เรื่องทั้งหมดโดย Bear Investor

PE ตลาดหุ้นไทย 40 ปี – P/E SET 40YRS

P/E (หรือ PE) เป็นอัตราส่วนทางการเงินยอดนิยมในการลงทุน ใช้สำหรับวัดความถูกแพงของหุ้นรายตัวและตลาดหุ้น โดยเปรียบเทียบระหว่าง 2 ตัวเลขสำคัญ คือ ราคา (สิ่งที่คุณจ่าย) กับ กำไร (สิ่งที่คุณได้รับ)

มีหน้าเว็บหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ที่ผมชอบเข้าดูบ่อยๆ คือ หน้า สรุปภาพรวมตลาด โดยเฉพาะส่วนล่างค่าสถิติสำคัญซึ่งอัตราส่วนทั้งหมดนี้ค่อนข้างสำคัญและผมชอบเอามาวิเคราะห์บ่อย ๆ ครับ และอัตราส่วนที่ผมชอบดูมากที่สุดคือ P/E ของตลาดหุ้น

ข้อมูล ณ 18 กันยายน 2558
ข้อมูล ณ 18 กันยายน 2558

ความคิดเบื้องต้น

ตัวเลข PE นี้เป็นตัวหลักที่นักลงทุนทุกคนควรจะเข้าใจ เพราะมันเป็นตัวเลขสำคัญที่จะบอกอะไรหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับหุ้น ตั้งแต่ระดับพื้น ๆ ไปจนถึงเชิงลึกเลยทีเดียว สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักมัน เราสามารถสรุปย่อ ๆ ได้ว่า มันเป็นตัวเลขที่บอกเราว่า ราคาที่จ่ายในการซื้อ ณ วันนี้คิดเป็นกี่เท่าของกำไรที่เราจะได้

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น คุณซื้อบริษัทที่ทำกำไรได้แน่นอนมากปีละ 100 ล้าน ผ่านไปกี่ปีกำไรที่ว่านี้ก็ไม่ลดไม่เพิ่ม ยืนยันที่จะทำกำไรได้ปีละ 100 ล้านเท่านั้น ถ้าคุณซื้อมันทั้งกิจการที่ 100 ล้านพอดี ซื้อปุ๊บปีเดียวคุณก็คืนทุนล่ะ ถ้าสมมติกำไร 100 ล้านนั้นเป็นเงินสดและจ่ายให้คุณทั้งหมด แต่ถ้าตัวเลขเป็นว่าคุณจ่าย 1,000 ล้านบาทที่ระดับกำไรนี้ คุณจะต้องใช้เวลาคืนทุนยาวไปถึง 10 ปี (1,000/100)

วิธีคิด P/E จึงง่ายมาก ๆ เอาราคาตั้งแล้วหารด้วยกำไรที่บริษัททำได้ ไม่ว่าจะใช้มูลค่าตามราคาตลาดหารด้วยกำไรสุทธิ (Market Cap/Net income) หรือ ราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น (Price/EPS) ตัวเลขจะออกมาเท่ากัน ส่วนกรณีบริษัทมีผลประกอบการขาดทุน ตัวเลขจะคำนวณไม่ได้ เว็บตลาดหลักทรัพย์จะโชว์เป็น N/A

ถ้าคุณดูค่านี้ ณ วันที่ 18/09/15 ของตลาดหุ้นไทย (SET) ที่ 18.32 มันจะบอกเราว่า

  1. ที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 13.12 ล้านล้านบาท คุณกำลังซื้อที่ราคา 18.32 เท่าของกำไรที่ตลาดหุ้นไทยทำได้ประมาณปีละ 0.72 ล้านบาท หรือ
  2. ที่ดัชนีตลาดหุ้น SET 1390.32 คุณกำลังจ่ายที่ 18.32 เท่าของกำไรที่บริษัทใน SET ทั้งหมดรวมกันทำได้ 75.89 บาทต่อปี (คล้าย ๆ คำนวณจาก Price/EPS ครับ)

หลักการง่าย ๆ คือ ยิ่งตัวเลขนี้น้อยเราก็จะคืนทุนได้ไว เพราะเราจ่ายไม่แพงสำหรับกำไรของสินทรัพย์ที่เราซื้อทำได้ สมมติคุณฝากเงินในธนาคารได้ดอกเบี้ย 2% ต่อปี วิธีหาค่า PE มันก็คือ 100/2 = 50 นั่นคือ ถ้าคุณต้องการจะคืนทุนทั้งหมดด้วยการฝากเงินรับดอกเบี้ยปีละ 2% คุณต้องรอไปถึง 50 ปี !! (ยังมีใครเห็นด้วยอยู่หรือไม่ว่าฝากเงินธนาคารจะทำให้เรารวยได้)

แถมตัวเลขค่านี้ถ้าคุณกลับสัดส่วนมันจะกลายเป็น E/P ซึ่งเป็นตัวเลขของผลตอบแทนที่คุณคาดหวัง (Earnings Yield) ครับหรือมีอีกวิธีคิดหา E/P ง่าย ๆ คือ เอา 100 หารด้วย P/E เช่น ตัวเลข 18.32 แสดงว่าคุณหวังผลตอบแทนที่คาดหวังจากการซื้อหุ้นทั้งหมดในตลาดหุ้นไทยวันนี้ที่ 100/18.32 = 5.46% ต่อปี (E/P = 5.46)

ทั้งนี้ การที่คุณจะตัดสินใจอะไรได้ดีขึ้นในการลงทุน คุณควรเทียบค่านี้ในอดีตว่า ที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยนั้นมีการซื้อขายเฉลี่ยที่ PE เท่าไหร่ และสูงสุดต่ำสุดมันคือตัวเลขไหน จะได้มีกรอบในการลงทุน ซึ่งผมได้ทำมาฝากครับ ลองดูรูปต่อไปนี้ได้เลย

ตัวเลข PE ของตลาดหุ้นไทยในอดีต

PE-SET-40Y-AVERAGE-1975-2015

จะเห็นได้ว่า 40 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ P/E ประมาณ 12.50 เท่า และเคยสูงสุดที่ 29 เท่า และต่ำสุดที่ 3.5 เท่า ช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง (ซึ่งก่อนหน้านั้น 2-3 ปี ตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ 20-25 เท่า)

ผมได้ใส่ไฮไลต์สีให้ด้วย สีเขียวคือช่วงที่ตัวเลขต่ำกว่าเฉลี่ย ซึ่งส่วนมากมักจะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นดูไม่ดีหรือหลังเกิดวิกฤต เช่น หลังปี 1999 วิกฤตต้มยำกุ้ง หรือปี 2008 วิกฤตสินเชื่อซับพาร์มสหรัฐ หรือปี 2011 น้ำท่วมใหญ่ ส่วนช่วงที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยจะใช้สีชมพูครับ

การที่มี P/E เฉลี่ย 12.5 มองมุมกลับคือ นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยนั้น มักจะมองผลตอบแทนที่คาดหวังประมาณ 8% ต่อปี (100/12.5) ซึ่งเมื่อรวมกับผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินปันผลที่ 3% เราจะได้ผลตอบแทนรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ประมาณ 11% ซึ่งเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นระยะยาวครับ ถือว่าสมเหตุผล

ตัวเลขที่ตลาดหลักทรัพย์ใช้คำนวณนั้นมักจะเป็นตัวเลขที่ใช้ 4 ไตรมาสล่าสุดมาคิด ทำให้เป็นตัวเลขที่ผสมกับตัวเลขในอดีต แต่ผมว่ามันก็สะท้อนอะไรได้ดีกว่าการเอาตัวเลขในอนาคตมาใช้แบบที่นักวิเคราะห์ชอบพูดว่า Forward PE ครับ

แม้ตลาดหุ้นจะเป็นการลงทุนที่มองอนาคตไปข้างหน้า แต่การลงทุนจะให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ควรจะต้องตั้งอยู่บนความอนุรักษ์นิยมพอสมควร ส่วนตัวผมถือคติ อยากรู้ว่าจะได้กำไรตั้งแต่ลงทุนเท่าไหร่ มากกว่าที่จะหวังว่าอนาคตจะได้มากกว่านี้เท่าไหร่ ถ้าได้เกินผมถือว่าเป็นส่วนเพิ่ม (surplus)

ผมมักจะสนใจมากกว่าว่าโอกาสขาดทุนหรือการวิเคราะห์ของเราผิดพลาดได้มากแค่ไหนยังไง แล้วผมก็ยังเชื่อว่า ระดับตัวเลขที่เหมาะสมของตลาดหุ้นไทยคือ 10-12 เท่า และระดับ 18 เท่านี้คือแพง ยิ่งถ้าคำนวณโดยใช้ Earning Yield Gap ด้วยแล้ว ก็จะพบว่ามันแพงอยู่ดีครับผม

หากแต่ก็มีตัวอย่างให้เห็นเหมือนกันว่า บางช่วงหลังเกิดวิกฤตที่กระทบกับการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น ก็ส่งผลทำให้ตัวเลขนี้สูงขึ้นมา เช่น ช่วงปี 2009 ซึ่งราคาหุ้นตรงนั้นถูกมาก ดัชนีก็ไม่สูง แต่เพราะบริษัทส่วนใหญ่ขาดทุนหรือกำไรตกต่ำทำให้ ค่า PE ทะยานขึ้นไป นักลงทุนจึงควรพิจารณาประเด็นนี้ประกอบด้วย ต้องระวังการถูกตัวเลขหลอก

ความหลากหลายในการตีความ PE

แม้จะเป็นตัวเลขง่าย แต่การประยุกต์ต่อยอดนั้นสูงมาก ๆ ครับ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์สุด ๆ ผลลัพธ์ไปไกลได้หลายด้าน สมมติค่านี้ของตลาดหุ้นคือ 18

(1) นาย A จะบอกว่าซื้อหุ้นที่ Set Index ระดับนี้เฉลี่ยแล้วจะคืนทุนที่ 18 ปี

(2) นาย B อาจจะคิดว่าซื้อแล้วคืนทุนไวกว่านั้น เพราะกำไรพวกนี้รวมกำไรไม่ปกติด้วย อนาคตคืนเร็วกว่านั้น อาจจะไม่ถึงหรอก

(3) คนกลุ่ม C ไม่เชื่อ และมีความเห็นว่าซื้อแล้วคืนทุนช้ากว่านั้น เพราะกำไรพวกนี้ไม่ปกติและมากเกินไปด้วย อนาคตคืนทุนช้ากว่าตัวเลขที่เห็น

(4) คนกลุ่ม D จะบอกว่าจริง ๆ มันโดนผลของหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดเล็กยังเติบโตดี ทำให้ตลาดยังทำกำไรดีอยู่ อาจคืนทุนเร็วกว่าเดิม

(5) ส่วนคนกลุ่ม E จะบอกว่ากำไรของ SET มาจากบริษัทขนาดใหญ่อยู่แล้วในระยะยาว แล้วทำไมจะไม่เชื่อว่าคืนทุนสิบแปดปีล่ะ

เห็นไหมครับให้เซียนดูเซียนยังว่าไม่เหมือนกันเลย ขึ้นอยู่กับวิธีการ หลักการ แนวทางการลงทุนและมุมมองของแต่ละคนครับ ซึ่งสำหรับผมแล้วการลงทุนมีความเสี่ยง การรักษาเงินต้นเป็นเรื่องสำคัญกว่า ผมไม่ชอบขาดทุนครับ เพราะฉะนั้นตัวเลขไหนอนุรักษ์นิยมสุด จำกัดความเสี่ยงไม่คาดคิดสุด ผมเอาอันนั้นครับ  หุ้นรายตัวอาจจะต้องประเมินพื้นฐานและมองอนาคตบ้าง บางครั้งจึงมีการใส่สมมติฐานคาดการณ์ในอนาคต (Forward) ไปบ้าง แต่สำหรับ SET หรือตัวดัชนีตลาดหุ้น ผมใช้ P/E ปกติ จะไม่ค่อยใช้การคาดการณ์อนาคตสักเท่าไหร่ครับ

P/E ตลาดหุ้นไทย 40 ปี

มีหน้าเว็บหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ที่ผมชอบเข้าดูบ่อยๆ คือ หน้า สรุปภาพรวมตลาด โดยเฉพาะส่วนล่างค่าสถิติสำคัญซึ่งอัตราส่วนทั้งหมดนี้ค่อนข้างสำคัญและผมชอบเอามาวิเคราะห์บ่อยๆครับ

ข้อมูล ณ 18 กันยายน 2558
ข้อมูล ณ 18 กันยายน 2558

และอัตราส่วนที่ผมชอบดูมากที่สุดคือ P/E ของตลาดหุ้นครับ ใครที่ศึกษาเรื่องหุ้นมาแล้ว ค่านี้เป็นตัวหลักที่นักลงทุนทุกคนควรจะเข้าใจ เพราะมันเป็นตัวเลขสำคัญที่จะบอกอะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับหุ้นตั้งแต่ระดับพื้นๆไปจนถึงเชิงลึกเลยทีเดียว สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักมัน เราสามารถสรุปเรื่องของ P/E ย่อๆได้ว่ามันเป็นตัวเลขที่ “บอกเราว่าราคาที่จ่ายในการซื้อ ณ วันนี้คิดเป็นกี่เท่าของกำไรที่เราจะได้” ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คุณซื้อบริษัทที่ทำกำไรได้แน่นอนมากปีละ 100 ล้าน ผ่านไปกี่ปีก็ไม่ลดไม่เพิ่ม ยืนยันที่จะทำกำไรได้ปีละ 100 ล้านเท่านั้น ถ้าคุณซื้อมันทั้งกิจการที่ 100 ล้านพอดี ซื้อปุ๊บปีเดียวคุณก็คืนทุนล่ะ ถ้าสมมติกำไร 100 ล้านนั้นเป็นเงินสดและจ่ายให้คุณทั้งหมด แต่ถ้าตัวเลขเป็นว่าคุณจ่าย 1,000 ล้านบาทที่ระดับกำไรนี้ คุณจะต้องใช้เวลาคืนทุนยาวไปถึง 10 ปี (1,000/100) วิธีคิด P/E จึงง่ายมากๆ เอาราคาตั้งแล้วหารด้วยกำไรที่บริษัททำได้ ไม่ว่าจะใช้ มูลค่าตามราคาตลาดหารด้วยกำไรสุทธิ (MarketCap/Net income) หรือ ราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้น (Price/EPS) ตัวเลขจะออกมาเท่ากัน ส่วนถ้าบริษัทขาดทุน ตัวเลขจะคำนวณไม่ได้ เว็บตลาดหลักทรัพย์จะโชว์เป็น N/A

ถ้าคุณดูค่า P/E ล่าสุดของตลาดหุ้นไทย (SET) ที่ 18.32 มันจะบอกเราว่า
1.ที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 13.12 ล้านล้านบาท คุณกำลังซื้อที่ราคา 18.32 เท่าของกำไรที่ตลาดหุ้นไทยทำได้ประมาณปีละ 0.72 ล้านบาท หรือ
2.ที่ดัชนีตลาดหุ้น SET 1,390.32 คุณกำลังจ่ายที่ 18.32 เท่าของกำไรที่บริษัทใน SET ทั้งหมดรวมกันทำได้ 75.89 บาทต่อปี (คล้ายๆคำนวณจาก Price/EPS ครับ)

หลักการง่ายๆ ของ P/E คือยิ่งตัวเลขนี้น้อยเราก็จะคืนทุนได้ไว (จ่ายไม่แพงสำหรับกำไรของสินทรัพย์ที่เราซื้อทำได้) สมมติคุณฝากเงินในธนาคารได้ดอกเบี้ย 2% ต่อปี วิธีหาค่า P/E มันก็คือ 100/2 = 50 นั่นคือ สมมติคุณต้องการจะคืนทุนทั้งหมดด้วยการฝากเงินรับดอกเบี้ยปีละ 2% คุณต้องรอไปถึง 50 ปี !! (ยังมีใครเห็นด้วยอยู่หรือไม่ว่าฝากเงินธนาคารจะทำให้เรารวยได้)

แถมตัวเลข P/E นั้นถ้าคุณกลับสัดส่วนเป็น E/P คุณจะได้ตัวเลขของผลตอบแทนที่คุณคาดหวังครับ (Earnings Yield) มีอีกวิธีคิดง่ายๆ คือ เอา 100 หารด้วย P/E เช่น ตัวเลข P/E SET คือ 18.32 แสดงว่าคุณหวังผลตอบแทนที่คาดหวังจากการซื้อหุ้นทั้งหมดในตลาดหุ้นไทยวันนี้ที่ 100/18.32 = 5.46% ต่อปี ซึ่งการที่คุณจะตัดสินใจอะไรได้ดีขึ้นในการลงทุน คุณควรเทียบค่านี้ในอดีตว่าที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยนั้นมีการซื้อขายเฉลี่ยที่ P/E เท่าไหร่ และสูงสุดต่ำสุดมันคือตัวเลขไหน จะได้มีกรอบในการลงทุนซึ่งผมได้ทำมาฝากครับ ลองดูรูปต่อไปนี้ได้เลย

PE 40

จะเห็นได้ว่า 40 ปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ P/E ประมาณ 12.50 เท่า และเคยสูงสุดที่ 29 เท่า (O_o) และต่ำสุดที่ 3.5 เท่าช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง (ซึ่งก่อนหน้านั้น 2-3 ปี มี P/E เฉลี่ย 20-25 เท่า) ตัวเลขนี้กำลังบอกเราว่า P/E ตลาดหุ้นไทยที่ 18.32 เท่านั้นแพงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตเกือบๆ 50% ช่วงนี้จะลงทุนหุ้นอะไรโปรดระมัดระวังครับ

ผมใส่ไฮไลต์สีให้ได้ สีเขียวคือช่วงที่ P/E ต่ำกว่าเฉลี่ยซึ่งส่วนมากมักจะเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นดูไม่ดีหรือหลังเกิดวิกฤต เช่น หลังปี 1999-วิกฤตต้มยำกุ้ง 2008-วิกฤตสินเชื่อซับพาร์มสหรัฐ 2011-น้ำท่วมใหญ่ ส่วนช่วงที่แพงกว่าค่าเฉลี่ยจะใช้สีชมพูครับ

การที่มี P/E เฉลี่ย 12.5 มองมุมกลับคือ นักลงทุนที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยนัน มักจะมองผลตอบแทนที่คาดหวังประมาณ 8% ต่อปี (100/12.5) ซึ่งเมื่อรวมกับผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินปันผลที่ 3% เราจะได้ผลตอบแทนรวมของการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่ประมาณ 11% ซึ่งเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นระยะยาวครับ ถือว่าสมเหตุผล

ตัวเลข P/E ที่ตลาดหลักทรัพย์ใช้คำนวณนั้นมักจะเป็นตัวเลขที่ใช้ 4 ไตรมาสล่าสุดมาคิด ทำให้เป็นตัวเลขที่ผสมกับตัวเลขในอดีต แต่ผมว่ามันก็สะท้อนอะไรได้ดีกว่าการเอาตัวเลขในอนาคตมาใช้แบบที่นักวิเคราะห์ชอบพูดว่า Forward P/E ครับ แม้ตลาดหุ้นจะเป็นการลงทุนที่มองอนาคตไปข้างหน้า แต่การลงทุนจะให้ได้ผลตอบแทนที่ดี ควรจะต้องตั้งอยู่บนความอนุรักษ์นิยมพอสมควร ส่วนตัวผมถือคติ อยากรู้ว่าจะได้กำไรตั้งแต่ลงทุนเท่าไหร่ มากกว่าจะหวังว่าอนาคตจะได้มากกว่านี้เท่าไหร่ ถ้าได้เกินผมถือว่าเป็นส่วนเพิ่ม (Surplus) แต่ผมมักจะสนใจมากกว่าว่าโอกาสขาดทุนหรือการวิเคราะห์ของเราผิดพลาดได้มากแค่ไหนยังไง แล้วผมก็ยังเชื่อว่าระดับ P/E ที่เหมาะสมของตลาดหุ้นไทยคือ 10-12 เท่า และระดับ 18 เท่านี้คือแพง ยิ่งถ้าคำนวณโดยใช้ Earning Yield Gap ด้วยแล้ว ก็จะพบว่ามันแพงอยู่ดีครับผม (แต่ตัวอย่างก็มีให้เห็นเหมือนกันว่า บางช่วงหลังเกิดวิกฤตที่กระทบกับการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นก็ทำให้ตัวเลข P/E สูงขึ้นมา เช่น ช่วงปี 2009 ซึ่งราคาหุ้นตรงนั้นถูกมาก ดัชนีก็ไม่สูง แต่เพราะบริษัทส่วนใหญ่ขาดทุนหรือกำไรตกต่ำทำให้ ค่า P/E สูงขึ้นมา นักลงทุนจึงควรพิจารณาประเด็นนี้ประกอบด้วย ต้องระวังการถูก P/E หลอก)

แม้จะเป็นตัวเลขง่ายๆ คำสั้นๆว่า P/E หรือ Price/Earning แต่การประยุกต์ต่อยอดนั้นสูงมากๆครับ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์สุดๆ ผลลัพธ์ไปไกลได้หลายด้านมากๆ สมมติ P/E ตลาดหุ้นตอนนี้ที่ 18

  • คนกลุ่ม A จะบอกว่าซื้อหุ้นที่ Set Index ระดับนี้เฉลี่ยแล้วจะคืนทุนที่ 18 ปี
  • คนกลุ่ม B จะบอกว่าซื้อแล้วคืนทุนไวกว่านั้น เพราะกำไรพวกนี้รวมกำไรไม่ปกติด้วย อนาคตคืนเร็วกว่านั้น อาจจะไม่ถึงหรอก
  • คนกลุ่ม C จะบอกว่าซื้อแล้วคืนทุนช้ากว่านั้น เพราะกำไรพวกนี้ไม่ปกติและมากเกินไปด้วย อนาคตคืนทุนช้ากว่าตัวเลขที่เห็น
  • คนกลุ่ม D จะบอกว่าจริงๆมันโดนผลของหุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดเล็กยังเติบโตดี จริงๆตลาดยังกำไรดี คืนทุนเร็วกว่าเดิม
  • คนกลุ่ม E จะบอกว่ากำไรของ SET มาจากบริษัทขนาดใหญ่อยู่แล้วในระยะยาว แล้วทำไมจะไม่เชื่อว่าคืนทุนเท่านั้นล่ะ (คือสิบแปดปี)

เห็นไหมครับให้เซียนดูเซียนยังว่าไม่เหมือนกันเลย ขึ้นอยู่กับวิธีการ หลักการ แนวทางการลงทุนและมุมมองของแต่ละคนครับ

สำหรับผมแล้วการลงทุนมีความเสี่ยง รักษาเงินต้นเป็นเรื่องสำคัญกว่า ผมไม่ชอบขาดทุนครับ เพราะฉะนั้นตัวเลขไหนอนุรักษ์นิยมสุด จำกัดความเสี่ยงไม่คาดคิดสุด ผมเอาอันนั้นครับ  หุ้นรายตัวอาจจะต้องประเมินพื้นฐานและมองอนาคตบ้าง จึงอาจใส่สมมติฐานด้าน Forward ไปบ้าง แต่สำหรับ SET หรือตัวดัชนีตลาดหุ้น ผมใช้ P/E ปกติ จะไม่ค่อยใช้การคาดการณ์อนาคตครับ : )

Earning Yield Gap ตลาดหุ้นไทย : ความรู้เบื้องต้น

Earning Yield Gap (EYG) เป็นหนึ่งในตัวเลขที่จะตอบข้อสงสัยที่ว่า ตลาดหุ้นตอนนี้มีราคาแพงไปหรือยัง และในเมื่อตลาดหุ้นนั้นมีทั้งช่วงที่หุ้นถูกและหุ้นแพง ถ้าเรารู้ว่าช่วงนี้หุ้นแพงเราก็ไม่ควรจะลงทุนเพราะมีสิทธิที่หุ้นจะตกลงมาหนัก ๆ ได้

ในบทความนี้ผมจะอธิบาย EYG และตัวเลขย้อนหลังของมันในตลาดหุ้นไทย แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนว่า นอกจากตัวเลข EYG มันมีวิธีอะไรมาใช้วิเคราะห์ความถูกแพงของหุ้นกันได้บ้าง ผมรวบรวมมา 3 วิธีให้ทำความเข้าใจกันง่าย ๆ ครับ

วิธีวัดความถูกแพงของตลาดหุ้น

(1) Relative Valuation

เป็นวิธีที่ดูอัตราส่วนทางการเงินของตลาดหุ้น เช่น ดู P/E เทียบราคาดัชนีตลาดหุ้นกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดว่าเป็นกี่เท่า หรือดู P/B เทียบราคาดัชนีตลาดหุ้นกับมูลค่าทางบัญชีของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดว่าเป็นกี่เท่า ดู Dividend Yield เทียบราคาดัชนีตลาดหุ้นกับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด

เราสามารถดูอัตราส่วนเหล่านี้แล้วเอาไปเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาในอดีตว่า ช่วงก่อนที่หุ้นจะตกหนัก ๆ อัตราส่วนพวกนี้เป็นอย่างไร ที่ผมเคยทดลองทำแล้วก็มี วิธี P/E หรือ Price/Earning(Click) ส่วนอัตราส่วนอื่นขอยกยอดไปก่อนครับ

(2) Stock Market Capitalization to GDP Ratio

เทียบมูลค่าตลาดหุ้น (Market Cap) กับ GDP ถ้าสูงเกินไป เช่น 3-4 เท่า แบบนี้ถือว่ามูลค่าของตลาดหุ้น สูงกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศจนเกินไปครับ นักลงทุนกำลังจ่ายมากกว่าผลผลิตที่ทำได้ของชาติ เราจึงต้องระมัดระวัง (ส่วนควรระวังเมื่อเป็นตัวเลขเท่าไหร่นั้น ขอยกยอดไปเขียนให้ละเอียดในโอกาสหน้าครับ)

(3) Earning Yield Gap

วิธีเทียบผลตอบแทน ณ ปัจจุบันของตลาดหุ้น (Stock Earnings) กับผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ซึ่งแทบไม่มีความเสี่ยง (10-Y Government Bond Yield; risk-free rate) บนหลักการที่ว่าทุกการตัดสินใจลงทุน นักลงทุนที่มีเหตุผลควรจะเทียบผลตอบแทนของหุ้นกับพันธบัตรรัฐบาลซึ่งแทบจะปราศจากความเสี่ยง สมมติว่า คุณสามารถลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนถึง 7% ต่อปีได้ แล้วทำไมคุณจะเอาเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนแค่ 5% ในขณะนั้นล่ะ

วิธีนี้จึงเป็นวิธีประเมินความถูกแพงตลาดหุ้นอย่างหนึ่ง ด้วยการเอาผลตอบแทน ณ ปัจจุบันของตลาดหุ้น มาลบหรือหักออกด้วยผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ตัวเลขที่ได้คือ Earning Yield Gap (EYG) แล้วเทียบค่านี้กับอดีตว่า ก่อนตลาดหุ้นจะตกหนัก ๆ นั้น ตัวเลขที่ได้มักจะเป็นเท่าไหร่ เราจะได้หลบสภาะตลาดหุ้นถล่มได้ทัน หรืออีกแง่หนึ่ง เราได้หาจังหวะขายหุ้นเพื่อถือเงินสดรอช่วงเวลาการลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งวิธีนี้ผมจะเขียนอธิบายให้ชัดเจนในบทความนี้ครับ เราลองมาดูกันดีกว่า

วิธีวัดความถูกแพงของตลาดหุ้นด้วยการคำนวณ EYG

เราสามารถดึงข้อมูลจาก เว็บตลาดหลักทรัพย์ และเว็บ ThaiBMA สำหรับตัวข้อมูล โดยข้อมูลล่าสุด ณ 16/09/58 ตลาดหลักทรัพย์ (SET) มีค่า P/E ที่ 18.20 เท่า เราจะได้ ผลตอบแทนตลาดหุ้นไม่รวมปันผลที่ประมาณ 5.49% ส่วนพันธบัตรรัฐบาลอายุใกล้เคียง 10 ปีให้ผลตอบแทนที่ 3% เรานำมาหักลบกันก็จะได้ Earning Yield Gap หรือ EYG ปัจจุบันที่ 2.49% ครับ

คำถามคือแล้วในอดีตเป็นเท่าไหร่? ผมได้ลองดึงข้อมูลรายเดือนของทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ระหว่าง มกราคม 2001 – สิงหาคม 2015 มาหาค่าเฉลี่ยดูพบว่า ค่าเฉลี่ย EYG ของไทยในช่วงประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาคือ 4.75% ครับ ดังรูปด้านล่างนี้

eyg

ข้อสังเกตคือ ช่วงที่ EYG เหนือกว่าค่าเฉลี่ยนั้น (มากกว่า 4.75) ผมไฮไลต์ให้เป็นสีเขียว ซึ่งจะพบว่ามีช่วงหลัก ๆ ที่น่าสนใจ คือ ระหว่างปี 2001 – 2003 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และหุ้นช่วงนั้นมีราคาที่ถูกเอามาก ๆ ที่หุ้นตกจากประมาณ 1750 จุด เหลือ 200 จุด

ช่วงต่อมาคือช่วงปลายปี 2008 – ต้นปี 2009 นั่นคือ หลังจากเกิดวิกฤต Subprime ของอเมริกานั่นเอง และทำให้ตลาดหุ้นไทยตกลงไปเกือบ 50% และช่วงสุดท้ายที่ผมอยากให้สังเกต คือ ปลายปี 2011 ครับ ถ้าจำกันได้ช่วงนั้นคือ เวลาที่ประเทศไทยเจออุทกภัยน้ำท่วมใหญ่นั่นเอง

เมื่อไรที่พบว่า EYG พุ่งไปเกิน 5% โดยเฉพาะเวลาที่เกิน 10% ด้วยแล้ว บอกได้เลยว่า นี่คือโอกาสครั้งสำคัญในชีวิตของนักลงทุน ที่จะได้หุ้นในราคาที่ถูก และสร้างผลตอบแทนมหาศาลในเวลาต่อมา ห้ามพลาดกันเลยทีเดียว!

ข้อสังเกตถัดมา แม้จะใช้คำว่าค่าเฉลี่ย EYG ที่ 4.75 แต่ถ้าลองดูดี ๆ เราจะพบว่า ช่วงเวลามากกว่าครึ่งนั้น หุ้นตกอยู่ในภาวะที่ EYG ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสิ้น และคงจะเห็นกันได้ทุกคนว่า ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน คือ กันยายน 2015 ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนตลาดหุ้นกับพันธบัตรนั้นต่ำมาก

เมื่อมองย้อนไปจึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมหุ้นสองสามปีดังกล่าวผันผวนสุดฤทธิ์นั่นก็เพราะ EYG กำลังบอกให้คุณรู้ว่า ในเวลานี้หุ้นอยู่ในช่วงที่แพงกว่าปกติ การซื้อหุ้นตอนนี้เท่ากับว่า นักลงทุนกำลังจะจ่ายแพงสำหรับผลตอบแทนที่ได้รับ เพราะฉะนั้น นักลงทุนทุกคนพึงระวัง!

อยากจะฝากไว้อีกนิดว่า ใครที่คิดว่า เฮ้ย เดี๋ยวฉันก็เก็บเงินไว้รอช่วงเวลาหุ้นถูกจริงค่อยซื้อไม่ดีกว่าหรือ ผมอยากจะให้มองย้อนไปดี ๆ ครับ เห็นช่วงปลายปี 2009 เป็นต้นมาไหมครับ การถือเงินสดรอไว้เพื่อให้หุ้นตกหนัก ๆ จะทำให้คุณพลาดโอกาสที่จะมีหุ้นถือครองมาตั้งแต่ตอนนั้น ตอนที่ SET Index อยู่ที่ 500 จุด และปัจจุบันคือ 1300 – 1400 จุด[footnote]เขียนบทความนี้ตอนปี 2015 พอต้นปี 2018 ดัชนี SET Index ทะยานไปสู่ 1800 จุด ก่อนจะตกมาที่ 1600 จุด ณ วันที่ปรับปรุงบทความ 30/06/2018[/footnote] ถ้าเจาะผลตอบแทนของหุ้นรายตัวลงไป ต้นทุนการสูญเสียมีมหาศาลครับ

ประเด็นของ Earning Yield Gap กับการลงทุนระยะยาว

ถ้าคุณคิดจะลงทุนยาว ๆ จริง ๆ ควรเชื่อคำว่า Stock For the Long Run ดีกว่า คือถ้ามันยาวถึง 30-40 ปี คุณลงทุนนานขนาดนั้น การ Timing หรือจับจังหวะลงทุนแทบไม่มีประโยชน์เลย การลงทุนแบบ Lump Sum หรือลงเงินก้อนแล้วถือยาวไป สามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ามาก ๆ หรือจะใช้ วิธีลงทุนแบบประจำ (regular investing) ก็ได้

ก็ที่สำคัญที่ผมอยากย้ำคือ บางทีมันลงมาถึงจุดที่ EYG สูงแล้ว ๆ แต่ภาวะรอบตัวจะกลายเป็นว่า หุ้นตกมารุนแรงมาก สุดท้ายคุณก็แพ้ใจตัวเองไม่กล้าลงทุนอยู่ดี ต้องระวังตรงนี้ด้วย นักลงทุนหลายๆคนมีความรู้ แต่พอถึงเวลาลงสนามจริงกลับไม่มีวินัย ผลตอบแทนก็ไม่ดีครับ

ประโยชน์ของ EYG จริง ๆ ที่ผมอยากจะให้เข้าใจคือ มันจะทำให้คุณสามารถตระหนักและชะลอความหน้ามืดตามัว เกิดความโลภสุดขีดที่ต้องการจะลงทุนหุ้นหนัก ๆ ลงทุนด้วยเงินมหาศาลในช่วงภาวะหุ้นแพง ๆ ครับ ตัวเลข EYG มันทำให้คุณสามารถดึงกำไรบางส่วนออกมาได้

ในความเห็นของผมคือ สมมติถือหุ้น 100% ถ้า EYG มันต่ำจริง ๆ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาก ๆ เช่น อยู่ที่ 2-3% คุณอาจลดหุ้นไปซื้อพันธบัตรหรือตราสารหนี้แทน โดยให้มันเหลือแค่ 50-60% แบบนี้ก็ได้ครับ

บทสรุปของ Earning Yield Gap

อย่างไรก็ดี ระยะยาวเราไม่ควรถือหุ้นต่ำกว่า 40-50% ให้มั่นใจยังไงก็ไม่ควรขายทิ้งไปทั้งหมด เพราะบางทีก็อย่างที่ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยพูดไว้ครับว่า ตลาดสามารถไร้เหตุผลได้นานเกินกว่าคุณจะทนได้ บางทีตลาดหุ้นว่าแพงแล้ว มันก็แพงไปอีกเรื่อย ๆ และพอมันตกลงมา หุ้นมันก็ไม่กลับมาจุดเดิมล่ะ คล้าย ๆ ดัชนี Dow Jones ของอเมริกาที่สมัยก่อนอยู่ที่ 1000 จุด ตอนนี้อยู่ที่ 17000 จุด[footnote]จากวันที่เขียนบทความปี 15 มาถึงวันที่ปรับปรุงบทความ 30/06/18 ดัชนีทะยานมาสู่ 24000 จุด[/footnote] และมันก็ไม่มีทางอีกแล้วที่จะกลับไปจุดเดิม ถ้าเราเอาแต่รอเราอาจจะต้องรอเก้อ เรียกได้ว่าตกรถไฟของจริงเลยทีเดียว การใช้วิธีคำนวณต่าง ๆ ต้องประยุกต์ใช้ให้ดี

“Markets can remain irrational a lot longer than you and I can remain solvent.”  – John Maynard Keynes

เจาะลึก Earning Yield Gap ตลาดหุ้นไทย

“Markets can remain irrational a lot longer than you and I can remain solvent.” 

—- John Maynard Keynes

เคยสงสัยไหมครับว่า ในเมื่อตลาดหุ้นนั้นมีทั้งช่วงที่หุ้นถูกและหุ้นแพง ถ้าเรารู้ว่าช่วงนี้หุ้นแพงเราก็ไม่ควรจะลงทุนเพราะมีสิทธิที่หุ้นจะตกลงมาหนักๆได้ แล้วปกติเขามีวิธีอะไรมาใช้วิเคราะห์กันบ้าง ผมรวบรวมมา 3 วิธีให้ทำความเข้าใจกันง่ายๆครับ

วิธีที่ 1 ดูอัตราส่วนทางการเงินของตลาดหุ้น เช่น
ดู P/E (เทียบราคาดัชนีตลาดหุ้นกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดว่าเป็นกี่เท่า) ดู P/B (เทียบราคาดัชนีตลาดหุ้นกับมูลค่าทางบัญชีของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดว่าเป็นกี่เท่า) ดู Dividend Yield (เทียบราคาดัชนีตลาดหุ้นกับเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด)

เราสามารถดูอัตราส่วนเหล่านี้แล้วเอาไปเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ผ่านมาในอดีตว่า ช่วงก่อนที่หุ้นจะตกหนักๆ อัตราส่วนพวกนี้เป็นอย่างไร ที่ทำแล้วก็มี วิธี P/E หรือ Price/Earning(Click) ส่วนอัตราส่วนอื่นขอยกยอดไปก่อนครับ

วิธีที่ 2  เทียบมูลค่าตลาดหุ้น (Market Cap) กับ GDP ถ้าสูงเกินไป เช่น 3-4 เท่าแบบนี้ถือว่ามูลค่าของตลาดหุ้นสูงกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศจนเกินไปครับ นักลงทุนกำลังจ่ายมากกว่าผลผลิตที่ทำได้ของชาติ จึงต้องระมัดระวัง (ส่วนควรระวังเมื่อเป็นตัวเลขเท่าไหร่นั้นขอยกยอดไปเขียนให้ละเอียดในบทความต่อไปครับ)

วิธีที่ 3  วิธีเทียบผลตอบแทน ณ ปัจจุบันของตลาดหุ้น (Stock Earnings) กับผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ซึ่งแทบไม่มีความเสี่ยง ( 10-Y Government Bond Yield ; risk-free rate) บนหลักการที่ว่าทุกการตัดสินใจลงทุน นักลงทุนที่มีเหตุผลควรจะเทียบผลตอบแทนของหุ้นกับพันธบัตรรัฐบาลซึ่งแทบจะปราศจากความเสี่ยง สมมติว่าคุณสามารถลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ให้ผลตอบแทนถึง 7% ต่อปีได้ แล้วทำไมคุณจะเอาเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนแค่ 5% ในขณะนั้นล่ะ จึงเป็นวิธีประเมินความถูกแพงตลาดหุ้นอย่างหนึ่งด้วยการเอาผลตอบแทน ณ ปัจจุบันของตลาดหุ้นมาลบด้วยผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี แล้วเทียบค่านี้กับอดีตว่าก่อนตลาดหุ้นจะตกหนักๆนั้น มักจะเป็นเท่าไหร่ เราจะได้หลบทัน หรือ ได้หาจังหวะถือเงินสดรอลงทุนที่เหมาะสม วิธีนี้ผมจะเขียนอธิบายให้ชัดเจนในบทความนี้ครับ เราลองมาดูกัน

วิธีคำนวณ EYG เราสามารถดึงข้อมูลจากเว็บตลาดหลักทรัพย์และเว็บThaiBMAสำหรับตัวข้อมูล โดยข้อมูลล่าสุด ณ 16/09/58 ตลาดหลักทรัพย์ SET มีค่า P/E ที่ 18.20 เท่า เราจะได้ ผลตอบแทนตลาดหุ้นไม่รวมปันผลที่ประมาณ 5.49% ส่วนพันธบัตรรัฐบาลอายุใกล้เคียง 10 ปีให้ผลตอบแทนที่ 3% เรานำมาหักลบกันก็จะได้ Earning Yield Gap ปัจจุบันที่ 2.49% ครับ

คำถามคือแล้วในอดีตเป็นเท่าไหร่? ผมได้ลองดึงข้อมูลรายเดือนของทั้งตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ระหว่างปี (Jan)2001 – (Aug)2015 มาหาค่าเฉลี่ยดู พบว่าค่าเฉลี่ย EYG ของไทยในช่วงประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาคือ 4.75% ครับ ดังรูปด้านล่างนี้

eyg

ข้อสังเกตคือ ช่วงที่ EYG เหนือกว่าค่าเฉลี่ยนั้น (มากกว่า 4.75) ผมไฮไลต์ให้เป็นสีเขียว ซึ่งจะพบว่ามีช่วงหลักๆที่น่าสนใจ คือ ระหว่างปี 2001 – 2003 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และหุ้นช่วงนั้นมีราคาที่ถูกเอามากๆ ช่วงต่อมาคือช่วงปลายปี 2008 – ต้นปี 2009 นั่นคือ หลังจากเกิดวิกฤต Subprime ของอเมริกานั่นเอง และทำให้ตลาดหุ้นไทยตกลงไปเกือบ 50% และช่วงสุดท้ายที่ผมอยากให้สังเกต คือ ปลายปี 2011 ครับ ถ้าจำกันได้ช่วงนั้นคือ เวลาที่ประเทศไทยเจออุทกภัยน้ำท่วมใหญ่นั่นเอง เมื่อไรที่พบว่า EYG พุ่งไปเกิน 5% โดยเฉพาะเวลาที่เกิน 10% ด้วยแล้ว บอกได้เลยว่านี่คือโอกาสครั้งสำคัญในชีวิตของนักลงทุนที่จะได้หุ้นในราคาที่ถูกและสร้างผลตอบแทนมหาศาลในเวลาต่อๆมา ห้ามพลาดกันเลยทีเดียว

ข้อสังเกตถัดมา แม้จะใช้คำว่าค่าเฉลี่ย EYG ที่ 4.75 แต่ถ้าลองดูดีๆเราจะพบว่าช่วงเวลามากกว่าครึ่งนั้น หุ้นตกอยู่ในภาวะที่ EYG ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั้งสิ้น และคงจะเห็นกันได้ทุกคนว่าตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน Sep-2015 ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนตลาดหุ้นกับพันธบัตรนั้นต่ำมาก ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมหุ้นสองสามปีมานี้ผันผวนสุดฤทธิ์ นั่นก็เพราะ EYG กำลังบอกให้คุณรู้ว่า ในเวลานี้หุ้นอยู่ในช่วงที่แพงกว่าปกติ การซื้อหุ้นตอนนี้เท่ากับกำลังจะจ่ายแพงสำหรับผลตอบแทนที่ได้รับ เพราะฉะนั้น นักลงทุนทุกคนพึงระวัง!

อยากจะฝากไว้อีกนิดว่า ใครที่คิดว่า เฮ้ย เดี๋ยวฉันก็เก็บเงินไว้รอช่วงเวลาหุ้นถูกจริงค่อยซื้อไม่ดีกว่าหรือ ผมอยากจะให้มองย้อนไปดีๆครับ เห็นช่วงปลายปี 2009 เป็นต้นมาไหมครับ การถือเงินสดรอไว้เพื่อให้หุ้นตกหนักๆจะทำให้คุณพลาดที่จะมีหุ้นมาตั้งแต่ตอนนั้นตอนที่ SET Index อยู่ที่ 500 จุดและปัจจุบันคือ 1,300 – 1,400 จุด ถ้าเจาะหุ้นรายตัวลงไป ต้นทุนการสูญเสียมีมหาศาลครับ ถ้าคุณคิดจะลงทุนยาวๆจริงๆ เชื่อคำว่า Stock For the Long Run ดีกว่า คือถ้ามันยาวถึง 30-40 ปี คุณลงทุนนานขนาดนั้น การ Timing หรือจับจังหวะลงทุนแทบไม่มีประโยชน์เลย การลงทุนแบบ Lump Sum หรือลงเงินก้อนแล้วถือยาวไปสามารถให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ามากๆ ที่สำคัญที่ผมอยากย้ำคือ บางทีมันลงมาถึงจุดที่ EYG สูงแล้วๆ แต่ภาวะรอบตัวจะกลายเป็นว่าหุ้นตกมารุนแรงมาก สุดท้ายคุณก็แพ้ใจตัวเองไม่กล้าลงทุนอยู่ดี ต้องระวังตรงนี้ด้วย นักลงทุนหลายๆคนมีความรู้ แต่พอถึงเวลาลงสนามจริงกลับไม่มีวินัย ผลตอบแทนก็ไม่ดีครับ

ประโยชน์ของ EYG จริงๆที่ผมอยากจะให้เข้าใจคือ มันจะทำให้คุณสามารถตระหนักและชะลอความหน้ามืดที่จะลงทุนหุ้นหนักๆในช่วงภาวะหุ้นแพงๆครับ มันทำให้คุณสามารถดึงกำไรบางส่วนออกมาได้ ในความเห็นของผมคือ สมมติถือหุ้น 100% ถ้า EYG มันต่ำจริงๆ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากๆ เช่น อยู่ที่ 2-3% คุณอาจลดหุ้นไปซื้อพันธบัตรหรือตราสารหนี้แทน โดยให้มันเหลือแค่ 50-60% แบบนี้ก็ได้ครับ แต่ผมว่าระยะยาวเราไม่ควรถือหุ้นต่ำกว่า 40-50% ให้มั่นใจยังไงก็ไม่ควรขายทิ้งไปทั้งหมด เพราะบางทีก็อย่างที่จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เคยพูดไว้ครับ ว่าตลาดสามารถไร้เหตุผลได้นานเกินกว่าคุณจะทนได้ บางทีตลาดหุ้นว่าแพงแล้ว มันก็แพงไปอีกเรื่อยๆ และพอมันตกลงมาก็ไม่กลับมาจุดเดิมล่ะ คล้ายๆ ดัชนีดาวน์โจนส์ของอเมริกาที่สมัยก่อนอยู่ที่ 1,000 จุด ตอนนี้อยู่ที่ 17,000 จุด และมันก็ไม่มีทางอีกแล้วที่จะกลับไปจุดเดิม ถ้าเราเอาแต่รอเราอาจจะต้องรอเก้อ เรียกได้ว่าตกรถไฟของจริงเลยทีเดียว ต้องประยุกต์ใช้ให้ดี

(ทั้งนี้เพื่อสาธิตวิธีประยุกต์ใช้ ทำให้การวิเคราะห์ EYG นำไปสู่ Project”B” ของผมที่จะลองใช้มันผสานกับวิธี Asset Allocation ทั่วไปเพื่อเพิ่มผลตอบแทนครับ สามารถตามไปศึกษาได้เลย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับผม ^^)


Project “B” : Earning Yield Gap Asset Allocation 70/30

*** เนื่องจากในหลายปีต่อจากนี้นับจากปี 2018 ผมจำต้องไปศึกษาต่อ ซึ่งก็จะมีปัญหาเพราะการไปเรียนต่อนี้ ผมจำต้องระดมทุนเพื่อตระเตรียมไว้ใช้จ่ายด้วย ด้วยเหตุนี้และด้วยความรู้สึกผิดอย่างมากที่ไม่สามารถดำเนินการลงทุนทดลองไปตลอดรอดฝั่ง ผมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปิดโปรเจกต์เพื่อนำเงินมาใช้ในการศึกษาครับ หวังว่าทุกท่านจะได้โปรดให้อภัย หากมีโอกาสหน้าเมื่อพร้อม ผมจะกลับมาทำโปรเจกต์ทดลองเหล่านี้ต่อให้ได้ครับ 


Project “B” เป็นตัวอย่างการลงทุนที่ผมจะทดลองทำให้ดู โดยอาศัยหลักการลงทุนผสานกันระหว่าง “Asset Allocation” หรือการลงทุนกระจายสินทรัพย์แบ่งสัดส่วน กับ “Earning Yield Gap method” การคำนวณหาผลตอบแทนการลงทุนแบบเปรียบเทียบระหว่าง 2 สินทรัพย์

ในที่นี้โปรเจกต์ B ของเราจะลงทุนในสินทรัพย์คลาสสิก 2 ชนิด คือ หุ้นกับตราสารหนี้ซึ่งมีพลังในการคานอำนาจกันเอง ปกติคำแนะนำหลัก ๆ จะเป็นตัวเลข 60:40 ครับ ลงทุนในหุ้น 60% ที่เหลือ 40% เป็นตราสารหนี้แล้วพอครบ 1 ปีก็ทำการปรับสัดส่วน (rebalance) พอร์ต 1 ครั้งให้เงินกลับมาอยู่ที่ 60:40 เหมือนเดิม เช่น ปีแรกเราลงทุนด้วยเงิน 100 บาท ก็จะต้องแบ่งเป็นลงทุนหุ้น 60 ตราสารหนี้ 40 เมื่อผ่านไป 1 ปีถ้าเงินกลายเป็น 150 เป็นหุ้น 100 ตราสารหนี้ 50 แบบนี้เราก็จะต้องทำให้หุ้นและตราสารหนี้กลับมาอยู่ที่สัดส่วน 60:40 ซึ่งจะต้องสับเปลี่ยนขายหุ้นออกมาเข้าตราสารหนี้ โดยเริ่มต้นใหม่ที่หุ้น 90 ตราสารหนี้ 60 ครับ

ตัวเลขที่ผมใช้เป็นกลยุทธ์ของพอร์ตคือ 70:30 ครับ โดยปกติจะเริ่มต้นที่หุ้น 70% เพื่อพยายามจะให้พอร์ตมีผลตอบแทนที่คาดหวังประมาณ 9% ต่อปี (ให้ชนะเงินเฟ้อ 3 เท่า) และเราจะมีวิธีปรับปรุงครับ เราจะไม่ลงทุนทื่อ ๆ ที่ หุ้น70% โดยเราจะมี range ช่องว่างที่หุ้นสามารถขยับลงทุนได้ตั้งแต่ 55-85% เลยทีเดียว (บวกลบ 15%) โดยใช้การหา Earning Yield Gap เข้ามาเสริมครับ ถ้าตัวเลขนี้สูงเราจะขยับสัดส่วนหุ้นให้สูงขึ้นได้เกิน 70%ครับ วิธีคิดตัวเลขนี้คือ เอา 100 ตั้งแล้วหารด้วย PEตลาดหุ้นไทย(SET) เสร็จแล้วลบด้วยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปีครับ โดยตัวเลขเฉลี่ย Earning Yield Gap (EYG) ตรงส่วนนี้จะอยู่ที่ 4% ครับ ดังนั้น ระบบลงทุนของเราจะเป็นแบบนี้ครับ

eyg

ตัวอย่างตลาดหุ้นไทย P/E 18 จะได้ earning yield ที่ 100/18 = 5.55% ส่วนพันธบัตร 10 ปีให้ yield 3.0% นี่ล่ะครับ Earning Yield Gap คือ 5.55 – 3.0 นิด ๆ = 2.5% + เพราะฉะนั้น เราจะลงหุ้น 65% สำหรับปีนี้ครับ โดยปีหน้าวันที่ 9 กันยา 59 จะทำแบบนี้ rebalance อีกรอบเพื่อปรับสัดส่วนใหม่ ระหว่างนั้นไม่ต้องไปยุ่งมันครับ โดยผมลงทุนวันแรกวันที่ 09/09/2558 ด้วยเงินจำนวน 100,000 บาท เพราะฉะนั้น จะทำการแบ่งเป็นหุ้น 65,000 และตราสารหนี้ 35,000 ครับผม

1) ดู P/E SET ล่าสุดคือหน้านี้ เลื่อนลงไปดูตรงค่าสถิติด้านล่าง Click

2) พันธบัตรเลือก Government Bond แล้วดูตรงช่อง TTM(Yrs.) ที่ใกล้ 10 ปีที่สุดครับ ค่าผลตอบอยู่ที่  Yield(%) Click

สำหรับกองทุนที่จะใช้ลงทุนเป็นตัวแทนหุ้น คือ SCBSET50 ของไทยพาณิชย์ครับ โดยนโยบายของกองทุนนี้จะลงทุนในหุ้น 50 ตัวใหญ่ที่ประกอบกันเป็นดัชนี SET50 ของตลาดหุ้นไทย (โดยมีขนาดมูลค่ารวมกันประมาณ 65-75% ของมูลค่าตลาดหุ้นไทย) โดยข้อดีที่สุดของกองทุนนี้คือ มีค่าใช้จ่ายรวมต่อปี (total expense ratio) ที่ 0.5-0.6% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในบรรดากองทุนหุ้นไทย ณ ปัจจุบัน และในส่วนของกองตราสารหนี้จะเลือก SCBFP ของค่ายเดียวกัน ให้ง่ายต่อการจัดการครับ ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ประมาณ 0.4% เหมือนกัน เท่ากับว่าพอร์ตการลงทุนนี้จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยระยะยาวที่ประมาณ 0.5% ต่อปีครับผม ซึ่งผมถือว่าน้อยมาก น้อยกว่ากองทุนตราสารหนี้ 100% หลายๆค่ายในไทยอีกต่างหาก (พวกนี้เก็บ 0.5% โดยเฉลี่ย) ที่สำคัญคือ ปกติแล้วถ้าเราจะใช้กองทุนแบบบริหารจัดการ (active fund) มาทำ เราจะมีค่าใช้จ่ายรวมของพอร์ตที่ประมาณ 1.2-1.6% ต่อปีเลยทีเดียว นี่เท่ากับว่า Project B ของเรามีต้นทุนต่ำกว่า 3-4 เท่า ส่วนต่างประมาณ 0.8% – 1.2% นั้นคือผลตอบแทนที่เราจะได้รับในระยะยาวครับ ได้มาโดยการจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยกว่านี่ล่ะ กำไรตั้งแต่ลงทุนเห็น ๆ

ทั้งนี้เราสามารถปรับสัดส่วนหุ้นที่เราอยากได้มากหรือน้อยกว่านี้ได้นะครับ ขึ้นอยู่กับว่าเรารับความเสี่ยงผลขาดทุนได้แค่ไหน หรืออายุและเวลาลงทุนวางไว้แบบไหน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจแตกต่างไปตามเป้าหมายของแต่ละคนได้ อย่างผมทำกลางๆที่ 70/30 (หุ้นปกติ 70%) ซึ่งแต่ละคนอาจจะปรับเป็น 80/20 85/15 หรือ 60/40 50/50 40/60 ก็ทำได้ ลองปรับดูให้เหมาะกับเป้าหมายตัวเองครับ

 

โดย ProjectB นี้ก็จะทำการติดตามผลตอบแทนและอัพเดตทุกๆปีด้วยครับ


อัพเดตประจำปี
b-60

 

วันสุดท้ายที่หยุดโปรเจกต์ วันที่ 28/3/2018 จากเงินต้น 100,000 กลายเป็น 127,544 บาท (+27.5%) เริ่มต้นลงทุนวันแรก 9/9/15 ก็ประมาณ 30 เดือน หรือ 2 ปีครึ่ง คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นประมาณ 10.2% ต่อปีครับ

projectb-lastday.PNG


** บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงแนวคิดส่วนตัวเกี่ยวกับวิธีการลงทุนของผู้เขียน ไม่ได้มีเจตนาชักชวนให้ลงทุนตาม ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน