความนี้เขียนขึ้นโดยต้องการให้ความรู้กับนักลงทุน และไม่มีวัตถุประสงค์ในการชี้ชวนหรือแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด 

Project “B” : Earning Yield Gap Asset Allocation 70/30

*** เนื่องจากในหลายปีต่อจากนี้นับจากปี 2018 ผมจำต้องไปศึกษาต่อ ซึ่งก็จะมีปัญหาเพราะการไปเรียนต่อนี้ ผมจำต้องระดมทุนเพื่อตระเตรียมไว้ใช้จ่ายด้วย ด้วยเหตุนี้และด้วยความรู้สึกผิดอย่างมากที่ไม่สามารถดำเนินการลงทุนทดลองไปตลอดรอดฝั่ง ผมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปิดโปรเจกต์เพื่อนำเงินมาใช้ในการศึกษาครับ หวังว่าทุกท่านจะได้โปรดให้อภัย หากมีโอกาสหน้าเมื่อพร้อม ผมจะกลับมาทำโปรเจกต์ทดลองเหล่านี้ต่อให้ได้ครับ 


Project “B” เป็นตัวอย่างการลงทุนที่ผมจะทดลองทำให้ดู โดยอาศัยหลักการลงทุนผสานกันระหว่าง “Asset Allocation” หรือการลงทุนกระจายสินทรัพย์แบ่งสัดส่วน กับ “Earning Yield Gap method” การคำนวณหาผลตอบแทนการลงทุนแบบเปรียบเทียบระหว่าง 2 สินทรัพย์

ในที่นี้โปรเจกต์ B ของเราจะลงทุนในสินทรัพย์คลาสสิก 2 ชนิด คือ หุ้นกับตราสารหนี้ซึ่งมีพลังในการคานอำนาจกันเอง ปกติคำแนะนำหลัก ๆ จะเป็นตัวเลข 60:40 ครับ ลงทุนในหุ้น 60% ที่เหลือ 40% เป็นตราสารหนี้แล้วพอครบ 1 ปีก็ทำการปรับสัดส่วน (rebalance) พอร์ต 1 ครั้งให้เงินกลับมาอยู่ที่ 60:40 เหมือนเดิม เช่น ปีแรกเราลงทุนด้วยเงิน 100 บาท ก็จะต้องแบ่งเป็นลงทุนหุ้น 60 ตราสารหนี้ 40 เมื่อผ่านไป 1 ปีถ้าเงินกลายเป็น 150 เป็นหุ้น 100 ตราสารหนี้ 50 แบบนี้เราก็จะต้องทำให้หุ้นและตราสารหนี้กลับมาอยู่ที่สัดส่วน 60:40 ซึ่งจะต้องสับเปลี่ยนขายหุ้นออกมาเข้าตราสารหนี้ โดยเริ่มต้นใหม่ที่หุ้น 90 ตราสารหนี้ 60 ครับ

ตัวเลขที่ผมใช้เป็นกลยุทธ์ของพอร์ตคือ 70:30 ครับ โดยปกติจะเริ่มต้นที่หุ้น 70% เพื่อพยายามจะให้พอร์ตมีผลตอบแทนที่คาดหวังประมาณ 9% ต่อปี (ให้ชนะเงินเฟ้อ 3 เท่า) และเราจะมีวิธีปรับปรุงครับ เราจะไม่ลงทุนทื่อ ๆ ที่ หุ้น70% โดยเราจะมี range ช่องว่างที่หุ้นสามารถขยับลงทุนได้ตั้งแต่ 55-85% เลยทีเดียว (บวกลบ 15%) โดยใช้การหา Earning Yield Gap เข้ามาเสริมครับ ถ้าตัวเลขนี้สูงเราจะขยับสัดส่วนหุ้นให้สูงขึ้นได้เกิน 70%ครับ วิธีคิดตัวเลขนี้คือ เอา 100 ตั้งแล้วหารด้วย PEตลาดหุ้นไทย(SET) เสร็จแล้วลบด้วยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปีครับ โดยตัวเลขเฉลี่ย Earning Yield Gap (EYG) ตรงส่วนนี้จะอยู่ที่ 4% ครับ ดังนั้น ระบบลงทุนของเราจะเป็นแบบนี้ครับ

eyg

ตัวอย่างตลาดหุ้นไทย P/E 18 จะได้ earning yield ที่ 100/18 = 5.55% ส่วนพันธบัตร 10 ปีให้ yield 3.0% นี่ล่ะครับ Earning Yield Gap คือ 5.55 – 3.0 นิด ๆ = 2.5% + เพราะฉะนั้น เราจะลงหุ้น 65% สำหรับปีนี้ครับ โดยปีหน้าวันที่ 9 กันยา 59 จะทำแบบนี้ rebalance อีกรอบเพื่อปรับสัดส่วนใหม่ ระหว่างนั้นไม่ต้องไปยุ่งมันครับ โดยผมลงทุนวันแรกวันที่ 09/09/2558 ด้วยเงินจำนวน 100,000 บาท เพราะฉะนั้น จะทำการแบ่งเป็นหุ้น 65,000 และตราสารหนี้ 35,000 ครับผม

1) ดู P/E SET ล่าสุดคือหน้านี้ เลื่อนลงไปดูตรงค่าสถิติด้านล่าง Click

2) พันธบัตรเลือก Government Bond แล้วดูตรงช่อง TTM(Yrs.) ที่ใกล้ 10 ปีที่สุดครับ ค่าผลตอบอยู่ที่  Yield(%) Click

สำหรับกองทุนที่จะใช้ลงทุนเป็นตัวแทนหุ้น คือ SCBSET50 ของไทยพาณิชย์ครับ โดยนโยบายของกองทุนนี้จะลงทุนในหุ้น 50 ตัวใหญ่ที่ประกอบกันเป็นดัชนี SET50 ของตลาดหุ้นไทย (โดยมีขนาดมูลค่ารวมกันประมาณ 65-75% ของมูลค่าตลาดหุ้นไทย) โดยข้อดีที่สุดของกองทุนนี้คือ มีค่าใช้จ่ายรวมต่อปี (total expense ratio) ที่ 0.5-0.6% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในบรรดากองทุนหุ้นไทย ณ ปัจจุบัน และในส่วนของกองตราสารหนี้จะเลือก SCBFP ของค่ายเดียวกัน ให้ง่ายต่อการจัดการครับ ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ประมาณ 0.4% เหมือนกัน เท่ากับว่าพอร์ตการลงทุนนี้จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยระยะยาวที่ประมาณ 0.5% ต่อปีครับผม ซึ่งผมถือว่าน้อยมาก น้อยกว่ากองทุนตราสารหนี้ 100% หลายๆค่ายในไทยอีกต่างหาก (พวกนี้เก็บ 0.5% โดยเฉลี่ย) ที่สำคัญคือ ปกติแล้วถ้าเราจะใช้กองทุนแบบบริหารจัดการ (active fund) มาทำ เราจะมีค่าใช้จ่ายรวมของพอร์ตที่ประมาณ 1.2-1.6% ต่อปีเลยทีเดียว นี่เท่ากับว่า Project B ของเรามีต้นทุนต่ำกว่า 3-4 เท่า ส่วนต่างประมาณ 0.8% – 1.2% นั้นคือผลตอบแทนที่เราจะได้รับในระยะยาวครับ ได้มาโดยการจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยกว่านี่ล่ะ กำไรตั้งแต่ลงทุนเห็น ๆ

ทั้งนี้เราสามารถปรับสัดส่วนหุ้นที่เราอยากได้มากหรือน้อยกว่านี้ได้นะครับ ขึ้นอยู่กับว่าเรารับความเสี่ยงผลขาดทุนได้แค่ไหน หรืออายุและเวลาลงทุนวางไว้แบบไหน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจแตกต่างไปตามเป้าหมายของแต่ละคนได้ อย่างผมทำกลางๆที่ 70/30 (หุ้นปกติ 70%) ซึ่งแต่ละคนอาจจะปรับเป็น 80/20 85/15 หรือ 60/40 50/50 40/60 ก็ทำได้ ลองปรับดูให้เหมาะกับเป้าหมายตัวเองครับ

 

โดย ProjectB นี้ก็จะทำการติดตามผลตอบแทนและอัพเดตทุกๆปีด้วยครับ


อัพเดตประจำปี
b-60

 

วันสุดท้ายที่หยุดโปรเจกต์ วันที่ 28/3/2018 จากเงินต้น 100,000 กลายเป็น 127,544 บาท (+27.5%) เริ่มต้นลงทุนวันแรก 9/9/15 ก็ประมาณ 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นประมาณ 10.2% ต่อปีครับ

projectb-lastday.PNG


** บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับวิธีการลงทุนของผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้ลงทุนตาม ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน